วันพฤหัสบดี, พฤศจิกายน 21, 2024
Google search engine
หน้าแรกเศรษฐกิจทบทวนแผนพัฒนาอีสานตอนบน1ฉบับเอกชน

ทบทวนแผนพัฒนาอีสานตอนบน1ฉบับเอกชน

นับวันที่ภาคเอกชนมีบทบาทมากขึ้น ในการเข้ามาส่วนผลักดันแผนงาน-โครงการ ในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ และภูมิภาค ปแต่ที่ผ่านมาแนวคิดก็มักจะกระจุดอยู่กับตัวบุคคล ทำให้ภาคเอกชนต้องปรับตัว ให้เกิดการขับเคลื่อนในรูปองค์กร

เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2566 ที่ห้องประชุมโรงแรมเซ็นทารา จ.อุดรธานี นายวีระพงษ์ เต็มรังสรรค์ ประธานสภาอุตสาหกรรมภาคอีสานตอนบน 1 เป็นประธานประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน (กกร.)อีสานตอนบน 1 มีนายสุธีร์ สธนสถาพร ผอ.สนง.คณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน ที่ปรึกษา คณะกรรมการ จากสภาอุตสาหกรรม หอการค้า ชมรมธนาคาร จ.อุดรธานี หนองบัวลำภู เลย หนองคาย และบึงกาฬ รวมทั้งมีผู้แทนจาก สสปน.ร่วมให้ความรู้

นายวีระพงษ์ เต็มรังสรรค์ ประธานคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน (กกร.)อีสานตอนบน 1 ได้ให้ผู้เข้าร่วมประชุมแนะนำตัวเอง ก่อนที่จะกล่าวถึงวัตถุประสงค์สำคัญ ในการเดินทางมาประชุมร่วมกันคือ การพิจารณาทบทวนแผนพัฒนาเศรษฐกิจภูมิภาคเอกชน กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 ประจำปีงบประมาณ 2566-2570 ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี และภาคเอกชนร่วมกันศึกษาทำขึ้นเสร็จแล้ว เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ไม่ตกหล่น ก่อนที่จะผลักดันสูงที่ประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน (กรอ.) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 ต่อไป

นายสุธีร์ สธนสถาพร ผอ.สนง.คณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน กล่าวว่า ที่ผ่านมาภาคเอกชนไม่มีแผนพัฒนาเศรษฐกิจของตนเอง เมื่อมีการพิจารณาแผนงาน และอนุมัติงบประมาณ ที่จะต้องขอความเห็นจากภาคเอกชน ส่วนใหญ่ก็จะเป็นความเห็นของประธานหอฯ ประธานสภาอุตฯ และประธานชมรมธนาคารฯ จึงเกิดการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจภาคเอกชน ของแต่ละจังหวัด และกลุ่มจังหวัดขึ้น

“ มีการมอบหมายให้มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นสถาบันการศึกษาหลัก ในการกำหนดโครงสร้าง และรูปแบบไปในแนวทางเดียวกัน จากนั้นร่วมกับ อว.ส่วนหน้า หรือตัวแทนของกระทรวงอุดมศึกษาและวิจัย และสถาบันอุดมศึกษาในภูมิภาค ร่วมกับภาคเอกชนจังหวัด และกลุ่มนั้น ๆศึกษาทำแผนฯขึ้นมา ซึ่งต้องยอมรับว่าที่ผ่านมา บางจังหวัด บางกลุ่ม มีความเข้มแข็ง แต่ก็มีบางพื้นที่มีปัญหาภาคเอกชนเข้าร่วมน้อย แผนที่งานออกมาส่วนใหญ่ จึงเน้นไปที่แนวคิดของสถานบันอุดมศึกษานั้น ๆ ”

นายสุธีร์ สธนสถาพร ผอ.สนง.กกร. กล่าวว่า หลังการเลือกตั้งเห็นได้ว่า นโยบายการกระจายอำนาจ ถือเป็นเป้าหมายสำคัญของการพัฒนา พื้นที่จึงมีความสำคัญตามมา จังหวัดซึ่อมีแผนการพัฒนาอยู่แล้ว เอกชนก็ทำแผนของตนเองขึ้นมา ซึ่งอาจจะเหมือน หรือคล้าย ในบางโครงการ หรืออาจจะมีโครงการแตกต่างกันออกไป จึงจะต้องนำแผนพัฒนาเศรษฐกิจภาคเอกชน เข้าไปให้ กรอ.จังหวัด กรอ.กลุ่มฯเป็นชอบ แผนงานโครงการที่เอกชนเสนอขึ้นไป จะได้รับการตอบสนองจ่ากรัฐบาล ผ่านหน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบ ไม่ใช่ส่งมาให้ภาคเอกชนดำเนินการ

ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณาทบทวน แผนพัฒนาเศรษฐกิจภูมิภาคเอกชน กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 พ.ศ. 2566-2570 ที่มีวิสัยทัศน์ว่า “ผู้นำระเบียงเศรษฐกิจการค้าการลงทุน ศูนย์กลางการท่องเที่ยว คมนาคม และโลจีสติกส์ในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง” มี 5 ภารกิจ คือ การยกระดับการเกษตรแปรรูปมูลค่าสูง , ศูนย์กลางการจัดประชุมภูมิภาค และการท่องเที่ยว , ยกระดับโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ เป็นศูนย์กลางคมนาคม และการขนส่งโลจีสติกส์นานาชาติ และเป็นผู้นำระเบียงเศรษฐกิจด้านค้าปลีก-ค้าส่ง มีการเสนอข้อมูลโครงการ 1.โครงการที่อยู่แล้ว 2.โครงการใหม่ และ 3.โครงการระหว่างดำเนินการ

รายละเอียดของร่างแผนงาน-โครงการ และการทบทวนแผนพัฒนา ขอนำเสนอในโอกาสต่อไป ท่านที่สนใจตรวจอสบข้อมูลได้ที่ หอการค้า จ.อุดรธานี , สภาอุตสาหกรรม จ.อุดรธานี และชมรมธนาคารอุดรธานี…

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments