วันจันทร์, พฤศจิกายน 25, 2024
Google search engine
หน้าแรกสังคมแนะ 11 ข้อ รถไฟความเร็วสูงกระทบสังคม

แนะ 11 ข้อ รถไฟความเร็วสูงกระทบสังคม

ผู้สื่อข่าวรายงานจาก จ.อุดรธานี มาเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2562 ที่ห้องประชุมอาคารศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี จัดให้มีเวทีนำเสนอความคิดเห็นของประชาชนงานวิจัยเรื่อง “การศึกษาผลกระทบทางสังคมจากการดำเนินโครงการ รถไฟความเร็วสูงสาย กรุงเทพฯ-หนองคาย (ช่วงอุดรธานี – หนองคาย) สถานีอุดรธานี ของทีมศึกษา รศ.ดร.วิเชียร ฝอยพิกุล อธิการบดี มรภ.นครราชสีมา หัวหน้าโครงการ , ผศ.ดร.สุรัชนี เคนสุโพธิ์ มรภ.อุดรธานี หน.โครงการอุดรธานี-หนองคาย , นายธนพล จรัลวณิชวงศ์ และนายกำพล บุญชม ตัวแทนจากการรถไฟแห่งประเทศไทย และ สนง.นโยบายและแผนขนส่งและจราจร (สนข.)

โดย ผศ.จรูญ ถาวรจักร อธิการบดี มรภ.อุดรธานี นำนายสิธิชัย จินดาหลวง รอง ผวจ.อุดรธานี , นายอำนาจ ผการัตน์ อดีต ผวจ.อุดรธานี , นายสมศักดิ์ ตรีทิพย์สถิตย์ นายวิโรจน์ พิพัฒน์ไชยศิริ กรรมการสภามหาวิทยาลัยฯ , นายกิตติกร ทีฆธนานนท์ รองนายก ทน.อุดรธานี , ประธานหอการค้าอุดรธานี , นักวิชาการ , ตัวแทนหน่วยงานรากชาร , ตัวแทนชุมชนรับผลกระทบ ประชาชนทั่วไป และนักศึกษา เข้าร่วมรับรับฟังบางตา

ตัวแทนจากการรถไฟแห่งประเทศไทย และ สนง.นโยบายและแผนขนส่งและจราจร (สนข.) ชี้แจงว่า รถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-หนองคาย การศึกษาเดิมจะใช้ความเร็ว 300 กม./ชม. ต่อมาปรับให้เป็นความเร็วปานกลางไม่เกิน 250 กม./ชม. ขณะนี้อยู่ระหว่างการก่อสร้างกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ที่เหลืออยู่ระหว่างการดำเนินการ ซึ่งตามแผนจะเสนอของบประมาณ เพื่อศึกษาออกแบบรายละเอียดในกลางปีนี้ และจะใช้เวลาศึกษาอีกราว 1 ปี เพื่อก่อสร้างในเสร็จเร็วที่สุดอย่างน้อยอีก 5 ปี

ผู้แทน รฟท. และ สนข. ชี้แจงอีกว่า ในพื้นที่ ทน.อุดรธานี ทั้งรถไฟทางคู่ และรถไฟความเร็วสูง จะต้องยกระดับข้ามตัวเมือง แต่ยังไม่รู้ว่าจะสูงเท่าใด เพราะอยู่ในพื้นที่นิรภัยการบิน , มีสถานีรับส่งผู้โดยสารบริเวณสถานีรถไฟเดิม โดยแยกกันออกคนละด้าน เพื่อให้ผู้โดยสารเชื่อมการใช้บริการได้ ซึ่งพื้นที่ของสถานีจะถูกพัฒนาในรูปแบบ ทีโอดี. รองรับผู้โดยสาร ด้วยการค้าและการขนส่งสาธารณะ ทั้งนี้การเชื่อมโยงกับ สปป.ลาว และจีน จะเน้นการขนส่งผู้โดยสาร ส่วนการส่งสินค้าของไทยจะเน้น “รถไฟทางคู่” และมีองค์กรใหม่มาบริหารจัดการ

ขณะที่คณะผู้ศึกษาผลกระทบด้านสังคม ได้สำรวจประชาชนด้วยการสัมภาษณ์ รอบสถานีรถไฟอุดรฯและใกล้เคียง 500 ตัวอย่าง ถึงผลกระทบในระหว่างการก่อสร้าง และหลังการก่อสร้าง ประเด็นความเห็น และความห่วงใย ในภาพรวม , สิ่งแวดล้อม , สาธารณสุข-ความปลอดภัย , สังคม-ชีวิต-ความเป็นอยู่ , เศรษฐกิจ , ท่องเที่ยว-บริการ , โบราณคดี-ประวัติศาสตร์ , การเคลื่อนย้ายประชากร พบทั้งผลกระทบในช่วงบวก และลบ

ในช่วงท้ายผู้ศึกษาได้เสนอแนะเชิงนโยบาย 11 ข้อ สรุปได้ว่า 1.ต้องเร่งประชาสัมพันธ์ , 2.จัดให้มีกองอำนวยการ 24 ชม. ประสานแก้ไขปัญหาให้ทันท่วงที , 3.การก่อสร้างใช้แรงงานในพื้นที่ก่อน , 4.ควบคุมสินค้าทะลักจากประเทศจีน , 5.จัดสถานที่จำหน่ายสินค้าชุมชนก่อน , 6.ชี้แจงความคืบหน้าโครงการ , 7.จังหวัดจัด จนท.ทุกระดับติดตามโครงการ , 8.รถได้มาตรฐานบริการทุกระดับอายุ , 9.บังคับใช้กฎหมายคนต่างด้าวอย่างจริงจัง , 10.ออกแบบรองรับปัญหาจราจร และ 11.ศึกษาวิจัยผลกระทบด้านเศรษฐกิจจริงจัง

นายสิธิชัย จินดาหลวง รอง ผวจ.อุดรธานี ให้ความเห็นว่า รถไฟรางคู่ และรถไฟความเร็วสูง มีความชัดเจนมากขึ้นตามลำดับ แต่สิ่งที่มีความสำคัญมากคือ เรื่องของสถานีรถไฟเดิม สถานีรถไฟรางคู่ สถานีรถไฟความเร็วสูง โดยเฉพาะการพัฒนาพื้นที่โดยรอบ หรือ ทีโอดี. เพื่อให้บริการผู้เดินทาง และการส่งต่อผู้โดยสาร ไปยังระบบขนส่งมวลชน ซึ่งกำลังมีการศึกษาอยู่ในขณะนี้ และการขอรับการสนับสนุนให้มี ถนนคู่ขนานทางรถไฟ

นายอำนาจ ผการัตน์ อดีต ผวจ.อุดรธานี ได้เปิดประเด็น สถานีรถไฟความเร็วสูงน่าจะอยู่นอกเมือง และขอคณะผู้ศึกษาลงไปในรายละเอียดของผลกระทบ ขอให้ลงไปศึกษาในเชิงลึก เราะที่รายงานผลการศึกษาเบื้องต้น หลายเรื่องน่าจะมีผลกระทบทั้งเชิงบวก และเชิงลบ แต่กลับไม่ได้ลงไปในรายละเอียด

ขณะที่ผู้ร่วมเวทีได้แสดงความคิดเห็นน่าสนใจ อาทิ สนับสนุนให้สถานีรถไฟตั้งอยู่ในพื้นที่เดิม , ขอให้ศึกษาวางแผนการจราจรโดยรอบ เพราะปัจจุบันก็มีปัญหาอยู่แล้ว , ขอให้การเปิดแผนงานให้ประชาชนในพื้นที่ , ที่ผ่านมาแผนงานทั้ง 2 โครงการ (รางคู่-ความเร็วสูง) ประชาชนในพื้นที่รับรู้น้อยมาก และจะรอเห็น หรือได้ใช้บริการก่อนตายหรือไม่

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments