วันจันทร์, พฤศจิกายน 25, 2024
Google search engine
หน้าแรกสังคมทน.อุดรธานี แชมป์ร้องเรียน ปปช.

ทน.อุดรธานี แชมป์ร้องเรียน ปปช.

นครอุดร-สามพร้าว-นิคมสงเคราะห์ 3 อันดับ อปท.ถูกร้องเรียน ปปช.สูงสุดอุดรธานี ทุกเรื่องป้องปรามไม่ให้ทำผิด พร้อมตั้งเป้าเกาะติด แป๊ะเจี๊ยเข้าศึกษาต่อ-ขุดลอกแหล่งน้ำ-ใช้พื้นที่ฟุตบาทรอดสิทธิคนเดินถนน-อาหารกลางวันนมโรงเรียนไม่เต็มร้อย-รถบรรทุกหนักทำถนนพัง

เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2567 ที่ห้องประชุมสบายดี ชั้น 4 อาคาร 2 ศาลากลาง จ.อุดรธานี นายณฐพล วิถี รองผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี เป็นประธานประชุมคณะกรรมการผลักดัน การดำเนินงานตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นการต่อต้านการทุจริตประพฤติมิชอบ จ.อุดรธานี มีเจ้าหน้าที่จาก สนง.ปป ช.อุดรธานี นำคณะกรรมการจากหน่วยราชการ จากภาคเอกชน เข้าร่วมประชุม

สนง.ป้องกันและปราบปรมการทุจริต (ปปช.) จ.อุดรธานี รายงานว่า ปปช.มีนโยบายเชิงลุกให้ความสำคัญกับ การป้องปรามการกระทำผิด ด้วยการตรวจติดตามให้คำแนะนำ ไม่ให้เกิดการกระทำผิด จนถึง 31 มกราคม 2567 มีเรื่องร้องเรียน 45 เรื่อง วงเงินเฝ้าระวังรวม 4,074 ล้านบาท แบ่งเป็นประเภทคดี จัดซื้อจัดจ้างสาธารณูปโภค 38 เรื่อง , ใช้อำนาจหน้าที่รักษาผลประโยชน์ 1 เรื่อง , ทรัพยากรธรรมชาติ 3 เรื่อง และเรียกรับทรัพย์สิน 3 เรื่อง

องค์กรปกครองท้องถิ่นมีเรื่องร้องเรียนมากที่สุด โดยเฉพาะ อ.เมือง เรียงลำดับจากมากไปหาน้อยคือ เทศบาลนครอุดรธานี , อบต.สามพร้าว และ อบต.นิคมสงเคราะห์ ซึ่ง สนง.ปปช.อุดรธานี ได้จัดกิจกรรมระดมความคิดเห็น จากข้อมูลที่ได้รับเข้ามาในทุกด้าน เพื่อกำหนดประเด็น จัดทำแผนงานและแนวทางในการขับเคลื่อน เพื่อเฝ้าระวังป้องกันปัญหาการทุจริตในพื้นที่ มีหน่วยงาน 27 หน่วยงาน และเครื่องข่ายภาคประชาชนเข้าร่วม

ได้กำหนดหัวข้อระดมความคิดเห็น 5 ด้าน คือ 1.แป๊ะเจี๊ยในการรับการศึกษาต่อ ที่มีกระแสสังคมวิพากษ์วิจารณ์ แต่กลับไม่มีเรื่องร้องเรียนมา ปปช. ด้วยเหตุที่ผู้จ่ายเงินพึงพอใจ รวมไปถึงกรณี “การเวียน นักเรียน” ที่เอานักเรียนไปฝากเรียนไว้โรงเรียนอื่น และเมื่อผ่านไปได้ย้ายนักเรียนมาเรียนในโรงเรียนมีชื่อเสียง ซึ่งคนที่จ่ายเงินทำให้ผู้สอบได้อันดับต้นๆเสียโอกาส จะจัดการเรื่องนี้อย่างไร

2.โครงการขุดลอก ที่มีการร้องเรียนมามาก โดย จ.อุดรธานี มีโครงการลักษณะนี้จำนวนมาก , 3.ผลประโยชน์ฟุตบาท ที่หมายถึงการมาค้าขายบนทางเท้า ทั้งการวางสินค้าล้ำของเจ้าของร้าน หรือการใช้พื้นที่ของหาบเร่-แผงลอย รวมทั้งการประกาศเป็นพื้นที่ “ผ่อนผัน” ทำให้ไปรอนสิทธิของประชาชน ผู้ใช้ทางเท้าสัญจร โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้พิการ เสี่ยงต่อการเกิดอันตราย กรณีนี้แบ่งเป็นการสร้างอาชีพ แต่ต้องหาพื้นที่ไม่รอนสิทธิผู้อื่น

4.นมโรงเรียงและอาหารกลางวัน ที่ยังคงมีปัญหาเกิดขึ้น ตกเป็นข่าวผ่านสื่อมวลชน ตลอดจนข้อครหาในสังคม ว่ามีการแสวงหาผลประโยชน์ ทำให้ ปปช.อุดรธานี ได้ลงพื้นที่สุ่มตรวจ ทั้งที่แจ้งล่วงหน้า และไม่แจ้งล่วงหน้า พบว่ายังมีปัญหาอยู่จริงในบางจุด ขณะที่มีสถานศึกษาบางแห่ง สามารถจัดหาอาหารและนมได้ดีมาก ด้วยการขอรับการสนับสนุนจากบุคคลภายนอก ทั้งนี้ยังร่วมกับหน่วยงานข้างเคียง ตรวจสอบคุณภาพ “นม” ว่าได้รับมาตรฐาน หรือใช้นมผงผสมน้ำหรือไม่

5.รถบรรทุกน้ำหนักเกินก็มีเรื่องร้องเรียน ตลอดจนสภาพข้อเท็จจริง ที่ถนนชำรุดเสียหายก่อนเวลา การลงพื้นที่พบว่าไม่มีผลคดี การตรวจจับดำเนินคดีกับรถบรรทุกน้ำหนักเกิน ทั้งด่านถาวรที่ตั้งอยู่แล้ว และด่านลอยที่เคลื่อนที่ไปยังจุดต่างๆ เพราะเมื่อมีการตรวจจับรถบรรทุกก็จะหยุดวิ่ง รอวิ่งในยามวิการที่ตรวจจับไม่ได้ หรือเปลี่ยนเส้นทางเลี่ยนด่าน

สนง.ปปช.อุดรธานี ยังได้รายงานถึง “หลักสูตรเชิงรุกในสถานศึกษา” ว่า ปปช.ได้จัดทำหลักสูตร“ต้านทุจริต”ไว้แล้ว เพื่อให้สถานศึกษานำไปใช้ เป็นหลักสูตรรายวิชา ซึ่งได้แจ้งให้ผู้รับผิดชอบไปได้ พบว่ามีหลายสถานศึกษา ได้นำเข้าไปใช้กับศิษย์ฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เขตพื้นที่การศึกษา 3 อ.หนองหาน จ.อุดรธานี ในระดับส่งผลงานนักเรียนเข้าประกวดด้วย

นายณฐพล วิถี รองผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี กล่าวว่า ตนเองจะให้ความสำคัญของกิจกรรม การสร้างการรับรู้ และมีส่วนร่วมประชาชน มากกว่าการใช้ตัวชี้วัดต่างๆ โดยหวังว่าจะเกิดการกระตุ้น ให้เกิดการขับเคลื่อนร่วมกับ อาทิ 5 ประเด็นที่ ปปช.อุดรฯตั้งไว้ ที่ประชุมได้เห็นควรให้ความสำคัญกับ ประเด็นนมและอาหารกลางวัน และรถบรรทุกหนักเกิน อีกทั้งโครงการหลักสูตรต้านทุจริตในสถานศึกษา อยากจะเห็นการขับเคลื่อนเข้มข้นขึ้น…..

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments