เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2566 ที่ห้องประชุมพระยาศรีสุริยราชวรานุรัตน์ ชั้น 3 อาคาร 1 ศาลากลาง จ.อุดรธานี นายศรัณย์ศักดิ์ ศรีเครือเนตร รองผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี เป็นประธานประชุมคณะกรรมการอำนวยการ และทำงานขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัฉจริยะ (Smart City) มี รศ.คนิศรา ธัญสุนทรสกุล อธิการบดี มรภ.อุดรธานี หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง องค์กรภาคเอกชน เข้าร่วมประชุม โดยมีผู้แทนจาก “ดีป้า” ประจำภาคตะวันออกเฉียงเหนือร่มประชุมออนไลน์เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2566 ที่ห้องประชุมพระยาศรีสุริยราชวรานุรัตน์ ชั้น 3 อาคาร 1 ศาลากลาง จ.อุดรธานี นายศรัณย์ศักดิ์ ศรีเครือเนตร รองผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี เป็นประธานประชุมคณะกรรมการอำนวยการ และทำงานขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัฉจริยะ (Smart City) มี ผศ.คณิศรา ธัญสุนทรสกุล อธิการบดี มรภ.อุดรธานี หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง องค์กรภาคเอกชน เข้าร่วมประชุม โดยมีผู้แทนจาก “ดีป้า” ประจำภาคตะวันออกเฉียงเหนือร่วมประชุมออนไลน์
คณะกรรมการอำนวยการ และทำงานขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City) จ.อุดรธานี แต่งตั้งขึ้นเมื่อ 31 กรกฎาคม 2562 และได้รับประกาศเป็นเขตส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ 31 ตุลาคม 2562 และได้รับการต่ออายุเป็นเขตส่งเสริมฯ 2 ปี ตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 2564-31 ตุลาคม 2566 แต่ที่ผ่านมาเราประสบปัญหา “โควิด-19” จึงไม่มีความคืบหน้าเท่าที่ควร เพื่อยกระดับการขับเคลื่อน “อุดรธานีเมืองอัจฉริยะ” ได้รับการพิจารณารับตราสัญลักษณ์เมืองอัจฉริยะ
สำหรับอุดรธานีได้จัดทำแผนแม่บท ไว้ในช่วงการนำร่อง พ.ศ.2563-2565 ให้ดำเนินการใน 4 ด้าน คือ เศรษฐกิจอัจฉริยะ , การดำรงชีวิตอัจฉริยะ , พลเมืองอัจฉริยะ และสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ จึงเชิญประชุมขอให้ดำเนินการเพิ่มอีก 3 ด้าน คือ ขนส่งอัจฉริยะ , บริการภาครัฐอัจฉริยะ และพลังงานอัจฉริยะ รวมเป็น 7 ด้าน ตลอดจนร่วมสำรวจและคัดเลือก แผนงานโครงการต่าง ๆ เสนอเพื่อรับการพิจารณาต่อไป
ผู้แทนจาก “ดีป้า” กล่าวว่า มีจังหวัดที่ได้รับสัญลักษณ์ฯ 3 จว. คือ นครราชสีมา อุบลราชธานี และขอนแก่น การจะได้รับตราสัญลักษณ์ฯ มีเงื่อนไขหรือตัวชี้วัดมา 7 ด้าน ประกอบด้วย เพิ่มคุณภาพการจัดการน้ำ-อากาศ-ขยะ-พื้นที่สีเขียว ให้เป็นไปตามค่ามาตรฐาน ลดคาร์บอบมอนนอกไซด์มากกว่า 1 เปอร์เซ็นต์/ปี , เพิ่มรายได้ต่อหัวประชากรมากกว่า 250,000 คน/ปี , ค่าดัชนีสุขภาวะ มากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์/ปี , มีสัดส่วนประชาชนในพื้นที่มีความรู้เรื่องดิจิทัล มากกว่า 710 เปอร์เซ็นต์ , มีสัดส่วนประชาชนเข้ามีส่วนร่วม มากกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ และเสียชีวิตจากการเดินทางบนถนนน้อยกว่า 12 คน/แสนประชากร
ผศ.คณิศรา ธัญสุนทรสกุล อธิการบดี มรภ.อุดรธานี กล่าวว่า หลังจากได้รับข้อมูลจากจังหวัด เมื่อทีมงานของเดป้าเข้าพบผู้ว่าฯ มรภ.อุดรธานีได้ตั้งทีมนักวิชาการ เข้ามาดูเรื่องนี้แล้วเห็นว่า มรภ.อุดรธานี ได้จัดทำแผนแม่บทการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล พ.ศ.2566-70 กำหนดยุทธศาสตร์ 1.พัฒนากำลังพลสู่ดิจิทัล , 2.ยกระดับภาคเศรษฐกิจสูงดิจิทัลไทยแลนด์ , 3.ขับเคลื่อนชุมชนสู่สังคมดิจิทัล และ 4.พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรองรับนวัตกรรมดิจิทัล ซึ่งก็ตอบรับทุกประเด็นของตัวชี้วัดของเดป้า
“ ประกอบกับอุดรธานีปัจจุบัน เราได้จัดทำแผนพัฒนาจังหวัด พ.ศ.2566-2570 ซึ่งประเด็นในการพัฒนา 6 ด้าน ก็ตรงกับตัวชี้วัดของเดป้าเช่นกัน โดยเชื่อว่าทุกหน่วยงานภาครัฐ รวมถึงภาคเอกชน มีแผนงบประมาณปี 2566 อยู่ในมือแล้ว สามารถนำแผนงบประมาณมาบรรจุลงไปได้ โดย มรภ.อุดรธานี ได้ตั้งทีมคณะทำงานทั้ง 7 ด้าน ไว้เพื่อจัดประชุมเวิร์คช็อบในวันที่ 22 มีนาคมที่จะถึงนี้ มั่นใจว่าจะสามารถจัดทำเอกสารร ให้เสร็จทันวันที่ 31 มีนาคม 2566แน่นอน ”
นายศรัณย์ศักดิ์ ศรีเครือเนตร รองผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี กล่าวว่า จะเป็นการผนึกกำลังกันของจังหวัด หน่วยงานภาครัฐในส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค ตลอดจนภาคเอกชน ที่จะร่วมกันแผนงานโครงการ จัดทำเอกสารพร้อมส่งไปรับการพิจารณาได้ทัน ขอให้กำลังใจ และขอบคุณทุกฝ่าย….