วันอังคาร, เมษายน 23, 2024
Google search engine
หน้าแรกสังคมรถไฟทางคู่-เร็วสูง มัดมือชกแก้แยกฮอนด้า

รถไฟทางคู่-เร็วสูง มัดมือชกแก้แยกฮอนด้า

เวทีสร้างทางต่างระดับเข้าเมืองอุดร เปิดแบบทางพาดรถไฟ เหมือนมัดมือชกสร้าง รางคู่อยู่กับพื้นเดิม ความเร็วสูงยกเหนือถนน  สร้างทางข้ามรถไฟทางคู่ และลอดรถไฟเร็วสูง สจ.หนุ่มประสานเสียงสื่อท้องถิ่น ให้ที่ปรึกษาเพิ่มรูปแบบ ยกรางรถไฟข้ามถนนทั้งคู่

ผู้สื่อข่าวรายงานจาก จ.อุดรธานี มาเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2564 ที่ห้องประชุมที่ว่าการอำเภอเมืองอุดรธานี กรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม จัดให้มีการประชุมเสนอแนวคิด และเกณฑ์การคัดเลือกรูปแบบทางแยกต่างระดับ (การประชุมกลุ่มย่อย ครั้งที่ 1) โครงการสำรวจและออกแบบทางแยกต่างระดับ จุดตัดทางหลวงหมายเลข 2 และทางหลวงหมายเลข 216 (แยกบ้านจั่น) โดยมี บ.สแปน จก. และ บ.พรี ดีเวอร์ลอบเมนท์ คอนซัลแตนท์ จก. เป็นที่ปรึกษาออกแบบโครงการ

นายฐิฏิกรณ์ อภิบุญสุนทร วิศวกรจราจรและงานทาง และนายวุฒิชัย วุ้นศิริ ผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม ตัวแทนบริษัทที่ปรึกษาร่วมให้ข้อมูลว่า จุดตัดทางแยกทางหลวงหมายเลข 2 และทางหลวงหลายเลข 216 หรือแยกบ้านจั่น เป็นจุดตัดที่มีปริมาณรถหนาแน่น และเกิดอุบัติเหตุบ่อย เนื่องจากเป็นเส้นทางขนส่งสินค้าเชื่อมโยง สปป.ลาว ทิศเหนือไป จ.หนองคาย ทิศใต้มาจาก จ.ขอนแก่น ทิศตะวันออกมาจาก จ.สกลนคร และทิศตะวันตกมาจาก จ.หนองบัวลำภู การปรับปรุงเป็นทางต่างระดับ จึงจะบรรเทาปัญหาลงไปได้

การออกแบบปรับปรุงทางแยก ต้องมีการสำรวจและวิเคราะห์ด้วยวิศวกรรมอย่างละเอียด ตลอดจนการรับฟังควรมคิดเห็น และการมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งจุดตัดทางแยกบริเวณนี้ มีปัญหาและอุปสรรคหลายด้าน ทำให้เกิดข้อจำกัดในการออกแบบ ประกอบด้วย 1.มีคลองป้องกันน้ำท่วมขนานกับทางหลวง 216 และลอดใต้ถนนมิตรภาพ ทำให้สร้างอุโมงค์ไม่ได้ , 2. เป็นเขตนิรภัยการบิน ก่อสร้างได้สูงไม่เกิน 48 ม. และ 3.มีจุดตัดทางรถไฟบนทางหลวง 216 ห่างจากจุดตัดทางแยก 450 ม.

บริเวณทางพาดรถไฟมี 2 โครงการใหญ่ คือ รถไฟทางคู่ที่ได้ออกแบบเสร็จสมบูรณ์ เตรียมจะประกวดราคาหาผู้รับจ้าง รูปแบบรางรถไฟยังอยู่ระดับเดิม ทำให้ทางหลวง 216 จะต้องยกข้าม ขณะที่รถไฟความเร็วสูง ออกแบบเบื้องต้นไปแล้ว ยังคงเหลือออกแบบรายละเอียด รูปแบบทางรถไฟจะยกสูงขึ้น ที่ปรึกษาได้ขอให้รถไฟความเร็วสูง ยกทางข้ามขึ้นสูงอีกในระดับ ที่ทางหลวง 216 จะยกข้ามรถไฟทางคู่ และลอดรถไฟความเร็วสูงได้

การออกแบบทางแยกต่างระดับไว้ 3 รูปแบบ โดยสร้างในเขตทางไม่มีเวนคืนที่ดิน จุดตัดจะเป็นรูปแบบวงเวียนขนาดใหญ่ ซึ่งในรูปแบบ 1 , 2 ทางยกระดับแรกจะมีทางยกระดับหลัก บนทางหลวง 216 ยกตัวในระดับความสูงชั้นที่ 3 ข้ามบริเวณจุดตัด 4 แยก และข้ามทางพาดรถไฟ ในระดับความสูงชั้นที่ 2 มีระยะทางประมาณ 1.185 กม. ส่วนทางยกระดับที่สองจะแตกต่างกัน งบประมาณ 1,150 ล้านบาท ส่วนรูปแบบที่ 3 ทางยกระดับแรก จะยกข้ามทางพาดรถไฟเท่านั้น ส่วนทางยระดับสองจะคล้ายรูปแบบ 2 งบประมาณ 800 ล้านบาท จะรับฟังความคิดเห็น และนำไปศึกษาเพิ่มเติมอีกครั้ง

ผู้เข้าร่วมประชุมได้แสดงความห่วงใย จากโครงการก่อสร้างทางต่างระดับที่ผ่านมา ระยะเวลาในการก่อสร้างที่ยาวนาน ทำให้หลายกิจการจะต้องปิดตัว แม้สร้างเสร็จการประกอบธุรกิจก็ไม่กลับมาเหมือนเดิม หากจะมีการก่อสร้างก็ขอให้กระทบ ผู้ประกอบการค้าให้น้อยที่สุด หากจะดำเนินการให้เน้นไปที่ทางหลวง 216 , ขอให้ลดขนาดโครงการลงเพื่อประหยัด , ขอให้พิจารณาถนนวงแหวนรอบ 2 เพื่อระบายรถออกไปทางอื่นแทนบริเวณนี้

ขณะที่สื่อมวลชนในพื้นที่ ขอให้ที่ปรึกษายึดผลประโยชน์คนพื้นที่ จากคำถามว่า “ทำไมรถไฟทางคู่ และรถไฟความเร็วสูง ไม่ยกระดับขึ้นเหมือนกัน” เพราะเมื่อยกขึ้นเหมือนกัน ทางหลวง 216 ก็จะลอดทางรถไฟ ทำให้รถจักรยาน-จักรยานยนต์-สามล้อสกายแล๊ป ไม่ต้องขึ้นวิ่งบนทางข้าม ขณะนี้ทั้ง 2 โครงการยังไม่ได้สร้าง ยังสามารถเปลี่ยนแปลงได้ จึงขอให้ที่ปรึกษาเพิ่มรูปแบบที่ 4 หากทางรถไฟยกข้ามทางพาดทั้ง 2 โครงการ รูปแบบทางต่างระดับจะออกมาอย่างไร

นายชัยฤทธิ์ เขาวงศ์ทอง สจ.เขต 1 อ.เมืองอุดรธานี กล่าวว่า เห็นด้วยกับสื่อมวลชนท้องถิ่น ส่วนตัวก็แปลกใจว่า ทำไมรางรถไฟทางคู่-ความเร็วสูง ๆไม่ยกระดับขึ้นทั้งคู่ เส้นทางหนึ่งอยู่กับพื้น เส้นทางหนึ่งยกสูงขึ้น ไม่รู้ว่าในประเทศไทยเคยมีแบบนี้ไหม หรือที่นี่จะเป็นทางพาดแรก นอกจากจะมีทางเลือกมากขึ้น ใช้งบประมาณน้อยกว่า ยังจะไม่สูญเสียน้ำมันเชื้อเพลิง ที่รถจะต้องเร่งเครื่องขึ้นทางข้าม วันละหลายหมื่นคัน ถ้านับเป็นเดือนเป็นปีจะมหาศาล และยังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และยังลดมลพิษทางเสียง และมลพิษทางอากาศด้วย

นายฐิฏิกรณ์ อภิบุญสุนทร วิศวกรจราจรและงานทาง ที่ปรึกษาโครงการ ตอบข้อซักถามว่า วันแรกที่มาเก็บข้อมูลในพื้นที่ กรณีทางพาดรถไฟมีข้อมูลน้อย เมื่อไปขอข้อมูลเจ้าของโครงการ จึงได้ข้อมูลมาตามที่รายงานที่ประชุม โดยไม่เหตุผลว่าทำไมจึงออกมาแบบนั้น ทำให้ที่ปรึกษาต้องทำไปตามข้อจำกัด พร้อมตอบรับจะพิจารณา ออกแบบรูปแบบที่ 4 ตามที่มีการขอขึ้นมา…..

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments