รมช.มหาดไทย ตรวจความคืบหน้าพัฒนห้วยหมากแข้ง เพิ่มประสิทธิภาพระบายน้ำ เนรมิตรเป็นแลนด์มาร์คแห่งใหม่เมืองอุดร ท่องเที่ยวพายรเอในลำห้วย เดินพักผ่อนสอบฝั่งคลอง ระยะที่ 1 ยาว 936 ม. 148.4 ล้านบาท งานต้องปรับแบบทำล่าช้า 12 % กำชับ ทน.ควักกระเป๋าตัวเองเพิ่มที่ขาด
บ่ายวันที่ 24 กันยายน 2565 นายทรงศักดิ์ ทองศรี รมช.มหาดไทย ตรวจติดตามความคืบหน้าโครงการ “ก่อสร้างทางระบายน้ำและปรับปรุงภูมิทัศน์ห้วยหมากแข้ง” มีนายวันชัย จันทร์พร รอง ผวจ.อุดรธานี นายพรเทพ ศรีวรานันท์ โยธาธิการและผังเมืองอุดรธานี นำวิศวกรและเจ้าหน้าที่จากกรมโยธาธิการ โยธาธิการจังหวัด และมีนายสมัคร บุญปรก รองนายก อบจ.อุดรธานี นายธนดร พุทธรักษ์ นายก ทน.อุดรธานี เข้าร่วมประชุมก่อนดูสภาพพื้นที่
โครงการแบ่งเป็น 3 ระยะ คือระยะแรก ตั้งแต่ ถ.ประจักษ์ศิลปาคม-ถ.อุดรดุษฎี ระยะทาง 936 เมตร งบประมาณผูกพัน 3 ปี 148.40 ล้านบาท ( ปี 64/30 ล้านบาท , ปี 65 / 56.36 ล้านบาท , ปี 66 /67.05 ล้านบาท) ตามแผนงานจะมีความคืบหน้า 13.33 % แต่งานกลับมีความคืบหน้าไปเพียง 0.59 % เท่านั้น ระยะที่สอง ตั้งแต่ ถ.ประจักษ์ฯ ย้อนกลับไปถึง ถ.สี่ศรัทธา ระยะทาง 777 ม. วงเงิน 80 ล้านบาท และระยะอื่นๆอยู่ระหว่างการเสนอออกแบบ
ระยะที่ 1 ในการประชุมรับฟังความคิดเห็นเพิ่มเติม (27 ก.ย.64 มีผู้เข้าร่วม 22 คน ) จากข้อสังการของ รมช.มหาดไทย ที่มีผู้ทักท้วงรูปแบบยังไม่ตอบสนองความต้องการ จึงได้ทำการปรับปรุงแบบเพิ่มเติม ให้คลองมีขนาดเพิ่มขึ้น , แก้ไขปัญหาน้ำเสีย-ขยะ , มีระบบไฟฟ้าแสงสว่างเพียงพอปลอดภัย , เป็นเสมือนสวนสาธารณะ , มีกิจกรรมเรือพาย-ขายสินค้า และความสูงขอรั้วที่เหมาะสม
เริ่มต้นโครงการจะก่อสร้างประตูน้ำ ก่อนเข้าในพื้นที่โครงการ ที่แยกเป็นลำห้วยหมากแข้งกว้าง 5.20 ม. ลูก 2.50 ม. และท่อ PE รองรับน้ำเสียขนานกับลำห้วยทั้ง 2 ข้าง เลยบ้านพักสรรพสามิตด้านขวาของลำห้วย จะเป็นลานกิจกรรมที่ 1 (รื้อถอนโครงสร้างเดิมแล้ว) เมื่อผ่านไป 350 ม.ด้านซ้ายจะเป็นลานกิจกรรมที่ 2 เมื่อถึง ถ.อธิบดี จะเชื่อมต่อกับท่อสูบน้ำจากหนองประจักษ์ฯ ก่อนถึง ถ.อุดรดุษฎี จุดสิ้นสุดโครงการ 180 ม. จะมีประตูระบายน้ำ
นายทรงศักดิ์ ทองศรี รมช.มหาดไทย มีข้อแนะนำและข้อสั่งการว่า ให้โยธาธิการและผังเมือง ดำเนินแผนงานตามที่ปรับปรุง เพื่อให้ห้วยหมากแข้ง ใช้ประโยชน์ในการระบายน้ำ และสถานที่พักผ่อน จนถึงเป็นแลนด์มาร์คแห่งใหม่ , ขอให้ ทน.อุดรธานี พิจารณาเพิ่มการลงทุนที่ขาดไป ด้วยงบประมาณของท้องถิ่นเอง และทำการก่อสร้างไปพร้อมๆกัน เพื่อไม่ให้ต้องมาก่อสร้างเพิ่มเติม เชื่อว่าเมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จ หลังบ้านประชาชนสองข้างลำห้วยจะเปิดออก มูลค่าของที่ดินจะเพิ่มสูงมากขึ้น
รมช.มหาดไทย ยังขอให้ สนง.โยธาธิการและฝังเมือง ศึกษาทำความเข้าใจเรื่อง “ผังเมืองเฉพาะ” เพื่อนำมาใช้ในเขต ทน.อุดรธานีในอนาคต และขอให้เร่งรัดเจรจาเจ้าของที่ดิน 1 แปลง (3 ราย) จาก 31 แปลง ในโครงการจัดรูปที่ดินใน ทน.อุดรธานี สร้างถนนเชื่อม ถ.นเรศวร กับ ถ.พรมประกาย เพิ่มเส้นทางเข้าสู่สนามบินอุดรธานี ให้เสร็จทันการตั้งประมาณ ปี 2557 เพื่อทำการก่อสร้าง ได้ทันงานพืชสวนโลก…..