วันศุกร์, พฤศจิกายน 22, 2024
Google search engine
หน้าแรกการศึกษามรภ.อุดรจัดผ้าทอมืออีสานลุ้นเป็นมรดกโลก

มรภ.อุดรจัดผ้าทอมืออีสานลุ้นเป็นมรดกโลก

ผู้สื่อข่าวรายงานจากมาเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2565 ที่อาคารศิลปวัฒนธรรม มรภ.อุดรธานี และศูนย์ออกแบบสร้างสรรค์ผ้าและสิ่งทอ มรภ.อุดรธานี (FTCDC) จัดให้มีการแถลงข่าวงาน ” หรือ Fashion & Innovation in Fabric and Textiles 2022 (FIFT2022) ครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 1-3 กรกฎาคม 2565 ณ ชั้น 1 ห้างเซ็นทรัลอุดรธานี มีนายปราโมทย์ ธัญญพืช รอง ผวจ.อุดรธานี , ผศ.คณิศรา ธัญสุนทรสกุล อธิการบดิ มรภ.อุดรธานี , ผศ.ธีรยุทธ์ เพ็งชัย รองอธิการบดีฯ และ ผอ.ศูนย์ FCTDC โดยมี ผศ.พิมพ์ศิริ ชูศรีโฉม มรภ.อุดรธานี พิธีกรดำเนินการแถลงข่าว

นายปราโมทย์ ธัญพืช รอง ผวจ.อุดรธานี กล่าวว่า อุดรธานีมีนโยบายชัดเจน ในการสนับสนุนผ้าไทยทอมือ ที่เกิดขึ้นจากชุมชนมายาวนาน นอกจากจะอยู่ในคำขวัญ ยังมีกิจกรรมส่งเสริมต่อเนื่อง ทั้งการสนับสนุนให้ทั้งภาคราชการ และภาคเอกชน สวมใส่ผ้าไทยสัปดาห์ละ 1 วันในการมาทำงาน สวมใส่ไปร่วมงานบุญประเพณี และนำมาต่อยอดใช้กิจกรรมอื่นๆมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลายปีที่ผ่านมา อุดรธานีได้จัดงานมหกรรมผ้าทอมือ อนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง เชิญชวนประเทศเพื่อนบ้าน มาจัดแสดงและจำหน่าย ผ้าทอมือของแต่ละประเทศ ได้รับความสนใจมาก แต่ก็มาชงักในช่วงโควิด-19 และหวังว่างานนั้นจะเกิดขึ้นมาอีก

ผศ.คณิศรา ธัญสุนทรสกุล อธิการบดิ มรภ.อุดรธานี กล่าวว่า จุดเริ่มต้นของศูนย์ออกแบบสร้างสรรค์ผ้าและสิ่งทอ มรภ.อุดรธานี (FTCDC) สอดรับกับนโยบายของอุดรธานี คือ การผลักดันเป็นศูนย์กลางผ้าทอมืออนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ทำให้ มรภ.อุดรธานี ต้องดำเนินบทบาทที่สำคัญนี้ ทั้งในเรื่องการเรียนการสอน หลักสูตรระยะยาว หลักสูตรอบรมระยะสั้น หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการ รวมทั้งหลักสูตรสำหรับท้องถิ่น ที่ให้ความสำคัญกับงานวิจัย สนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์

“ FTCDC มีงานวิจัยการสกัดสีจากวัสดุธรรมชาติ ให้มีความโดดเด่นสวยงาม ตลอดจนมีความคงทนถาวร มีเครื่องไม้เครื่องมือในการทดสอบ ไม่ว่าจะเป็นสีผ้าที่สกัดจากดอกบัวแดง จากแหล่งน้ำธรรมชาติ หรือจากแหล่งท่องเที่ยวทะเล บัวแดงที่มีชื่อเสียง หรือสีผ้าที่สกัดจากดอกดาวเรือง จากพลังศรัทธานำมาถวาย สักการะขอพรที่วังนาคินทร์คำชะโนด ที่กลุ่มทอผ้าฯได้บูชามาต่อยอด เป็นผ้าทอมือสีเหลืองทองสวยงาม ทำให้มูลค่าเพิ่มขึ้น และได้รับความนิยมมากขึ้น ซึ่งบทบาทสำคัญของ FTCDC พร้อมเข้าไปช่วยสนับสนุน ”

ผศ.ธีรยุทธ์ เพ็งชัย รองอธิการบดีฯ และ ผอ.ศูนย์ออกแบบสร้างสรรค์ผ้าและสิ่งทอ มรภ.อุดรธานี (FTCDC) กล่าวว่า ศูนย์ออกแบบสร้างสรรค์ผ้าและสิ่งทอ มรภ.อุดรธานี (FTCDC) ก่อตั้งมาเป็นปีที่ 10 ด้วยความมุ่งมั่นงานผ้าทอมือ ได้รวบรวมผลงานจัดงานมา 2 ครั้ง ก่อนที่จะเว้นไปบ้างช่วงโควิด-19 แต่งานทางวิชาการยังทำมาต่อเนื่อง ทำให้ศูนย์ FTCDC มีผลงานมากขึ้นตามลำดับ ด้วยเครื่องไม้เครื่องมือทันสมัย ทั้งการตรวจสอบเส้นใยธรรมชาติ หรือเครื่องมือการผลิตผ้าจากขวดพลาสติก(ขยะ) และนำมาต่อยอดเป็นเสื้อผ้าแฟชั่น ซึ่งถือเป็นแล๊ปแห่งเดียวในอีสาน

“ งาน FIFT2022 1-3 มิ.ย.นี้ ที่เซ็นทรัลอุดรธานี จึงเป็นการรวบรวมงานวิจัย นวัตกรรม และผลิตภัณฑ์ที่รับการพัฒนา ของผ้าทอมืออีสานตอนบนในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ที่พร้อมจะให้ผู้สนใจนำไปต่อยอด จากการนำเสนอผ่านนิทรรศการ , การออกบูทจำหน่ายผ้าทอชุมชนระดับพรีเมียม 30 บูท , การแสดงดนตรีศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านตลอดงาน , แฟชั่นโชว์ Circular Design by FTCDC และเดินแบบ Finale’ โดย อแมนดา ออบดัม Miss Universe Thailand 2020 และ ฟิล์ม ธนภัทร กาวิละ รวมทั้งเหล่านางแบบ เซเลบริตี้ นอกจากนี้ ยังมีการเสวนาทางวิชากร และเสวนาแลกเปลี่ยนตลอดงาน ”

ผศ.ธีรยุทธ์ เพ็งชัย รองอธิการบดีฯ และ ผอ.ศูนย์ FTCDC กล่าวอีกว่า หลังจาก FTCDC นำเสนอข้อมูลผ่านการจัดงาน และงานทางวิชาการ ครูบาอาจารย์เรื่องผ้าเสนอแนวคิด ว่าอุดรธานีหรืออีสาน น่าจะเสนอให้ “ลายผ้าทอมืออีสานเป็นมรดกโลก” เราก็เห็นด้วยแต่ยังติดที่ข้อมูลทางวิชาการ ที่ต้องใช้เวลาในการรวบรวม โดย FTCDC มีแผนปฏิบัติการณ์ว่า ภายในปีนี้เราจะเปิด “พิพิธภัณฑ์ผ้าทอมืออีสาน” ภายใน มรภ.อุดรธานี จัดแสดงเรื่องราวและผ้าทอมือ การเชื่อมโยงกับพื้นที่ใกล้เคียง จากอดีตจนถึงปัจจุบัน

“ การฉลองตั้งเมืองอุดรธานี เมื่อ 18 ม.ค.2535 มีกิจกรรมทอผ้าขิดยาวที่สุดในโลก 600 ลาย กว้าง 60 ซม. ยาว 1,199 ม. โดยทอขึ้นระหว่าง 21 พ.ค.-26 พ.ย.34 มาร่วมขบวนแห่อย่างยิ่งใหญ่ วันนี้ศูนย์ FTCDC ได้เป็นผู้ดูแลสมบัติชิ้นสำคัญนี้ และได้ถอดลวดลายผ้าเป็นเอกสาร ให้สามารถต่อยอดลวดลายนั้นได้ จะเป็นส่วนหนึ่งในพิพิธภัณฑ์ผ้าอีสาน และในปีนี้ศูนย์ FTCDC จะจัดกิจกรรมทอผ้าไหมมัดหมี่ยาวที่สุดในโลกเพิ่มเติม เพื่อนำมาจัดแสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์เช่นกัน ”

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments