เร่งทำแผนขอจัดงาน “พืชสวนโลกอุดรธานี 69” ส่วนการบริหารหลังจัดงาน จะไม่ส่งเงินรายได้ให้คลัง ขอเอามาเป็นทุนบริหารในรูป “มูลนิธิพืชสวนโลกอุดรธานี” หารายได้ไม่พึงงบจากรัฐบาลกลาง
เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2564 ที่ห้องประชุมชั้น 4 องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) อุดรธานี นายวันชัย จันทร์พร รอง ผวจ.อุดรธานี เป็นประธานประชุมคณะทำงานชุดปฏิบัติการขับเคลื่อน การจัดงานมหกรรมพืชสวนโลก 2569 อุดรธานี คณะที่ 1 คณะทำงานด้านการศึกษาแผนการจัดการพื้นที่ หลังเสร็จงานมหกรรมพืชสวนโลก โดยมีนายวิเชียร ขาวขำ นายก อบจ.อุดรธานี นำคณะทำงาน มรภ.อุดรธานี , หน.สนง.จังหวัด , ท้องถิ่นจังหวัด , สถิติจังหวัด , วิทยาลับเกษตรกรรม , เทศบาลนครอุดรฯ , อบต.กุดสระ , ประธานหอการค้า , สภาอุตสาหกรรม และเกษตรสหกรณ์จังหวัด เข้าร่วมประชุม
ซึ่งการเสนอแผนขอจัดงาน “มหกรรมพืชสวนโลกอุดรธานี” เพื่อขอรับการสนับสนุนงบจากรัฐบาล ผ่านกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 2,500 ล้านบาท จะต้องมีเสนอแผนบริหารจัดการพื้นที่ “หนองแด” หลังจัดงาน โดยไม่พึ่งงบประมาณจากรัฐ ถือเป็นธุรกิจเพื่อสังคม มุ่งหมายแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและสังคม , บริหารจัดการที่ดี+ความรู้และนวัตกรรมสังคม , มีความยั่งยืนทางการเงิน มีรายได้หลักที่มาจากสินค้าหรือบริการ โดยไม่ต้องพึ่งพาเงินบริจาค และมีการนำผลกำไรที่เกิดขึ้น ไปลงทุนซ้ำเพื่อขยายผลกระทบทางสังคมที่เกิดขึ้น
ที่ประชุมได้รายงานรูปแบบการบริหารจัดการ หลังจากการจัดงานพืชสวนโลก จ.เชียงใหม่ ว่า การจัดงานใช้พื้นที่ของ “อุทยานหลวงราชพฤกษ์” ซึ่งมาฐานะเป็นองค์การมหาชน ปกติจัดงานไม้ดอกไม้ประดับอยู่แล้ว หลังจัดงานจึงบริหารจัดการพื้นที่ต่อ ซึ่งอุทยานหลวงราชพฤกษ์ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณประจำปีอยู่แล้ว โดยที่ผ่านมาใช้งบประมาณในการดูแลพื้นที่กว่าปีละ 80 ล้านบาท ทั้งนี้การเป้นองค์การมหาชน จะต้องให้หน่วยงานรัฐ เสนอต่อ ครม.เพื่อจัดตั้งขึ้น นอกจากนี้ยังรายงานการบริหารจัดการ สนามกีฬาของ จ.นครราชสีมา ว่าอยู่ในงบปกติของการกีฬาแห่งประเทศไทย โดยไม่เหมาะจะให้ อปท.มาบริหาร เพราะติดเรื่องการเก็บค่าเข้าชม
โดยคณะทำงานยังคงยืนยันว่า การจัดงาน “มหกรรมพืชสวนโลกอุดรธานี” จะเป็นการปักหมุดงานระดับโลกครั้งแรกใน “อีสาน” ทำให้เปิดตัวอุดรธานีและภาคอีสานสู่โลก เป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ยิ่งใหญ่ สรุปเบื้องต้นการบริหารจัดการหลังจัดงาน อุดรธานีจะขอไม่ส่งรายได้จากการจัดงาน 130 วันคืนคลัง แต่จะเอามาเป็นทุนเริ่มต้นการบริหาร ในรูปของ “มูลนิธิพืชสวนโลกอุดรธานี” มีคณะกรรมการฯ หรือ “บอร์ด” คอยควบคุมกำกับดูแล ซึ่งสถานที่หลังจัดงานยังหารายได้มาเพิ่ม อาทิ การย้ายงานประจำปีทุ่งศรีเมืองไปที่นั่น หรือการจัดงานอีเว้น งานประเพณีต่าง ๆ อยู่ที่รูปแบบการจัดงาน จะเหลืออะไรไว้ให้ดำเนินการต่อ
ขณะที่คณะทำงานคณะที่ 2 คณะทำงานด้านข้อมูลพืชการเกษตร ก็มีการประชุมที่ห้องประชุมชั้น 2 อบจ.อุดรธานี เพื่อรวบรวมข้อมูลที่ยังไม่ครบถ้วน 3 ประเด็น คือ 1.ข้อมูลที่ยังไม่ครบถ้วนด้านพืชน้ำ พืชพื้นถิ่นในจังหวัด กลู่มจังหวัด ภูมิภาค และทั้งประเทศ , 2.ข้อมูลด้านสถิตินักท่องเที่ยว พ.ศ.2562 และประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และการดำเนินการอื่น ๆ ขณะที่ประชุมได้ทำการสำรวจพืช 6 ส่วน คือ ข้อมูลไม้ผล , ไม้ดอก , ไม้ประดับ , พืชผัก , พืชสมุนไพร และพรรณไม้น้ำ โดยข้องมูลจะต้องส่งให้ สส.ปน.5 มีนาคม 2564 เพื่อร่วมประชุมอีกครั้ง 10 มีนาคม 2564 และนำเสนอต่อคณะกรรมการ 15 มีนาคม 2564….