คาดการณ์ PM 2.5 รายอำเภอ เพื่อเร่งจัดการแหล่งกำเนิด ทำความรุนแรงลดลง ไฟป่าพื้นที่อนุรักษ์ฯพุ่ง แต่ป่าสงวนฯลด ยังต้องระวังเผาพื้นที่เกษตร แม้โรงงานน้ำตาลจะปิดหีบ แต่ยังเหลือตอซังข้าว ที่จะเริ่มรุนแรงขึ้นจนฝนมา รองผู้ว่าฯสั่งจับเผาที่โล่ง หมดเวลาแนะนำและตักเตือนแล้ว
เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2566 ที่ห้องประชุมพระยาศรีสุริยราชวรานุวัตต์ ชั้น 3 อาคาร 1 ศาลากลาง จ.อุดรธานี นายเจนเจตน์ เจนนาวิน รองผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี เป็นประธานประชุมคณะทำงาน ติดตามสถานการณ์ไฟป่าหมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ภาพรวมและอีก 20 อำเภอ ทุกวันอังคารเพื่อรายงานผล และแจ้งแผนปฏิบัติในอีก 7 วันข้างหน้า กับการลดแหล่งกำเนิด PM 2.5 การเผาไหม้เครื่องจักรดีเซลไม่สมบูรณ์-โรงงานอุตสาหกรรมกลุ่มหม้อต้นและอื่น ๆ-การก่อสร้างอาคาร-ถนน และการเผาในที่โล่ง
ป้องกันบรรเทาสาธารณะภัย จ.อุดรธานี นำหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง องค์กรปกครองท้องถิ่น ร่วมประชุมภายในห้อง พร้อมหน่วยงานใน 20 อำเภอ และหน่วยงานจากส่วนกลางประชุมทางไกล ร่วมรายงานในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า จากที่อุดรธานีมีสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศ ของกรมควบคุมพลพิษเพียง 1 สถานี ตั้งอยู่ที่ริมหนองประจักษ์ฯ ระหว่าง รพ.ศูนย์อุดรฯ กับ สนง.โยธาธิการและผังเมือง
อุดรธานีสั่งการให้ 20 อำเภอ เก็บข้อมูลเพิ่มเติมนำมาคำนวณคุณภาพจุดนั้น เพื่อใช้ประเมินคูณภาพอากาศ ซึ่งในห่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาพบว่า การคาดกาลคุณภาพอากาศรายอำเภอ พบว่าคุณภาพอากาศรายอำเภอแนวโน้มมีปัญหา ทำให้แต่ละอำเภอเร่งแก้ไขแหล่งกำเนินฝุ่น 4 แหล่ง เมื่อเปรียบเทียบคุณภาพอากาศ ในช่วงเวลานั้น ๆ ลดระดับความรุนแรงลดลง เห็นได้ชัดจากจังหวัดใกล้เคียง อุดรธานีมีรายงาน PM 2.5 ต่ำสุด โดยมีปัญหาที่ อ.นายูง-น้ำโสม-บ้านผือ-หนองวัวซอ -โนนสะอาด
สำหรับการจัดการ “แหล่งกำเนิดฝุ่น” รายงานว่า ขนส่งอุดรธานี ตรวจรถควันดำสั่งให้ปรับปรุง เป็นรถโดยสาร 3 คัน รถบรรทุก 12 คัน รวม 15 คัน , สนง.สิ่งแวดล้อมภาค 9 อุดรธานี ตรวจควันดำของรถทางราชการพบต้องปรับปรุง , อุตสาหกรรมอุดรธานี ตรวจโรงงานอุตสาหกรรมเป้าหมาย 150 โรง ได้สัปดาห์ละ 12 โรง มีคำสั่งปรับปรุงไป 2 แห่ง , ตำรวจภูธรอุดรธานีติดตามเผาในที่โล่ง 2 ราย ได้แนะนำว่ากล่าวตักเตือน
ขณะที่เหตุ “ไฟป่า” พบว่าไฟป่าเกิดขึ้นมากรองจาก เหตุที่เกิดขึ้นรุนแรงในปี 62 ในส่วนพื้นที่ป่าสงวนมีแนวโน้มลดลง จากโรงงานน้ำตาลทยอยปิดหีบ แต่ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์กลับมีเหตุรุนแรงขึ้น จากสภาพป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ และในช่วง 2-4 ปีที่ผ่านมา ไม่เกิดไฟป่าที่รุนแรง ทำให้มีสภาพป่ามีเชื่อเพลิงมาก จึงเกิดความรุ่นแรงได้ ล่าสุดที่บริเวณใกล้วัดป่าภูก้อน อ.นายูง ต้องใช้เวลาในการดับกว่า 3 วัน
ส่วนพื้นที่ทำการเกษตรรายงานว่า อ้อยมีพื้นที่ปลูก 6 แสนไร่ ถูกระบุว่ามีการเผาอ้อยสูงมาก เป็นอันดับ 3 ของประเทศ สูงถึง 2.2 ล้านตัน รองจาก จ.นครราชสีมา และ จ.เพชรบูรณ์ โดยโรงงานน้ำตาลใน จ.อุดรธานี ปิดหีบไม่รับอ้อยแล้ว 2 โรง เหลือเพียง รง .เกษตรผล จะปิดหีบ 23 มี.ค.นี้ ส่วนนาข้าวอุดรธานีปลูก 2 ล้านไร่ ก็มีปัญหาการเผาหลังเก็บเกี่ยวด้วย
นายเจนเจตน์ เจนนาวิน รองผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี มีคำสั่งการว่า PM 2.5 ถือเป็นภัยธรรมชาติสำคัญมาก เกิดขึ้นในช่วง พ.ย.-เม.ย. เท่านั้น แต่ส่งกระทบต่อสุขภาพมาก ทำให้ทุกคนต้องร่วมรับผิดชอบ ต่อเนื่องไปจนถึง พ.ค.66 ไร่อ้อยก็ยังไม่จบอาจจะเผาไร่อ้อยที่ตัดไปแล้ว ขณะนาข้าวจะมีการเผาอีก โดยเฉพาะก่อนที่ฝนจะตกลงมาให้ทำนา คณะทำงานประมาทไม่ได้เลย
“ ประกาศจังหวัดอุดรห้ามเผาในที่โล่ง มีผลบังคับไปแล้วตั้งแต่ 15 มี.ค.ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ได้ใช้เวลาแนะนำ สร้างความเข้าใจ โดยตำรวจตรวจพบการเผาในที่โล่ง 2 ราย และได้ว่ากล่าวตักเตือนคนเผา ยังไม่มีการดำเนินคดี นับแต่นี้เป็นต้นไป ขอให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติ หากมีหลักฐานให้ดำเนินคดีตามกฎหมาย หวังว่าทุกคนจะตระหนักเรื่องที่ และขอให้ประชาสัมพันธ์ชาวไร่อ้อยขายใบอ้อยแทนการเผา ”
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ประกาศอุดรธานีห้ามเผาในที่โล่ง มีผลไปสิ้นสุด 15 พฤษภาคม 2566 ในปีต่อไปจะต้องออกประกาศใหม่ จังหวัดอุดรธานีจึงขอให้ท้องถิ่นจังหวัด แจ้งไปยังเทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล ออกเทศบัญญัติ และข้อบัญญัติ อบต. ห้ามเผาในที่โล่ง แต่มีเพียง อปท. 9 แห่ง ได้ดำเนินการไปแล้ว ประกอบด้วย ทต.ตาลเลียน ทต.ปะโค ทต.เมืองเพีย อบต.ตาลเลียน อ.กุดจับ , อบต.หนองแวง อ.บ้านผือ , อบต.ห้วยสามพาด อ.ประจักษ์ฯ , อบต.นาบัว อ.เพ็ญ , อบต.สร้างแป้น อ.เพ็ญ และ อบต.หนองสระปลา อ.หนองหาน….