วันเสาร์, พฤศจิกายน 23, 2024
Google search engine
หน้าแรกสังคม“ค้ำคูน”สามล้อไฟฟ้าอุดรชาร์จ 3 ชม.วิ่ง 120 กม.

“ค้ำคูน”สามล้อไฟฟ้าอุดรชาร์จ 3 ชม.วิ่ง 120 กม.

สภาอุตสาหกรรมอุดรธานี จับมือ ว.เทคโนโลยีอีสานเหนือ-เอ็มเทค-โลก้า- UNEP สร้าง “ค้ำคูน”รถสามล้อไฟฟ้า(ขนาดเล็ก) มอก.รับรอง ผู้โดยสาร 6 ที่นั่ง ชาร์จ 3 ชม.วิ่งได้ 120 กม. เริ่มทดสอบวิ่งบริการฟรีรอบ รพ.อุดรธานี

เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2567 ที่ห้องประชุมพระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร (โพธิ์ เนติโพธิ์) ชั้น 3 อาคาร 1 ศาลากลาง จ.อุดรธานี นายสุรศักดิ์ อักษรกุล รองผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี เป็นประธาน ประชุมเชิงปฏิบัติการระบบการให้บริการรถไฟฟ้าขนาดเล็กในพื้นที่ จ.อุดรธานี มี พ.ท.วรายุส์ ตรีวัฒนสุวรรณ ประธานสภาอุตสาหกรรม จ.อุดรธานี นำคณะความร่วมมือจาก ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สวทช. , วิทยาลัยเทคโนโลยีอีสานเหนือ , บ.โลก้า จำกัด ภายใต้ความร่วมมือระหว่างอาเซียน-เยอรมัน ให้การสนับสนุนตามกรอบของสหประชาชาติวิจัยและสิ่งแวดล้อม (UNEP) 1 ใน 2 ของประเทศไทย (วิน จยย.2 ล้อสามย่าน กทม.) และจาก 16 ประเทศทั่วโลก

นายสุรศักดิ์ อักษรกุล รองผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี กล่าวว่า ยินดีกับความร่วมมือของทุกฝ่าย ที่ร่วมกันสร้างนวัตกรรม(สามล้อไฟฟ้า)ขึ้นมาใน จ.อุดรธานี เบื้องต้นได้ผลเป็นที่น่าพอใจ และพร้อมสนับสนุนให้ทดสอบในพื้นที่ เพื่อในอนาคตอุดรธานีจะนำมาใช้ เป็นรถขนส่งสาธารณะให้ประชาชน หากมีการนำมาใช้จะช่วยทำให้ มีระบบขนส่งสาธารณะพลังานสะอาด รองรับกิจกรรมสำคัญๆ อาทิ งานแข่งขันจักรยานทางไกล “อุดรธานีบายตรูเดอฟ้องส์” ครั้งที่ 2 และ 3 , การแข่งขันกีฬาแห่งชาติ และงานมหกรรมพืชสวนโลกอุดรธานี

พ.ท.วรายุส์ ตรีวัฒนสุวรรณ ประธานสภาอุตสาหกรรม จ.อุดรธานี กล่าวว่า ชาวอุดรธานีมีความผูกพันกับสามล้อมานาน จากสามล้อปั่นโดยสาร สามล้อปั่นขนของ หรือ “สามล้อกระบะ” หรือสามล้อเครื่อง “สกายแล๊ป” ที่มีการดักแปลงสามล้อมาใส่เครื่องยนต์ ในช่วงที่มีดาวเทียมชื่อสกายแล๊ป อายุใช้งานหมดหลุดจากวงโคจรตกลงมา ทำให้สามล้อเครื่องที่ประดิษฐ์ขึ้นถูกเรียนว่า “สามล้อสกายแล๊ป” ซึ่งอุดรธานีคือต้นแบบของนวัตกรรมนี้ จากขนพืชผลทางการเกษตร ก็มาเป็นการขนส่งสินค้า และให้ประชาชนโดยสาร แต่ก็ยังมีปัญหาเรื่องข้อกฎหมาย ความร่วมมือครั้งนี้จึงเป็นโอกาสดี

นายเอกรัตน์ ไวยนิตย์ ผอ.ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) ชี้แจงว่า ทีมมาปักหลักทำงานวิจัย 1 ปีครึ่ง กับทีมของ ว.เทคโนโลยีอีสานเหนือ จ.อุดรธานี ได้ผลงานเป็นสามล้อไฟฟ้าชื่อว่า “ค้ำคูน” เป็นภาษาอีสานแปลว่า “ทำให้เจริญก้าวหน้า” เป็นรถสามล้อพลังงานไฟฟ้า ขับเคลื่อนด้วยล้อหลังอิสระ บรรทุก 450 กก. ใช้ความเร็ว 25 กม.ต่อ ชม. วิ่งได้ 120 กม. ด้วยการชาร์ต 3 ชม. ผ่านการทดสอบได้รับรอง สินค้ามาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.) เลขที่ 3264 นำไปขออนุญาตบรรทุกสินค้าของบุคคลธรรมดาได้ และขออนุญาตรับ-ส่งผู้โดยสาร ต้องเป็นนิติบุคคล ที่กรมการขนส่งทางบกกำลังพิจารณา

นายลิโย วงดาลา กรรมการ ผจก.บ.โลก้า จำกัด ชี้แจงว่า สามล้อไฟฟ้า “ค้ำคูน” เป็นทางเลือกสำคัญ เพราะเป็นพลังงานสะอาด ต้นทุนต่ำกว่าสามล้อ “สกายแล๊ป” เกือบ 4-5 เท่าตัว หลังจากที่มีการทดสอบเดินรถบริการฟรี เป็นวงกลมรอบ รพ.อุดรธานี ระยะทาง 2.3 กม. บริการผู้ป่วยสูงอายุ ผู้พิการ ที่ต้องการจะไป รพ.อุดรธานี เพื่อเก็บข้อมูลทั้งข้อกฎหมายรัฐ – ผู้ใช้บริการ -ประชาชนทั่วไป และผู้ประกอบการ ขณะนี้ยังคงให้บริการเพื่อทดสอบ และเก็บข้อมูล

นายอนุพงษ์ มกรานุรักษ์ รองประธานสภาอุตสาหกรรม จ.อุดรธานี และผู้บริหาร ว.เทคโนโลยีอีสาน เปิดเผยว่า สามล้อพลังงานไฟฟ้า “ค้ำคูน” แบ่งเป็น 2 ส่วนๆแรก เป็นความร่วมของ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สวทช. , สภาอุตสาหกรรมอุดรธานี และวิทยาลัยเทคโนโลยีอีสานเหนือ ในเรื่องของนวัติกรรมรถสามล้อไฟฟ้า ก่อนจะมีความร่วมมือกับ บ.โลก้า จำกัด ภายใต้ความร่วมมือระหว่างอาเซียน-เยอรมัน นำระบบมาช่วยทำงานงานวิจัย นำมาสู่การใช้จริงๆ มั่นใจว่า “สามล้อไฟฟ้าค้ำคูน” จะนำมาใช้ในเชิงธุรกิจได้แน่นอน ….

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments