วันศุกร์, พฤศจิกายน 22, 2024
Google search engine
หน้าแรกธุรกิจ“อลงกรณ์”หนุนนิคมอุตอุดรเชื่อมอีสานสู่โลก

“อลงกรณ์”หนุนนิคมอุตอุดรเชื่อมอีสานสู่โลก

ที่ปรึกษา รมว.เกษตร ควง ปธ.สมาพันธุ์โลจีสติกไทย และทีมโลจีสติกดูไบ ดูพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี ศักยภาพหนุนอีสานเกรทเวย์ เชื่อมโยงรถไฟลาว-จีน-โลก พร้อมแนะเพิ่มแซนบล็อคขนส่ง และอีสานอีคอมเมิร์ซวินเลจ

เมื่อเวลา 15.00 น. วันที่ 27 มกราคม 2565 นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมนายสุวิทย์ รัตนจินดา ประธานสมาพันธ์โลจีสติกไทย และนายอัลเฟรด ชามา ตัวแทนธุรกิจโลจีสติกดูไบ เดินทางติดตามความคืบหน้า “นิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี” ถนนมิตรภาพ อ.เมือง อุดรธานี เชื่อมโยงอีสานเกรทเวย์ และระเบียงเศรษฐกิจอีสาน เปิดประตูสู่ทางรถไฟลาว-จีน หลังจากส่งสินค้าเกษตร 20 ตู้คอนเทอร์เนอร์ เที่ยวแรกไปกับรถไฟลาว-จีน

โดยมีนางอรพิน พิพัฒน์วิไลกุล รองประธานนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี นำคณะดูพื้นที่จุดการก่อสร้าง คอนเทเนอร์ยาร์ด (CY) รองรับการวางตู้ควบคุมอุณหภูมิ (ขนส่งผัก-ผลไม้) เนื้อที่ 52 ไร่ และ 30 ไร่ , พื้นที่จัดตั้ง ICD เนื้อที่ 114 ไร่ ที่ยังรอการอนุมัติเชื่อมทางรถไฟ กับสถานีหนองตะไก้ ห่างไป 2.8 กม. และอาคารแวร์เฮ้าส์ 3 หลัง 23,000 ตรม. ที่อยู่ติดกับทางรถไฟกรุงเทพ-หนองคาย รัฐบาลมีแผนพัฒนาเป็นรถไฟทางคู่ และรถไฟความเร็วสูง

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษา รมว.เกษตรและสหกรณ์ ได้ร่วมประชุมกับ นายจำรัส กังน้อย รอง ผวจ.อุดรธานี หน่วยงานเกี่ยวข้อง ภาคเอกชนของอุดรธานี และนิคมอุตสาหกรรมฯ รับทราบความก้าวหน้าในการปรับพื้นที่ การก่อสร้างสิ่งสาธารณูปโภค สถานีไฟฟ้า 115 เควี. , สถานีผลิตประปา 4,000 ลบม./วัน และบ่อบำบัดน้ำเสีย 3,200 ลบม./วัน ที่จะแล้วเสร็จ เม.ย.65 ขณะที่ CY ควบคุมอุณหภูมิส่งผัก-ผลไม้ จะเปิดได้สิ้น ก.พ.65 และขอรับการสนับสนุน ปรับปรุงทางแยก ถ.มิตรภาพ เข้านิคมฯ , สร้างทางรถไฟมาเชื่อมกับนิคมฯ , สิทธิพิเศษเท่าเขตเศรษฐกิจชายแดน และเจ้าหน้าที่ประจำ ICD

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษา รมว.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า นโยบายอีสานเกรทเวย์คู่ขนานเชื่อมอีสานเชื่อมโลก และนโยบายพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจ ซึ่งทั้งสองนโยบายแยกออกจากกันไม่ได้ เพื่อในการพัฒนาเศรษฐกิจ เราจะต้องเดินไปสู่เป้าหมายอนาคต คือ เกษตรมูลค่าสูงจึงต้องสนับสนุนส่งเสริมนิคมอุตสาหกรรม สินค้าเกษตร อาหาร รวมทั้งโลจีสติกปาร์ค เพื่อให้พร้อมต่อการเชื่อมโยง การเปิดเกรทเวย์ใหม่สู่เส้นทางรถไฟสายจีน-ลาว โดยในวันนี้มีขบวนรถไฟบรรทุกสินค้าไทยขบวนแรก 20 ตู้คอนเทรนเนอร์ได้ออกจากสถานีเวียงจันทน์ใต้เวลา 15.00 น. มุ่งหน้าไปสู่พรมแดนประเทศลาว แล้วก็ข้ามไปที่ด่านรถไฟมู่ฮั่น จากนั้นก็เดินทางไปสู่เป้าหมายที่สถานีรถไฟฉงฉิ่งประเทศจีน

โดยเป็นการผสมผสานขับเคลื่อนสองนโยบายไปด้วยกัน และเราได้สตาร์ทออกไป ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณในการที่จะทำให้เรามีความพร้อม เช่น เรื่องของการลงทุนอุตสาหกรรมแปรรูป เกษตรมูลค่าสูง เรื่องของ SME ในพื้นที่อีสาน และพื้นที่อีสานตอนบน ซึ่งก็จะเพิ่มปริมาณการค้าสร้างรายได้สร้างอาชีพมากขึ้น และนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานีได้ขอการสนับสนุนในเรื่องของการเชื่อมโยงทางรถไฟ จากสถานีหนองตะไก้เข้ามาเชื่อมกับทางนิคมอุตสาหกรรม โดยจะมีโซนที่เป็น CY เป็นโซนของทางด้านโลจีสติก และแวร์เฮาท์ต่างๆ ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ และรวมไปถึงการสนับสนุน การพัฒนาท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานีให้มีศักยภาพสูงขึ้น และก็จะเป็นส่วนหนึ่งของฮับทางด้านของคาร์โก้ ซึ่งก็ได้เห็นความก้าวหน้าของนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานีเป็นอย่างมาก

นายอลงกรณ์ฯ เปิดเผยอีกว่า วันนี้ได้พาคณะผู้บริหารของดีพีเวิร์ล เป็นบริษัทโลจีสติกที่ใหญ่ที่สุดในโลก เป็นของรัฐบาลดูไบ 100 % ซึ่งได้สนใจในสองนโยบายของเรา และสนใจที่จะมาลงทุน จึงได้ให้หารือในรายละเอียดส่วนของนิคมอุตสาหกรรม ขณะที่กลุ่มบริษัทเอกชนประเทศลาว เป็นเจ้าของสัมปทานก็ยินดีเข้ามาลงทุน ในเรื่องของการพัฒนาโครงสร้างเหล่านี้อย่างชัดเจน โดยจะมีทางสมพันธ์โลจีสติก จะเป็นผู้ช่วยประสานงาน และในส่วนของทางประเทศจีนก็จะกว่า 20 บริษัท และสนใจกับอีสานเกจเวย์ ซึ่งก็จะทำให้โครงการนี้เดินหน้าไปได้อย่างรวดเร็ว

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษา รมว.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และนายสุวิทย์ รัตนจินดา ประธานสมาพันธ์โลจีสติกไทย ยังเสนอแนะเพิ่มเติมว่า จากปัญหาช่วงเริ่มต้น ของการส่งสินค้าไปยังรถไฟในลาว ขอให้อุดรธานีพิจารณาเรื่อง “แซนบล็อคการขนส่ง” เพื่อให้เกิดความคล่องตัว , ตรวจสอบพิธีการด้านศุลกากรในจุดที่ห่างจากชายแดนมากกว่า 50 กม.มีปัญหาหรือไม่ , การสร้างเน็คเวอร์ความร่วมมือกับลาว-จีน-โลก , การสนับสนุนให้เกิด “อีสานอีคอมเมิร์ซวินเลจ” และการเชื่อมโยง “อีสาน-ลานนา”

ผู้สื่อข่าวรายเพิ่มเติมว่า นิคมอุตสาหกรรมอุดรฯไม่หยุดนิ่ง แม้ว่าจะพบกับสถานการณ์โควิด-19 ขณะรัฐบาลโดยนายกรัฐมนตรี ประกาศให้การสนับสนุน ทำให้ “ที่ดิน” กลับมาคึกคักขึ้นอีกครั้ง ป้ายประกาศขายที่ดินถูกนำมาติดใหม่ ธุรกิจนายหน้าก็กลับมาด้วย แต่จากการสอบถามเจ้าของที่ดินโดยตรง ยังคงยืนยันขายในราคาเดิม หรือสูงขึ้นจากเดิมเล็กน้อย โดยราคาที่ดินบริเวณริมทางรถไฟ ใกล้กับจุดโครงการ CY , ICD และแวร์เฮ้าส์ ราคาอยู่เสนอขายไร่ละ 1.5 ล้านบาท ขณะผู้เสนอชื้อราคาไร่ละ 1 ล้านบาท แต่ก็ขึ้นลงตามสภาพพื้นที่ …..

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments