เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2564 ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏ (มรภ.) อุดรธานี นายดนุช ตันเทอดทิตย์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ลงพื้นที่เปิด สำนักงาน อว.ส่วนหน้า” และประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การดำเนินงานขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน เพื่อพัฒนาจังหวัดกับผู้บริหาร มรภ.อุดรธานี สภาอุตสาหกรรมอุดรธานี ผู้แทนหอการค้า จ.อุดรธานี และกลุ่มนักธุรกิจใน จ.อุดรธานี และประชุมทางไกลกับ มรภ.อุดรธานี ศูนย์ศึกษา “บึงกาฬ”
นายดนุช ตันเทอดทิตย์ ผช.รมต.กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า อว.ไม่มีหน่วยงานประจำจังหวัด ไม่ว่าจะเป็นอุดมศึกษาจังหวัด หรือวิทยาศาสตร์จังหวัด ท่าน ศ.(พิเศษ) เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการฯ จึงตั้ง อว.ส่วนหน้าขึ้นมาทำหน้าที่ ประสานงานกลางจากส่วนกลาง โดยใช้มหาวิทยาลัยที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ เป็น อว.ส่วนหน้า บางจังหวัดที่ไม่มีมหาวิทยาลัย ก็จะให้จังหวัดที่อยู่ใกล้เคียง ที่มีมหาวิทยาลัยทำหน้าที่ร่วม
“ การตั้ง อว.ส่วนหน้าเป็นบทบาท ของมหาวิทยาลัยที่ไม่ใช่แค่สอนหนังสือ แต่ต้องออกจากรั้วมหาวิทยาลัยสู่สังคม ไม่ใช่แต่วิทยาศาสตร์ และนวัตกรรมเท่านั้น แต่ต้องรวมถึงศิลปะและวัฒนธรรมของชาติด้วย ไทยได้รับการจัดอันดับว่าร่ำรวยเป็นอันดับ 7 ของโลก ด้านมรดกศิลปวัฒนธรรม และเป็นอันดับ 2 ของเอเชีย รองจากอินเดีย ไปภาคใต้ได้ดูมโนรารับขึ้นทะเบียนไปแล้ว ก็อยากจะเห็นหมอลำอีสานได้รับขึ้นทะเบียนบ้าง และอยากเห็นเยาวชนเข้าพิพิธภัณฑ์ปีละครั้ง
นายดนุช กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมา อว.ส่วนหน้าจึงสำคัญมาก ที่จะทำเทคโนโลยีมาช่วยในการพัฒนา เรามี สนง.พัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (จิสด้า) มีอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค 4 ภาค อว.ก็ได้นำมหาวิทยาลัยลงสู่ตำบล สู่หมู่บ้าน ผ่านโครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ หรือ U2T ใน 3,000 ตำบล และในปี 2565 จะมี U2T เฟส 2 ใน 7,000 กว่าตำบลทั่วประเทศ
ผศ.คณิศรา ธัญสุนทรสกุล รองอธิการบดี มรภ.อุดรธานี กล่าวว่า อว.ส่วนหน้า มรภ.อุดรธานี ได้เข้าไปมีบทบบาททำและขับเคลื่อน แผนปฏิบัติการณ์พัฒนาจังหวัด อุดรธานีและบึงกาฬ สำหรับอุดรธานีมีแผนขับเคลื่อน 3 ระยะ ระยะที่ 1 ดำเนินการเร่งด่วน เน้นทำงานครบวงจร (ฟู๊ดวาเลย์) ระยะที่ 2 เข้าไปร่วมให้คำปรึกษา จัดทำแผนยุทธศาสตร์ และแผนปฏิบัติการประจำปี ระยะที่ 3 การสร่งเครือข่ายในการทำงานร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ
“ อุดรธานีมีเป้าหมายพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป และอาหารครบวงจร นำเทคโนโลยีเพิ่มผลผลิต และการแปรรูป พัฒนาเป็นศูนย์กลางในภูมิภาค โดยผลจัดทำแผนพัฒนาอุดรธานี 5 ปี 6 ด้าน คือ พัฒนาศักยภาพการค้าการลงทุน และระบบโลจิสติกส์ , ยกระดับการผลิตและการตลาดสินค้าเกษตร เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน , เพิ่มคุณภาพชีวิต-สาธารณสุข-การศึกษา , ยกระดับมาตรฐานไมซ์-ท่องเที่ยว-กีฬา , จัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และเสริมสร้างความเข็มแข็ง-มั่นคง-ปลอดภัย ในชีวิตและทรัพย์สิน ”
ผศ.คณิศรา ธัญสุนทรสกุล กล่าวต่อว่า เป้าหมายมีโครงการรองรับแล้ว ขณะที่ อว.ส่วนหน้า มรภ.อุดรธานี ได้ขับเคลื่อนไปหลายแผนงาน และการนำร่องในช่วงการศึกษา อาทิ การทำบันทึกข้อตกลงกับ “จีสด้า” ในการติดตั้งสถานี “ทีออส” 6 สถานี โดยจะเริ่มที่ 2 สถานีก่อน จะได้ประโยชน์จัดการข้อมูล “พื้นที่เกษตร” การจัดแสดงผลงาน U2T 135 ตำบล ผ่านมา 11 เดือนทำอะไรไปบ้าง ….