วันพฤหัสบดี, พฤศจิกายน 21, 2024
Google search engine
หน้าแรกสังคม“พืชสวนโลกอุดร” เน้นผืนน้ำ-สวนทางอีสานแล้ง

“พืชสวนโลกอุดร” เน้นผืนน้ำ-สวนทางอีสานแล้ง

เหลือเวลาถึง 15 มีนา อุดรต้องเสนอแผน “พืชสวนโลกอุดรธานี” ขั้นตอนแรกของบประมาณ เบื้องต้นเห็นควรยก “พืชชายน้ำ-ในน้ำ” มีคุณค่าทางอาหารและยา เป็นจุดเด่นลบภาพจำอีสานแห้งแล้ง

เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2564 ที่ห้องประชุมพระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร ชั้น 3 อาคาร 1 ศาลากลาง จ.อุดรธานี นายสยาม ศิริมงคล ผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี เป็นประธานประชุมหารือ การยืนประมูลสิทธิ์การจัดงานพืชสวนโลก จ.อุดรธานี พ.ศ.2569 (อีก 5 ปีข้างหน้า) มานายวิเชียร ขาวขำ นายก อบจ.อุดรธานี นายสวาท ธีระรัตนนุกูลชัย ประธานหอการค้า จ.อุดรธานี , พ.ท.วรายุต์ ตรีวัฒนสุวรรณ รองประธานสภาอุสาหกรรม , ผู้แทน มรภ.อุดรธานี และเกษตรสหกรณ์ จ.อุดรธานี นำหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องร่วมประชุม

ขณะที่นายประเสริฐ อนุพันธ์ ที่ปรึกษากรมวิชาการเกษตร อดีตรองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร ผู้ที่มีประสบการณ์จัดงานพืชสวนโลกที่ จ.เชียงใหม่ , นางหริสุดา บุญยวัฒน์ ผอ.ฝ่ายพัฒนาการจัดงานเมกะอีเวนท์ และเทศกาลนานาชาติ สนง.ส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (สสปน.) , น.ส.สุรัชสาร์ ทองมี ผอ. สสปน. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นำคณะทำงานเข้าร่วมประชุม เพื่อเสนอแนะแนวทาง และกรอบการทำงานจัดทำเอกสาร เพื่อเสนอสู่การพิจารณาของ คณะกรรมการกลั่นกรองฯ 15 มีนาคมที่จะถึงนี้

จากร่างแผนงานเดิมที่อุดรธานี เสนอผ่านกระทรวงมหาดไทย ภายใต้แนวคิด “ชีวิต สายน้ำ และพืชพันธ์” บนที่ดินสาธารณประโยชน์หนองแด อ.เมือง พื้นที่ 975 ไร่ เป็นพื้นดิน 515 ไร่ พื้นน้ำ 460 ไร่ ขอรับการสนับสนุนงบประมาณ 2,500 ล้านบาท แบ่งการจัดงานเป็น 4 ส่วน คือ วิถีชีวิต-สายน้ำ-พืชพรรณ-นานาชาติ แต่เพราะไม่ใช่ภารกิจมหาดไทย ต้องเปลี่ยนมาเสนอผ่านกระทรวงเกษตรฯ โดยจะต้องปรับเอกสาร และเพิ่มเติมเนื้อหาให้ถูกต้อง ที่ประชุมกำหนดให้ส่งข้อมูลให้ สสปน.วันที่ 4 มีนาคมนี้ และประชุมร่วมที่อุดรธานี 10 มีนาคมนี้ ก่อนนำเสนอ 15 มีนาคม 2564

ที่ประชุมสรุปในประเด็นหลัก 1.รูปแบบของการจัดงาน สิ่งที่โดดเด่นของท้องถิ่น อุดรธานีและใกล้เคียง ที่เป็นอาหาร-สมุนไพร-สวยงาม พืชหลักจากดิน-จากพื้นที่ชุ่มน้ำ (ชายน้ำ-ในน้ำ) , การประกวดผลงานโดดเด่น (มอบเกษตรสหกรณ์) , การก่อสร้างทำได้กี่เปอร์เซ็นต์ , ข้อมูลเศรษฐกิจ และจำนวนนักท่องเที่ยวไทย-เทศ มาเยือนอุดรธานีปี 62 (มอบให้ประธานหอการค้า ) , โดยมีเกณฑ์อนุรักษ์ และต่อยอด (เติบโตอย่างชาญฉลาด) รวมไปถึงห้ามจัดแสดงและจำหน่ายสินค้า

2. การบริหารจัดการพื้นที่หลังจัดงาน โดยไม่พึ่งงบประมาณจากรัฐ น่าจะมาจากทีมอุดรธานี โดยเป็นธุรกิจเพื่อสังคม ประกอบด้วย มุ่งหมายแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและสังคม , บริหารจัดการที่ดี+ความรู้และนวัตกรรมสังคม , มีความยั่งยืนทางการเงิน จากรายได้หลักที่มาจากสินค้าหรือบริการ โดยไม่ต้องพึ่งพาเงินบริจาค และมีการนำผลกำไรที่เกิดขึ้น ไปลงทุนซ้ำเพื่อขยายผลกระทบทางสังคมที่เกิดขึ้น ( มอบให้นายวันชัย จันทร์พร รอง ผวจ.อุดรธานี)

ที่ประชุมเสนอให้ใช้จุดเด่น “พื้นที่ชุ่มน้ำ” ที่งานพืชสวนโลกไม่เคยจัดมาก่อน และโลโก้งานนี้ก็ใช้ดอกบัวแดง ที่เกิดในพื้นที่ชุ่มน้ำหนองหานกุมภวาปี ขณะที่วิถีชีวิตชาวอีสาน ที่ภาพจำคนทั่วไปมองว่าแห้งแล้ง แต่กลับมีพืชน้ำจำนวนมาก ที่มีคุณค่าทางอาหาร มีคุณสมบัติทางยา หรือสมุนไพร น่าจะนำจุดเด่นนี้ขึ้นมา ต่อยอดไปถึงการแปรรูปได้ ขณะจุดสนใจรองลงมา มีทั้งพืชผัก ไม้ดอก แต่ให้มีไม้ผลที่เด่นจริง ๆ บวกกับงานวิจัยสถาบันการศึกษาในพื้นที่ แต่ก็ห่วงเรื่องสถานที่จัดงาน มีการขุดลอกพื้นที่ชุ่มน้ำเดิม เกรงดินเค็มจะแพร่กระจายเข้ามาในแหล่งน้ำ จึงมีให้หน่วยงานรับผิดชอบตรวจสอบ…..

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments