วันศุกร์, พฤศจิกายน 22, 2024
Google search engine
หน้าแรกสังคมกฎบัตรอุดรฯสวนทาง สนข.มี-ไม่มีระบบราง

กฎบัตรอุดรฯสวนทาง สนข.มี-ไม่มีระบบราง

อุดรธานีประสานเสียงยืนยัน บีทีเอส.สนใจลงทุนระบบราง หลังเห็นผู้โดยสารซิตี้บัสเดือนแรก แต่ยังต้องรอการศึกษา-ออกแบบ-ตัดสินใจ ถ้าสดใสเร็วสุดได้วิ่งใน 5 ปี ไม่สนการศึกษา สนข. บอกยังไม่ถึงระบบราง เอารถเมล์ไฟฟ้าไปก่อน

ผู้สื่อข่าวรายงานจาก จ.อุดรธานี มาเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2562 ที่ห้องประชุมเวสสุวัณ อาคารภัชรกิติยาภา เทศบาลนครอุดรธานี ในการประชุมปฏิบัติการกฎบัตรอุดรธานี ครั้งที่ 9 ยกร่างแผนปฏิบัติการณ์ โดยมีนายฐาปนา บุณยประวิตร นายกสมาคมผังเมืองไทย , พ.ท.วรายุต์ ตรีวัฒนสุวรรณ นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์อุดรธานี นำคณะนักวิชาการ และคณะกรรมการยกร่างกฎบัตรอุดรธานี 11 สาขา ทั้งภาครัฐ เอกชน นักวิชาการ ประชาสังคม ประชาชนในพื้นที่ร่วมประชุม

ที่ประชุมในสาขาคมนาคมสีเขียว ยืนยันขนส่งสาธารณะอุดรธานี สายหลักจะต้องเป็น“ระบบราง” 1-3 สาย ต่างจากผลการศึกษาของ สนง.นโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) มีผลการศึกษาแผนแม่บทการพัฒนา ระบบขนส่งสาธารณะในเขตเมืองอุดรธานี ครั้งที่ 3 (ปัจฉิมนิเทศโครงการ) ในวันที่ 28 พฤษภาคมที่จะถึงนี้ ที่มีข้อเสนอให้อุดรธานีมีรถเมล์ไฟฟ้า 6 สาย เพราะจากมีการเปิดอุดรซิตี้บัส ได้รับการตอบรับจนมีนักลงทุนสนใจ

พ.ท.วรายุต์ ตรีวัฒนสุวรรณ นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์อุดรธานี และกรรมการ บ.อุดรธานีพัฒนาเมือง จก. กล่าวว่า อุดรซิตี้บัสได้เปิดให้บริการแล้ว ด้วยรถบัสปรับอากาศชานต่ำ 24 ที่นั่ง 10 คันใน 2 เส้นทาง ค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสาย มีรถผ่านทุก 20 นาที โดยมีการติดตั้งระบบที่ทันสมัย ตั้งแต่ 18 เม.ย.-17 พ.ค.ที่ผ่านมา มีผู้โดยสายรวม 23,000 คน หรือเกือบวันละ 800 คน จุดที่มีผู้โดสายขึ้นลงมาคือ ต้นทาง , ปลายทาง , ห้างสรรพสินค้า , ย่านเศรษฐกิจ , สถานีขนส่ง และสถานศึกษา ที่เพิ่มขึ้นหลังเปิดภาคเรียน

“ จากตัวเลขผู้โดยสารช่วงเริ่มบริการ ทำให้รถไฟฟ้า BTS. สนใจติดต่อสอบถามเข้ามา ถือว่าน่ายินดีแต่ยังคงต้องรอ ขณะที่อุดรซิตี้บัสจะต้องพัฒนาต่อ เพราะเราเองไม่มีประสบการณ์ ไม่ว่าจะเป็นค่าโดยสารนักเรียน 15 บาทตลอดสาย จ่ายผ่านการ์ดค่าโดยสารเฉพาะ ซึ่งจะมีจำหน่ายเร็วๆนี้ , สถานีจอดรถโดยสารอัจฉริยะ ที่จะมีระบบป้ายแสดงเวลารถผ่าน สำหรับผู้โดยสารไม่มีสมาร์ทโฟน เพื่อดูผ่านแอพพิเคชั่น ”

นายฐาปนา บุณยประวิตร นายกสมาคมผังเมืองไทย กล่าวว่า ภาครัฐมองว่าอุดรธานีเป็นเมืองรอง แต่สำหรับภาคเอกชน และนักลงทุน มองว่าอุดรธานีคือเมืองหลัก และเฝ้าติดตาม รวมทั้งเข้ามาศึกษาไว้แล้ว อยู่ที่ว่ายังไม่มีปฏิบัติการจริง เมื่อหลายเมืองเดินรถซิตี้บัสไปแล้ว มีผู้โดยสารตั้งแต่วันละ 600-1,200 คน ทำให้รถไฟฟ้า บีทีเอส. เห็นตัวเลขจริงได้มาสนใจที่ จ.อุดรธานี และอีก 1 จังหวัด

“ ร่างกฎบัตรอุดรธานีเรามาไกลแล้ว ซิตี้บัสอุดรธานีที่ต้องทำขึ้นมา แล้วคิดว่าต่อไปเราจะไปชวนใคร ไม่ชวนใคร เข้ามาลงทุนระบบราง ตัวเลขผู้โดยสารเดือนแรก ทำให้รถไฟฟ้า บีทีเอส.ติดต่อสอบถามเข้ามา ข่าวที่ออกมามีความเห็นในโซเชียน ยืนยันไม่มีมิติเรื่องราคาที่ดิน เป็นการแจ้งเพื่อการเตรียมความพร้อม ว่าโอกาสที่จะเป็นต้องศึกษา-ออกแบบ ระยะเวลาราว 1 ปีครึ่ง ว่าผู้ลงทุนสนใจหรือไม่ จากนั้นการขออนุญาตจนก่อสร้างเสร็จทั้งหมดเร็วสุดราว 5 ปี ”

นายฐาปนา บุณยประวิตร นายกสมาคมผังเมืองไทย กล่าวต่อว่า ถ้าเกิดการลงทุนน่าจะร่วมกับ บ.อุดรธานีพัฒนาเมือง จก.เจ้าของสัมปทานซิตี้บัส สิ่งที่ต้องเตรียมความพร้อมคือ หากรถไฟฟ้ามีผู้โดยสารเกิน 5,000 คนต่อ ชม. จะต้องให้ สนข.เข้ามากำกับดูแล ถ้าไม่ถึงท้องถิ่นดำเนินการได้ ในส่วนของ ทน.อุดรธานี มีอำนาจในการตัดสินใจ “วางราง” ได้ทันที แต่เนื่องจากมีเส้นทางผ่านไปบนถนนของกรมทางหลวง จะต้องใช้เวลาในการขอใช้พื้นที่พอสมควร

นายกสมาคมผังเมืองไทย กล่าวอีกว่า สำหรับที่ สนข.ศึกษาและกำหนดว่า ระบบขนส่งสาธารณะอุดรธานี จะเป็นรถเมล์ไฟฟ้าใน 6 เส้นทาง ก็เป็นส่วนที่ สนข.ศึกษา ในส่วนกฎบัตรอุดรธานี ก็ยังเดินหน้าต่อไป โดยไม่เห็นด้วยกับผลการศึกษา สนข. ในเส้นทางรถเมล์ไฟฟ้า 2 สาย ไปทับกับเส้นทางรถอุดรซิตี้บัส ซึ่งเอกชนได้ลงทุนไปก่อนหน้าแล้ว…..

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments