อุดรธานีจับเข่าคุยป้องกันฆ่าตัวตาย หลังเกิดเหตุปลายปีสูงทำยอดพุ่ง อัตราเกิด 5.57 สูงกว่าค่าเฉลี่ยประเทศ 4.75 เตรียมเสนอผู้ว่าฯ จัดอบรมสร้างจิตอาสา พระสงฆ์ นักบวช ให้ความรู้สอดส่องช่วยเหลือกลุ่มเสี่ยง (ชวนพูดคุย-รับฟัง-ให้กำลังใจ-พาพบแพทย์)
เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 22 ตุลาคม 2562 ที่ห้องประชุมสบายดี ชั้น 4 อาคาร 2 ศาลากลาง จ.อุดรธานี นายปราโมทย์ ธัญญพืช รองผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี เป็นประธานประชุมระดมความคิดเห็นการป้องกัน การใช้ความรุนแรงตัดสินวิกฤตของชีวิต(ฆ่าตัวตาย) มีหน่วยงานด้านสุขภาพจิตจาก ศูนย์สุขภาพจิตที่ 8 , สาธารณสุขอุดรธานี , รพ.อุดรธานี , รพ.จิตเวชเลย และ พมจ.อุดรธานี สรุปข้อมูลการทำงาน และมีตัวแทนจาก ทหาร ตำรวจ ปกครอง การศึกษา เข้าร่วมรับฟังและแสดงความคิดเห็น
ที่ประชุมรายงานว่า การฆ่าตัวตายในประเทศไทยอยู่ดันดับที่ 32 ของโลก และปีนี้มีอัตราเพิ่มขึ้น โดยจังหวัดทางภาคเหนือเกิดมากสุด ด้วยเพราะวัฒนธรรมประเพณี ในภาคอีสานมีอัตราสูงสุดที่ จ.เลย สำหรับอุดรธานี ปี 61เสียชีวิต 97 ราย ปี 62 เสียชีวิต 88 ราย และ 20 วันที่ผ่านมาเสียชีวิตแล้ว 10 ราย โดยอัตราการเสียชีวิต 5.57 สูงกว่าค่าเฉลี่ยประเทศ 4.75 ซึ่งปกติแนวโน้มจะเกิดขึ้นเดือนเมษายน แต่ในปีนี้เกิดสูงในช่วงต้นปี และปลายปี โดยในเขตเมืองมีสถิติสูงสุด
วิธีการทำร้ายตัวเองสูงสุด คือแขวนคอ รองลงมาคือกินยาฆ่าแมลง สัดส่วนผู้หญิงผู้ชายใกล้เคียงกัน แต่ผู้ชายจำสำเร็จมากกว่า สาเหตุจากมีปัญหากับคนใกล้ชิด , ความรักความหึงหวง , โรคภัยไข้เจ็บ (ผู้สูงอายุ) , โรคจิต , โรคซึมเศร้า , ยาเสพติด , เศรษฐกิจ และการสูญเสียพ่อแม่ ญาติ พี่น้อง ทั้งนี้การเสนอข่าวของสื่อมวลชน และโลกโซเชียลกระตุ้นให้เกิดเหตุต่อเนื่อง การนำเสนอน่าจะมีคำแนะนำด้วย
มาตรการแก้ไขปัญหาด้วยการ เฝ้าระวังในรายที่ทำไม่สำเร็จช่วง 1 ปี ในช่วง 3 เดือนแรกเสี่ยงสูง , ช่วยเหลือเมื่อเกิดเหตุการณ์ สอดส่องมองหากลุ่มเสียง , การเพิ่มการเข้าถึงการบริการสุขภาพจิต ที่ รพสต. , รพ.ชุมชน และรพ.อุดธานี มีผู้ป่วยใน 10 เตียงที่ “หอรวงผึ้ง” ดูแลเบื้อต้นผู้ป่วยจิตเพส , ไบโพร่า และพิษสุรา-ยาเสพติดก่อนส่งต่อ และการลดตราบาปผู้ป่วยจิตเวช ขณะที่ พมจ.อุดรธานี เข้าดูแลครอบครัวที่เกิดเหตุ
น.ส.จุฑามาศ วรรณศิลป์ ผอ.ศูนย์สุขภาพจิตที่ 8 อุดรธานี เปิดเผยว่า สาเหตุสำคัญของอุดรธานี ในการใช้ความรุนแรงตัดสินวิกฤตของชีวิต มากที่สุดเกิดจากความขัดแย้งของคนในครอบครัว 30 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาเป็นเรื่องความเสี่ยงต่างๆ เรื่องจิตเวช เรื่องซึมเศร้า เรื่องสุรา และเรื่องสุขภาพ ในทุกส่วนงานที่เกี่ยวข้องเฝ้าระวัง ในกลุ่มเสี่ยงเอาเข้ามาดูแล กลุ่มต่างๆให้ได้รับการบำบัดดูแล รวมทั้งผู้ที่พยายามทำร้ายตัวเอง ไม่ให้กลับไปทำซ้ำ การดูแลด้านสุขภาพจิต หรือให้เข้าถึงการดูแลทำดีอยู่แล้ว
“ หากพบผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิต เปลี่ยนไปดูแปลกจากปกติ มีพฤติกรรมจะทำร้ายตัวเอง พูดเหมือนมีการสั่งเสีย มีปัญหาทุกใจเรื่องเศรษฐกิจ ครอบครัว ความรัก สามารถโทรไปปรึกษาสายตรงสุขภาพจิต 1323 ที่มีศูนย์ฯอยู่ส่วนกลาง หรือสามารถไปรับคำปรึกษาที่ รพ.สต. , รพ.ชุมชน หรือ รพ.จังหวัดได้ มีเจ้าหน้าที่ให้การดูแลด้านจิตใจได้ อาจจะโทรไปปรึกษาที่ รพ.ใกล้บ้านได้ รวมทั้งจะมีการคุยกันว่าสายตรงสุขภาพจิต จะตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาคได้หรือไม่ จะเกิดความคล่องตัวมากขึ้น ”
น.ส.จุฑามาศ วรรณศิลป์ ผอ.ศูนย์สุขภาพจิตที่ 8 อุดรธานี เปิดเผยอีกว่า มีการพัฒนาบุคลากรด้านสุขภาพจิต มีความพร้อมในทุกโรงพยาบาล และได้พัฒนาศักยภาพของ อสม.เชียวชาญด้านสุขภาพจิต ที่สามารถดูแลกลุ่มเสียงเหล่านี้ได้ โดย 2 ปีที่พัฒนาศักยภาพไป พบว่าสามารถเข้าไปดูแล คนที่จะทำร้ายตัวเองได้พอสมควร คือการเข้าไปสอดส่องมองหา เข้าไปรับฟังพูดคุยให้กำลังใจ ก่อนส่งต่อให้ความช่วยเหลือ
นายปราโมทย์ ธัญญพืช รองผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี เปิดเผยว่า ในช่วงนี้มีเหตุที่อยากเรียกว่า “การใช้ความรุนแรงตัดสินวิกฤตของชีวิต” ไม่อยากใช้คำว่า “ฆ่าตัวตาย” เกิดขึ้นติดต่อกันมามาก จึงมีการระดมข้อมูลวิชาการ ซึ่งได้ข้อมูลที่น่าสนใจทั้งการป้องกัน แก้ไขปัญหา และการดูแลผู้ป่วย รวมทั้งครอบครัว ซึ่งจะสรุปทำรายงานให้ผู้ว่าฯ เพื่อขอรับกาสนับสนุนงบยุทธศาสตร์ อบรมทำความเข้าใจกับหน่วยงาน สร้างจิตอาสา รวมทั้งพระสงฆ์ นักบวช สอดส่องมองหากลุ่มเสี่ยง แนะนำให้เข้าถึงบริการสุขภาพจิต…