วันจันทร์, พฤศจิกายน 25, 2024
Google search engine
หน้าแรกศิลปวัฒนธรรม“เวียนเทียน”บนภูพระบาทย้อนอดีต 1,500 ปี

“เวียนเทียน”บนภูพระบาทย้อนอดีต 1,500 ปี

เวียนเทียนรอบใบเสมาล้อม “หอนาอุษา” ศาสนสถานของคนในยุค 1500 ปี บนอุทยานประวัติศาตร์ภูพระบาท ที่เตรียมเสนอเป็นมรดกโลก ม.ค.66

เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2565 ที่อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี วัฒนธรรมจังหวัดอุดรธานี ร่วมกับอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท และชาวอำเภอบ้านผือ จัดกิจกรรมส่งเสริมพระพุทธศาสนา เนื่องในโอกาสเทศกาลวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา ประจำปี 2565 ประกอบด้วยพิธีเจริญพระพุทธมนต์ , อบรมบรรยายธรรม และเวียนเทียนถวายเป็นพุทธบูชา รอบศาสนสถานในศตวรรษที่ 12-16 หรือราว 1,500 ปีมาแล้ว ที่คนในยุคนั้นใช้ใบเสมาหิน รายล้อม “หอนางอุษา” โขดหินมีรูปร่างแปลกตา ประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ ที่มีกระจัดกระจายอยู่ทั่วภูพระบาท

นายปราโมทย์ ธัญญพืช รองผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี เป็นประธานประกอบพิธีสงฆ์ ด้วยพระสงฆ์ 5 รูป ก่อนนำ “เวียนเทียนถวายเป็นพุทธบูชา” มีนางเทียบจุฑา ขาวขำ ส.ส.อุดรธานี พรรคเพื่อไทย นายวิมล สุระเสน นายอำเภอบ้านผือ นายธีทัต พิมพา วัฒนธรรมจังหวัดอุดรธานี นายนภสินธุ์ บุญล้อม หัวหน้าอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท นำผู้นำชุมชนในพื้นที่ และนักศึกษาจาก มรภ.อุดรธานี เข้าร่วมกิจกรรม เดินเวียนเทียนรอบตามแนว “ใบเสมาหิน” 3 รอบ

นายธีทัต พิมพา วัฒนธรรมจังหวัดอุดรธานี กล่าวว่า พุทธศาสนาเป็นศูนย์รวมจิตใจของสังคมไทย หลักธรรมมุ่งเน้นใช้คุณธรรม และสติปัญญาดำเนินชีวิต เพื่อพัฒนาตนเอง และรวมใจพัฒนาชุมชน สังคม ชาติบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรือง โดยมีวัดเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ จากการศึกษาค้นคว้าที่ภูพระบาท พบหลักฐานยืนยันได้ว่า มีศาสนาสถานของคนในอดีต และมีกิจกรรมมาต่อเนื่องยาวนาน อีกทั้งสถานที่แห่งนี้เคยมี “เกจิอาจารย์” หลายรูป เข้ามาใช้สถานที่แห่งนี้ปฏิบัติธรรม และเป็นโอกาสดีที่ประเทศไทย จะเสนอต่อคณะกรรมการมรดกโลก ให้ขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกโลก ในราวเดือนมกราคม 2566 จึงจัดงานสำคัญนี้ขึ้นมา

นายนภสินธุ์ บุญล้อม หัวหน้าอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท เปิดเผยว่า วัฒนธรรมเสมาบนภูพระบาท เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 12-16 หรือราวกว่า 1,500 ปี คนในยุคนั้นได้นำเอาใบเสมาหิน มาปักล้อมบนลานหินรอบสถานที่หนึ่ง เพื่อประกอบพิธีกรรมทางศาสนา และกระจัดกระจายอยู่ทั้งภูพระบาท ปัจจุบันยังคงมีสภาพเห็นปรากฏ ดั่งเดิมไม่ได้ถูกทำลาย และได้รับการอนุรักษ์ไว้แล้ว การจัดกิจกรรมส่งเสริมพระพุทธศาสนาจัดปีละ 3 ครั้ง คือวันวิสาขะบูชา , วันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา และวันมาฆบูชา ซึ่งในปีนี้ก็จัดขึ้นมา 2 ครั้งแล้ว โดยงานที่จัดขึ้นไม่กระทบต่อโบราณสถาน….

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments