อ่างห้วยหลวงยังไม่เปิดประตู เหลือช่องว่างเติมน้ำได้อีก 48 ล้านคิว แต่ยังผวาน้ำไหลเข้าวันละ 4-5 ล้าน หวั่นเกิด“ฝนระเบิด”ซ้ำรอยปีที่แล้ว เพราะน้ำในลำห้วยล้นตลิ่งแล้ว
เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2567 ฝนไม่ได้ตกลงมาตามที่คาดกาล แต่น้ำคงค้างในพื้นที่จำนวนมหาศาล ทำให้ระดับน้ำในหลายพื้นที่ ทรงตัวถึงลดลงเล็กน้อย โดยที่สะพานบ้านท่าตูม ถ.มิตรภาพ ต.หมูม่น อ.เมือง อุดรธานี ในช่วงเช้า “ธงแดง” ถูกนำมาปักเป็นสัญญาเตือน หลังจากระดับน้ำสูงกว่าตลิ่ง และยังมีแนวโน้มสูงขึ้น ในช่วงบ่ายธงถูกเปลี่ยนเป็น “ธงเหลือง” ขณะในหลายพื้นที่น้ำยังคงท่วมขัง ต่อเนื่องเข้าสู่วันที่ห้าแล้ว อาทิ บ.หนองสวรรค์ ต.เชียงพิณ อ.เมือง , บ.มั่นคง ต.หมูม่น อ.เมือง และพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยหลวงและลำน้ำสาขา ประชาชนต้องยกของขึ้นที่สูง หน่วยงานราชการเข้าให้การช่วยเหลือ
โดยที่อ่างฯห้วยหลวง ปริมาณน้ำที่เก็บไว้ 64 % ยังไม่เปิดประตู ระบายน้ำออกมา แต่น้ำจากลำห้วยเชียง ที่อยู่ระหว่างก่อสร้างอ่างห้วยเชียง ความจุ 4 ล้าน ลบม. ได้ไหลมาสมทบกับลำห้วยสาขา และไหลลงทุ่งนามน ไหลผ่านประตูน้ำบ้านหัวขัววันละ 7 ล้าน ลบม. มาสมทบกับน้ำที่ในพื้นที่ ต.เชียงพิณ ต.นากว้าง ต.หมูม่น และน้ำจากอ่างหนองสำโรงอีกวันละ 3.6 ล้าน ลบม. ผ่านสะพานบ้านท่าตูม ไปยังประตูน้ำบ้านสามพร้าว
สำหรับน้ำด้านตะวันตกของเมืองอุดรธานี น้ำจากลำห้วยรินที่ไหลลงอ่างฯกุดลิงง้อ ขณะนี้มีปริมาณน้ำอยู่แล้ว 69 % มากกว่าปีที่ผ่านมา ยังไม่มีการระบายน้ำออก แต่นำท้ายอ่างฯได้ไหลไปลง “คลองป้องกันน้ำท่วมฝั่งตะวันตก” และไหลไปรวมกับน้ำจากลำห้วยดาน ที่ไหลล้นท่วม ต.เชียงพิณ มาแล้วลงไปที่คลองป้องกันน้ำท่วม ส่วนหนึ่งไหลตามห้วยดาน ผ่าน ทม.หนองสำโรง ไปลอกถนนมิตรภาพที่สะพานบ้านบงคำ (ออมสิน) และส่วนใหญ่ไหลลงหนองสำโรง จนมีน้ำเต็มความจุต้องระบายออก
ส่วนน้ำจากลำห้วยช้างโตน ที่ไหลผ่านวัดป่าบ้านตาด ได้ไหลลงอ่างฯบ้านจั่นต่อเนื่อง และเปิดประตูน้ำออกตั้งแต่ต้นเดือน วันละ 3 แสน – 1 ล้าน ลบม./วัน ขณะนี้มีน้ำอยู่ 65 % น้ำจะไหลไปตามคลองป้องกันน้ำท่วมฝั่งตะวันออก ไปสมทบกับน้ำจากลำห้วยขุ่น บริเวณสี่แยกฮอนด้า ไหลอ้อมนครอุดรธานีไปลงลำห้วยอิฐที่แยกสามพร้าว และไหลลงลำห้วยหลวง ซึ่งห่างจากตัวเมือราว 2 กม. ก่อนจะไหลผ่านประตูน้ำบ้านสามพร้าว
นายวรวิทย์ สุภาอ้วน ผอ.โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยหลวง เปิดเผยว่า ปริมาณความจุสูงสุดของน้ำในอ่างฯอยู่ที่ประมาณ 136 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีน้ำในอ่าง 87 ล้าน ลบ.ม. หรือ 64 เปอร์เซ็นต์ สามารถรองรับน้ำได้อีก 48 ล้าน ลบ.ม. ในระยะหมดฤดูฝนอีกประมาณ 2 เดือน ซึ่งทางเราก็พยายามบริหารจัดการน้ำให้อยู่ในเกณฑ์กำหนด ที่จำเป็นต้องเหลือน้ำในอ่างไว้อุปโภคบริโภคในฤดูแล้ง เช่น ทำการเกษตร ผลิตน้ำประปา และอุตสาหกรรม แต่ในห้วง 3-4 วันที่ผ่านมา มีฝนตกหนักบริเวณเหนือและท้ายอ่างอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มวลน้ำไหลเข้าอ่างถึงวันละ 4-5 ล้าน ลบ.ม. รวม 13 ล้าน ลบ.ม. ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้น 55 เซนติเมตร ตามคาดการณ์ขอกรมอุตุนิยมวิทยา ซึ่งก่อนหน้านี้ประมาณ 1 สัปดาห์ จะมีน้ำไหลเข้าอ่างวันละ 1-2 ล้าน ลบ.ม.
ทางเรายังรักษาเก็บกักน้ำไว้ และยังไม่เปิดประตูหลักระบายน้ำออก แต่เปิดประตูระบายน้ำ ปตร.ฝั่งซ้ายและขวาเพียงวันละ 1 แสน ลบ.ม. ลงคลองชลประทาน เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อพื้นที่การเกษตร ถนน บ้านเรือนประชาชนที่อยู่ท้ายอ่างฯ ที่เป็นที่ลุ่มต่ำบางแห่ง กำลังประสพปัญหาน้ำในลำห้วยสาขาของห้วงหลวงไหลเอ่อท่วม จากปริมาณน้ำฝนที่ตกหนักติดต่อกันหลายวัน หากปริมาณน้ำในอ่างสูงกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ หรือมากกว่า 95 ล้าน ลบ.ม. ทางเราจะร่วมกันประชุมหาลือ เพื่อเตรียมการบริหารจัดการน้ำในการระบายน้ำในอ่างลงสู่ลำห้วยหลวงอีกครั้ง เพื่อไม่ให้ซ้ำรอยเหมือนปีที่ผ่านมา
ตอนนี้เราต้องเก็บกักน้ำไว้ก่อน เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบซ้ำเติมต่อประชาชนที่อยู่ท้ายอ่างฯ ที่กำลังประสพปัญหาน้ำในลำห้วยสาขาเอ่อล้น เมื่อสถาณการณ์ดีขึ้น หรือสามรถพลักดันน้ำลงลำห้วยหลวงไปสู่น้ำโขงได้ตามเกณฑ์ แล้วทางเราประชุมหาลือกันอีกครั้ง เนื่องจากกรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ไว้ว่า ฤดูฝนที่เหลืออีกประมาณ 2 เดือน จะเกิด “ลานีญ่า” ทำให้มีฝนตกหนักต่อเนื่อง แต่อย่างไรก็ตามทางเราจะพยายามไม่ให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนท้ายอ่างให้น้อยที่สุด ในการระบายน้ำเราจะค่อยๆเปิดประตูระบายตามเกณฑ์กำหนด
หล
”ก่อนทางเราจะเปิดประตูหลักของเขื่อน จำนวน 3 บาน เพื่อระบายน้ำลงสู่ลำห้วยหลวง ทางเราจะแจ้งเตือนผ่านทางไลน์กลุ่มของผู้นำชุมชน ผู้ได้รับผลกระทบ ที่เราร่วมกันจัดทำขึ้นมา และขับรถโมบายประกาศไปตามหมู่บ้าน ให้ชาวบ้านที่อยู่ท้ายเขื่อนได้มีเวลาขนทรัพย์สินมีค่าขึ้นไว้ที่สูง รวมทั้งแจ้งเตือนผ่านทางเฟสบุ๊คของสำนักงานเราอีกด้วย และยืนยันให้พี่น้องที่อยู่ท้ายเขื่อนให้มั่นใจในการบริหารจัดการน้ำของเรา เพราะขณะนี้อ่างห้วยหลวงยังสามารถเก็บน้ำได้อีก 48 ล้าน ลบ.ม. หากไม่เกิดปรากฏตระการณ์ “เรนบอม” หรือฝนระเบิด เหมือนปีที่ผ่านมา ที่มีฝนระเบิดในวันที่ 15-17 กันยายน 2566 บริเวณเหนืออ่างฯ และมีน้ำไหลเข้าอ่าง 3 วันต่อเนื่อง รวมปริมาณน้ำเกือบ 40 ล้าน ลบ.ม. ทำให้ปริมาณน้ำเกินความจุ จึงจำเป็นต้องระบายน้ำออกจากอ่างอย่างเร่งด่วน เกรงว่าสันเขื่อนดินจะได้รับผลกระทบหนัก”….