ตามที่ชาวบ้านหนองเขื่อนฟ้า หรือบ้านตาดใต้ ม.14 ต.บ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี ร้องเรียนได้รับความเดือดร้อนจาก “โรงไฟฟ้าจากแก๊สชีวะภาพ” บ.เรืองสิริวรรณ จก. เลขที่ 80 ถ.บ้านตาด-บ้านหนองประเสริฐ ม.14 จากกลิ่นเหม็น-เสียง-น้ำเสีย ทำให้หลายหน่วยงานเข้าตรวจสอบ มีคำสั่งให้ปรับปรุงแก้ไขภายใน 8 ม.ค.67 ซึ่งคาดว่าโรงไฟฟ้าจะไม่สามารถทำได้ตามคำสั่ง รวมทั้งการเดินทางมาดูของ รองนายกรัฐมนตรี รมว.พลังงาน
เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2566 สำนักงานอุตสาหกรรม จ.อุดรธานี โดยนายสมเดช เข็มจันทร์ เจ้าพนักงานตรวจโรงงานชำนาญงาน นัดหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อติดตามการแก้ไขปัญหา มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย ทต.บ้านตาด , ทสจ. ,พลังงาน , สวล.9 , สสจ. , ศูนย์ดำรงธรรมฯ และตัวแทนผู้เดือดร้อน มาร่วมประชุมรับฟัง การแก้ไขของโรงงาน-การให้คำแนะนำ-รับฟังปัญญาอุปสรรค ก่อนที่จะตรวจโรงงานในจุดสำคัญ คือ บริเวณถังดักตะกอน-บ่อลากูล-บ่อบำบัดน้ำเสีย แล้วกลับมาสรุปแผนงานการแก้ไขปัญหา
ทั้งนี้ตัวแทนประชาชนผู้ได้รับความเดือนร้อน ยังไม่เชื่อมั่นในการแก้ไขปัญหา 1.มาบอกชาวบ้านใช้วัตถุดิบ หญ้าเนเปีย-ฟางข้าว-ต้นข้าวโพด แต่กลับใช้กากมัน-กากมันเน่า-อื่น ๆ , 2.แก้ไขปัญหาไม่ได้มากว่า 5 ปี รับจะแก้ไขแต่ทำไม่ได้ จนมีชาวบ้านป่วยจึงออกมาร้องเรียนอีกครั้ง , 3.ไม่มีการวางแผนโรงงานไว้ล่วงหน้า โดยเฉพาะตะกอนจากการการหมักแก๊ส , 4.ไม่มีบ่อน้ำเสียตั้งแต่ตั้งโรงงาน น้ำเสียไหลออกนอกโรงงาน จึงมาสร้างขึ้นภายหลังเมืองเกิดปัญหา , 5.ขณะนี้ยังมีกลิ่นเหม็นเป็นระยะ ไม่รุนแรงเหมือนที่ผ่านมาตั้งแต่ระดับ 1-3 เกือบทุกวัน และ 6.ไม่ให้ทำโรงงานปุ๋ยอินทรีย์ จนกว่าจะแก้ไขปัญหาเดิมได้
นายสมเดช เข็มจันทร์ เจ้าพนักงานตรวจโรงงานชำนาญงาน ได้สรุปการตรวจและสั่งการโรงงานไฟฟ้าแก๊สชีวะภาพ 1.ปรับเปลี่ยนระบบการจัดการ การระบายแก๊ส หรือ “แฟร์แก๊ส” ที่มีแรงดันเกิน มีการบันทึกตามตารางที่คณะทำงานเห็นชอบ โดยโรงงานได้เพิ่มเติมระบบควบคุมสั่งการทางไกลผ่านออนไลน์ และเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ 15 ธ.ค.ที่ผ่านมา
พร้อมสั่งการโรงงานแก๊สชีวะภาพ 1.จัดการเศษวัสดุทางการเกษตรที่ตกค้าง โรงงานได้ดำเนินการแล้ว , 2.การอุดรอยรั่วของอาคารเทและผสมวัตถุดิบ เพื่อไม่ให้กลิ่นออกมากจากอาคาร โรงงานได้ดำเนินการแล้ว โดยระมัดระวังการเข้าไปของพนักงาน ซึ่งโรงงานได้จัดหาอุปกรณ์วัดค่าออกซิเจน แบบพกพาที่จะเตือนเมื่อมีค่าต่ำ ให้พนักงานที่เข้าไปในอาคาร และปรับการเทวัตถุดิบจากกลางคืนมากลางวัน
3. นำผ้าใบพลาสติกปิดด้านบน “ถังดักตะกอน” ที่อยู่ระหว่างดำเนินการ คาดจะแล้วเสร็จและทดสอบ 23 ธ.ค.66 , 4.การแก้ปัญหา “บ่อลากูล” ที่ใช้ผ้าใบพลาสติกคลุม ไม่สามารถจัดสร้างเป็นคอนกรีต แล้วคลุมด้วยพลาสติกผ้าใบ เพราะจะทำให้ต้องเปิดบ่อออก จะมีปัญหาของกลิ่นรุนแรง ตลอดระยะเวลาการก่อสร้าง โดยต้องได้รับอนุญาตจากกรมโรงงานก่อน จึงขอบดอัดขอบบ่อลากูลด้วยดินให้มั่นคงแข็งแรง และเฝ้าระวังไม่ให้แรงดันแก๊สไม่มีมากเกินไป
5.การแก้ไข “บ่อบำบัดน้ำเสีย” 3 บ่อ ที่เป็นปัญหาหลักของความเดือดร้อน ทางโรงงานได้เสนอแผนการสูบน้ำในบ่อ ที่มีคุณสมบัติเป็นสารปรับปรุงดิน ขนส่งด้วยรถบรรทุกของเหลว ไปให้เกษตรกรที่ต้องการแจ้งขอมา เมื่อน้ำแห้งจึงจะขุดลอกตะกอนดินในบ่อ ที่สะสมมามากกว่า 3 ปีออก คาดว่าจะใช้เวลามากกว่า 3-4 เดือน ซึ่งการนำออกจะต้องได้รับอนุญาตจากกรมโรงงาน โดยจะส่งแผนให้ สนง.อุตสาหกรรม จ.อุดรธานี ได้ทันที
ที่ประชุมได้หาลือเรื่อง “โรงงานปุ๋ยชีวภาพ” ว่า โรงงานต้องเอาตะกอนวัตถุดิบ ที่สะสมมานานกว่า 3 ปี ด้วยการนำมาทำเป็น “วัสดุปรุงดิน” ซึ่งที่ผ่านมามีนักวิชาการมาทำงานวิจัยแล้ว โดย สนง.อุตสาหกรรม จ.อุดรธานี ได้รับคำร้องเบื้องต้น และให้ ทต.บ้านตาด มาจัดเวทีแจ้งประชาชน ซึ่งชาวบ้านคัดค้านไม่เห็นด้วย ซึ่งโรงงานยืนยันจะไม่ยื่นเรื่องต่อ จนกว่าจะแก้ไขปัญหากลิ่นได้ก่อน …