เหลืออีก 2 เดือนศึกษาออกแบบ ทางต่างระดับแยกบ้านจั่น ยังไม่ลงตัวทั้งทางข้าม-อุโมงค์ ต้องปรับใหม่เหตุเสียงหนุน ให้ยกรถไฟทางคู่-ความเร็วสูงข้าม 216 และ ชป.ไม่เห็นด้วยทางระบายน้ำเหนืออุโมงค์ ขณะพ่อค้าหวั่นระหว่างสร้าง ทำยอดขายตกธุรกิจพัง
ผู้สื่อข่าวรายงานจาก จ.อุดรธานี มาเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2564 ที่ห้องประชุมเทศบาลตำบลหนองบัว อ.เมือง จัดให้มีประชุมกลุ่มย่อย ครั้งที่ 2 โครงการสำรวจและออกแบบทางแยกต่างระดับ จุดตัดทางหลวงหมายเลข 2 กับทางหลวงหมายเลข 216 (แยกบ้านจั่น) โดยการประชุมแบ่งเป็น 2 ช่วง (เช้า-บ่าย) ตามมาตรการโควิด-19 มีนายฐิฏิกรณ์ อภิบุญสุวรรณ วิศวกรจราจร/งานทาง และนายฤทธิชัย วุ้นศิริ ผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม จากบริษัทที่ปรึกษา นำเสนอต่อที่ประชุม
ตัวแทนบริษัทที่ปรึกษาชี้แจงว่า การศึกษามีข้อจำกัดมาก เมื่อบริเวณทางแยกอยู่ใกล้ทางพาดรถไฟ คือ รถไฟทางคู่(ออกแบบแล้วอยู่ระดับพื้น)-รถไฟความเร็วสูง(กำลังออกแบบให้ยกข้าม)-คลองป้องกันน้ำท่วม-เขตนิรภัยการบิน หลังจากคุยกันครั้งแรก (2 มิ.ย.64) และมาคุยกันในครั้งที่สอง (21 ธ.ค.64) รถไฟความเร็วสูงจะปรับแบบ ให้ยกทางรถไฟสูงขึ้นอีก 9 เมตร รูปแบบทางยกระดับจึงจะยกข้ามรถไฟทางคู่ และลอดรถไฟความเร็วสูง การศึกษาได้นำเสนอทางต่างระดับ 3 รูปแบบ
และสรุปเลือกรูปแบบที่ 1 คือ 1.สร้างถนนยกระดับบนทางหลวง 216 ข้ามสี่แยกบ้านจั่น – ข้ามรถไฟทางคู่ – ลอดรถไฟความเร็วสูง ความยาวกว่า 950 เมตร , 2.สร้างถนนยกระดับสำรอง หรือแลมป์ ให้รถจากถนนมิตรภาพ เลี้ยวขวาวิ่งขึ้นข้ามและลอดทางพาดรถไฟ และรถที่มาจากถนน 216 ข้ามและลอดทางพาดรถไฟ ซึ่งก็ยังไม่สมบูรณ์เหตุไม่เห็นด้วย จุดทางพาดรถไฟที่ต้องการให้ทางรถไฟ ยกสูงข้ามทาพาดทั้ง 2 สาย
3.สร้างอุโมงค์ลอดทางแยกบ้านจั่น ระยะทาง 750 ม. ให้รถทางตรงวิ่งเข้า-ออก ทน.อุดรธานี โดยอุโมงค์จะอยู่ลึกต่างจากแยกหมอไพโรจน์ เพื่อลอดใต้คลองระบายน้ำ แต่ชลประทาน จ.อุดรธานี ไม่เห็นด้วยห่วงเรื่องการดูแลรักษา จึงเตรียมเสนอทางทางระบายน้ำแบบปิด เลี้ยงขึ้นไปตามถนนมิตรภาพ เมื่อเลยอุโมงค์ลอดถนนไป สร้างทางระบายน้ำคลอสลอดถนน แล้วสร้างกลับเข้ามาหา คลองระบายน้ำรอบเมืองอีกครั้ง จะทำให้ขนาดอุโมงค์สั้นลงได้
นายชัยฤทธิ์ เขาวงษ์ทอง ส.อบจ.เขต 1 อ.เมือง อุดรธานี ได้ยื่นหนังสื่อต่อผู้แทนกรมทางหลวง พร้อมชี้แจงว่า สภา อบจ.อุดรธานี-ภาคเอกชน-ภาคประชาชน ไม่เห็นด้วยกับรูปแบบรถไฟทางคู่ บริเวณทางพาดรถไฟใกล้แยกบ้านจั่น ร้องขอให้ยกระดับขึ้นทั้ง 2 เส้นทาง โดยได้ร้องขอให้แก้ไขไปหลายส่วน ผู้ที่รับรู้เรื่องนี้แล้ว คือ รมว.คมนาคม , สภาพัฒนาฯ , การรถไฟ และ ผวจ.อุดรธานี ขอให้ที่ปรึกษาฯ ทำการศึกษาออกแบบทางต่างระดับ รูปแบบที่ 4 อีกหนึ่งรูปแบบ ให้เสมือนว่ารถไฟทางคู่-และรถไฟความเร็งสูง ยกระดับข้ามทางพาดรถไฟไป
บริษัทที่ปรึกษาชี้แจงว่า จะทำหนังสือสอบถามไปที่การรถไฟอีกครั้ง แต่ยังคงยืนยันจะออกแบบใน “รูปแบบที่ 1” เป็นหลักต่อไป และจะทำการศึกษาออกแบบ “รูปแบบที่ 4” เป็นการเบื้องต้นไปพร้อมกัน ยังไม่ลงไปในรายละเอียด โดยยอมรับว่ารูปแบบที่ 4 จะทำให้ทางข้ามบนทางหลวง 216 ลดความยาวลงมาก และจะไม่มีทางยกระดับสำรอง หรือแลมป์ ทั้ง 2 ชุด จะทำให้ลดงบประมาณลงไปด้วย ตลอดจนปัญหาจักรยาน-จักรยานยนต์-สามล้อ ตามบริบทของคนในพื้นที่ก็จะไม่เกิดขึ้น
สำหรับประชาชนได้รับผลกระทบในพื้นที่ ได้แสดงความคิดเห็นน่าสนใจหลายเรื่อง อาทิ 1.บทเรียนการสร้างทางต่างระดับ “แยกหมอไพโรจน์” ทำให้ผู้ประกอบธุรกิจประสบปัญหาขาดทุน บางรายไม่สามารถประกอบธุรกิจต่อได้ , 2.ผลกระทบต่อธุรกิจบริเวณการก่อสร้าง น่าจะได้รับการชดเชยหรือเยียวยา , 3.ระยะเวลาในการก่อสร้างนานกว่า 3 ปี น่าจะลดเวลาการก่อสร้าง , 4.จะต้องศึกษาหาแนวทาง และวิธีการควบคุม ให้ผู้ประกอบการไม่ได้รับผลกระทบ หรือกระทบน้อยที่สุด และ 5.ของให้พิจารณาเรื่อง “น้ำ” ให้รอบครอบจากน้ำที่ไหลมา 2 ส่วน คือจากอ่างฯบ้านจั่น และจาก “ลำห้วยขุ่น” ที่มีน้ำไหลผ่านแยกบ้านจั่นจำนวนมาก…..