ผู้สื่อข่าวรายงานจาก จ.อุดรธานี มาเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2564 นายสยาม ศิริมงคล ผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี เดินทางไปเยี่ยมบุคลากรทางการแพทย์ ที่โรงพยาบาลกรุงเทพอุดร หลังจากเกิดแพร่ระบาดโควิด-19 ในส่วนขยายของโรงพยาบาล ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง โดยมีแนวกันแยกส่วนไว้ มีผู้ติดเชื้อรวม 203 ราย ผู้สัมผัสเสี่ยงสูง 608 ราย โดย รพ.กรุงเทพอุดร ได้รับผู้ป่วยไว้รักษาส่วนหนึ่ง โดยมีผู้อำนวยการโรงพยาบาล บุคลากรทางการแพทย์ ให้การต้อนรับนำดูพื้นที่ และเยี่ยมผู้ป่วยในห้องความดัน
ตัวแทน รพ.กรุงเทพอุดร ชี้แจงว่า ไซด์งานก่อสร้างส่วนขยาย แยกออกด้วยการปิดกั้นทั้งหมด ก่อนหน้านี้ก็ผู้ป่วยโควิด-19 เข้ามารักษาตัวใน รพ.ปัจจุบันกลุ่มนี้มี 17 ราย โดยผู้ป่วยจะถูกแยกอยู่ชั้น 4 และ 5 เมื่อเกิดเหตุการณ์คนงานป่วย ก็รับผู้ป่วยเข้ารักษาเพิ่ม 57 ราย เป็นแรงงานไทย 47 ราย แรงงานเมียนมา 10 ราย ทุกรายเป็นผู้ป่วยสีเขียวยังไม่มีอาการ นอกจากนี้ รพ.กรุงเทพอุดร ยังส่งบุคคลากรทางการแพทย์ และทีมงาน ไปดูแลผู้สัมผัสเสี่ยงสูงที่ LQ โรงแรมลีลาวดี ที่มีแรงงานถูกกักตัวอยู่ 67 ราย
โดยขณะที่นายสยาม ศิริมงคล ผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี เดินทางไปถึงเป็นช่วงที่ผู้ป่วย รวมตัวกันออกกำลังกายเบาๆ บริเวณลานหน้าห้องผู้ป่วยชั้น 5 โดยมีห้องความดันมีกระจกใสกั้น สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ มาให้คำแนะนำการออกกำลังกาย รวมทั้งให้คำแนะนำการรักษา และดูแลสุขภาพ ซึ่งนายสยาม ฯ ได้กล่าวผ่านไมค์ที่อยู่ด้วยนอก ถึงการเข้ามาควบคุมโรค รพ.กรุงเทพอุดร ก็เข้ามามีส่วนดูแลรักษาผู้ป่วย และดูแลผู้ถูกกักตัว แบ่งเบาการทำงานของภาพรัฐ ให้กำลังใจทุกคนหายดีตามกำหนด และออกไปทำงานเพราะงานก็หยุดรอเราเหมือนกัน
นายสยาม ศิริมงคล ผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี ตอบข้อซักถามด้วยว่า ตามที่มีข่าวการฉีดวัคซีนอุดรธานี โดยเฉพาะวัคซีน “ไฟเซอร์” ที่รับจัดสรรคมา ได้ฉีดให้กลุ่มเป้าหมายคือบูธเข็มสาม ให้บุคคลากรทางการแพทย์ และชาวต่างชาติในพื้นที่ครบหมดแล้ว แต่เนื่องจากบุคลากรบางส่วน ได้ฉีดวัคซีนบูธเข็มสามด้วย “แอสตราเซเนกา” ไปก่อนแล้ว ทำให้วัคซีนไฟเซอร์เหลือ 3,900 โดส ซึ่งจะต้องคืนกลับไปส่วนกลางนั้น ตนเห็นว่าวัคซีนถูกส่งมาแล้ว ไม่ส่งกลับคืนไปให้ใคร แต่ให้ สสจ.อุดรธานี พิจารณาดูว่าจะนำไปฉีดกลุ่มเสี่ยงไหนได้บ้าง กลุ่มเสี่ยงสูงมาก ๆยังมีความต้องการ
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า บุคลากรทางการแพทย์ทั้งภาครัฐ และเอกชน ที่สำรวจต้องการฉีดวัคซีน 15,546 ราย ฉีดเข็ม 1 และ 2 ด้วยวัคซีนชิโนแวคไปแล้วเกือบ 100 % และในการสำรวจการบูธวัคซีนเข็ม 3 เพื่อส่งไปขอรับวัคซีน “ไฟเซอร์” แต่เนื่องจากช่วงนั้นไม่ความชัดเจน และอุดรธานีมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้น จากการเดินทางกลับมารักษาตัวที่บ้านวันละ 200-300 คน บุคลากรทางการแพทย์ส่วนหน้า จึงตัดสินใจบูธเข็ม 3 “แอสตราเซเนกา” ไปก่อนแล้ว เมื่อวัคซีนไฟเซอร์ส่งมาจึงเหลือ โดยยังไม่สามารถนำไปฉีดให้กลุ่มอื่นได้….