วันศุกร์, พฤศจิกายน 22, 2024
Google search engine
หน้าแรกท่องเที่ยวอุดรฯสตาร์ทขอจัดงานพืชสวนโลก

อุดรฯสตาร์ทขอจัดงานพืชสวนโลก

อุดรธานีเสนอตัวขอจัดงาน “มหกรรมพืชสวนโลก” พ.ศ.2569 มาแล้ว 2 ครั้ง ครั้งแรกเสนอขอผ่านกระทรวงมหาดไทย ปี 2562

รอบแรกเสนอแผนงาน ผ่านคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิไปได้ด้วยดี แต่ก็ต้องสดุดเพราะไม่ใช่ภารกิจหลัก ของกระทรวงมหาดไทย จึงขอไปเป็นครั้งที่สอง ผ่านกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แต่ครั้งนี้ด้วยความเข็ดขยาย จากการจัดงาน 2 ครั้งก่อน ขรก.ไม่แฮปปี้กับระบบระเบียบการเงิน เวลาผ่านไปแรมปีจึงตกลง และแจ้งมาแบบด่วนๆให้ “เสนอแผนการจัดงาน 20 กันยายน 2564” ด้วยระบบประชุมทางไกล

ที่ห้องประชุมชั้น 4 องค์การบริหารส่วน จ.อุดรธานี นายสยาม ศิริมงคล ผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี นายวิเชียร ขาวขำ นายก อบจ.อุดรธานี นายสวาท ธีระรัตนนุกูลชัย รองประธานหอการค้าไทย (ภาคอีสาน) นำส่วนราชการเกี่ยวข้อง , นายกองค์กรปกครองท้องถิ่น , ประธานหอการค้าอุดรธานี , ประธานสภาอุตสาหกรรมอุดรธานี และองค์กรมีส่วนร่วม ได้นำเสนอแผนงานในรูปแบบเอกสาร วิดีทัศน์ และตอบคำถาม จากคณะกรรมการที่ประชุมอยู่ในส่วนกลาง นำโดยปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสื่อมวลชน ฟังเฉพาะเสียงอยู่นอกห้องประชุม

นายสยาม ศิริมงคล ผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี ได้กล่าวนำ ก่อนเปิดวิดีทัศน์ความยาว 20.48 นาที สรุปได้ว่า เป็นแผนปรับปรุง-เพิ่มเติมเนื้อหา จากแผนเคยเสนอในครั้งแรก เป็นภาพรวมภายใต้ชื่อ “Harmony of Life วิถีชีวิต สายน้ำ และพืชพรรณ” ภาคอีสานที่แต่คนกล่าวขานว่าแล้ง แต่ความจริงอีสานมีพื้นที่ชุ่มน้ำ 2 แห่ง ที่มีคสามสำคัญระดับนานาชาติ และในอุดรธานีก็มีพื้นที่ชุมชนน้ำระดับท้องถิ่น และใช้พื้นที่ชุ่มน้ำหนองแด ต.กุดสระ อ.เมือง อุดรธานี พื้นที่ 975 ไร่ เป็นพื้นน้ำ 400 ไร่ และพื้นดิน 575 ไร่ ระยะเวลาจัดงาน 134 วัน ระหว่าง พ.ย.2569-14 มี.ค.2570 งบประมาณ 2,500 ล้านบาท

คณะกรรมการฯได้กล่าวชื่นชม การรวมกันหลายภาคส่วนขอจัดงาน , สอบถาม เสนอแนะในหลายประเด็น อาทิ 1. สิ่งปลูกสร้างมากเกินไป 2.ล่าช้ามานานต้องรีบเสนอ ครม. , 3.การปลูกต้นไม้จะต้องใช้เวลา แผนงานน่าจะต้องเริ่มที่ต้นไม้ก่อน , 4. ตัวเลขที่นำเสนอเป็นก่อนสถานการณ์โควิด-19 ขอให้ประเมินผลกระทบเพิ่มเติม , 5.กล่าวถึงนวัติกรรมและเทคโนโลยีน้อยเกินไป , 6. หลังโควิด-19 คนสนใจพืชมากขึ้น พืชรากเหง้าของเราจะเพิ่มมูลค่าได้อย่างไร 7.ขอให้เพิ่มเติมความชัดเจนแผนงาน และ 8.งบประมาณ 2,500 ล้านบาทมาจากไหน

นายสยาม ศิริมงคล ผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี ให้สัมภาษณ์ว่า เป็นการเสนอตัวว่าเรามีความพร้อม การพิจารณาจะมีอีกหลายขั้นตอน เราเสนอว่าขอจัดงานใน พ.ศ.2569 หรืออีก 5 ปีข้างหน้า ในการเตรียมความพร้อมทำมาก่อนหน้านี้ตั้งแต่ปี 2562 มีผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานีหลายท่าน มีหลายหน่วยงาน , องค์กรปกครองท้องถิ่น , ภาคเอกชน และพี่น้องประชาชน ร่วมกันผลักดัน โครงการนี้ไม่กระทบกับสิ่งแวดล้อม คือมีการทำให้ดีขึ้น ไม่ได้ทำให้แย่ลงแน่นอน และทำให้ชื่อเสียงดีขึ้น

“ อุดรธานีทุกภาคส่วนเห็นตรงกันว่า สมควรที่จะส่งเสริมให้เกิดขึ้น ถ้าสงสัยกันว่าทำไมมาส่งเสริมท่องเที่ยว เพราะยังอยู่ในภาวการณ์ระบาดโควิด-19 ก็ต้องเรียนว่าเป็นงานอีก 5 ปีข้างหน้า ถ้าเราไม่เตรียมพร้อมตั้งแต่ตอนนี้ ลูกหลานเราจะมีชีวิตที่ดีได้อย่างไร การนำเสนอวันนี้มีกระทรวงเกษตรเป็นเจ้าภาพ เราเตรียมความพร้อมมาหลายปี เราเชื่อว่าจะไม่มีข้อบกพร่องอะไร ขึ้นอยู่ที่ผู้พิจารณาเห็นว่าเหมาะสมอย่างไร เราเองก็ทำดีที่สุดในเวลาที่มีอยู่ ”

ผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี กล่าวต่อว่า รูปแบบงานเราค่อนข้างแหวกแนว อีสานที่คิดว่าคงจะแห้งแล้ง แต่เราเสนอการจัดพืชสวนในพื้นที่ชุ่มน้ำ คือพื้นที่ “หนองแดง” ที่มีความพร้อม ห่างจากตัวเมืองเพียง 2 กม. มีโครงสร้างพื้นฐาน สนามบินนานาชาติ สถานีรถไฟซึ่งเป็นเส้นทางรถไฟทางคู่ รถไฟความเร็วสูงในอนาคต มีเส้นทางถนนสะดวกสบาย โดยกรรมการฯให้ความชื่นชม ความร่วมมือร่วมใจของภาคส่วนต่าง ๆของอุดรธานี มีความเป็นเอกภาพ มีความเห็นไปในแนวทางเดียวกัน ทำให้เกิดพลังตามมา

“ ประโยชน์ก็ตกอยู่กับพี่น้อง ชาวอุดรธานีและใกล้เคียง จะมีเงินงบประมาณ ตกลงมาในพื้นที่จำนวนมาก หากได้รับสิทธิในการจัดงาน ต่อเนื่องตั้งแต่ปีหน้าเป็นต้นไป พอเสร็จงานเราก็จะมีแลนด์มาร์คที่สำคัญ คิดว่าสำคัญที่สุดในรอบหลายสิบปี และผลดีไม่ได้เฉพาะอุดรธานี แต่จังหวัดโดยรอบก็รับผลดี จึงขอเชิญชวนชาวอุดรธานี และจังหวัดโดยรอบ ร่วมกันแสดงออกว่าเรามีความพร้อม ให้ภาคอีสานเป็นที่ประจักษ์ของประชาคมโลก ”

นายวิเชียร ขาวขำ นายก อจ.อุดรธานี กล่าวเพิ่มเติมว่า จุดแข็งของเราคือรูปแบบการจัดงาน ไม่เคยจัดมาก่อนในพืชสวนโลก เพราะจัดในพื้นที่ชุ่มน้ำท้องถิ่น เดิมทุกประเทศที่จัดงาน จะเลือกจัดงานบนบก จึงถือเป็นแห่งแรกของโลก อีกจุดแข็งก็คือความร่วมมือ …

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments