“อ่างเก็บน้ำลำพันชาด” อันเนื่องจากพระราชดำริ ต.หนองกุงทับม้า อ.วังสามหมอ จ.อุดรธานี …..ชาวอุดรธานีรู้จักกันบ้างหรือยัง
จากอุทกภัยปี 2562 นับตั้งแต่วันที่ 25 สิงหาคม 2562 อุดรธานีต้องพบกับฝน 3 ระลอก เริ่มตั้งแต่อิทธิพลความกดอากาศต่ำ น้ำฝนถูกสะสมมาเรื่อยๆ ตามด้วยอิทธิพลของพายุโซนร้อน “โพดุล” 29 สิงหาคม – 1 กันยายน 2562 และพายุโซนร้อน “คาจิกิ” 2 – 4 กันยายน 2562
ทำให้น้ำไหลลงอ่างฯลำพันชาด เวลาผ่านไปไม่นานระดับน้ำใน “อ่างเก็บน้ำลำพันชาด” สูงขึ้นจนล้นสปิลเวย์ ไหลลงสู่ห้วยลำพันชาด ไหลต่อไปลงยัง “เขื่อนลำปาว” จ.กาฬสินธุ์ ซึ่งมีปริมาณน้ำระบายออกมาวันละ 10-15 ล้าน ลบม. ซึ่งเป็นการระบายน้ำออกเหมือนทุกปี แต่ปริมาณน้ำจะน้อยกว่า ขณะย้อนไปช่วงพายุ “เชินกา” ปี 60 ต้องระบายน้ำสูงสุดวันละ 20-30 ล้าน ลบม.
“อ่างเก็บน้ำลำพันชาด” อันเนื่องจากพระราชดำริ ในหลวงรัชกาลที่ 9 ให้กรมชลประทาน ก่อสร้างอ่างฯลำพันชาด เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2521 เพื่อช่วยเหลือราษฎร อ.วังสามหมอ จ.อุดรธานี เนื่องจากราษฎรที่อาศัยอยู่ อ.คำม่วง จ.กาฬสินธุ์ พื้นที่รอยต่อกับ จ.อุดรธานี ได้รับภัยคุกคามจากผู้ก่อการร้าย อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในเขต อ.วังสามหมอ เพื่อเก็บน้ำไว้ใช้ในการเพาะปลูก อุปโภค บริโภค
วันที่ 29 สิงหาคม 2529 กรมชลประทาน โดยกองวางโครงการ เข้าจัดทำรายงานโครงการ อ่างฯลำพันชาด อันเนื่องจากพระราชดำริ จนแล้วเสร็จในวันที่ 19 สิงหาคม 2535 ซึ่งจากการประชุมหารือเกี่ยวข้องเพื่อวางแผนงาน ได้ให้กองวางโครงการทบทวนรายงานอีกครั้ง ให้สมบูรณ์ขึ้นตามสภาพปัจจุบัน (ลดขนาด) และแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2536
“อ่างฯลำพัดชาด” มีการก่อสร้างเขื่อนดิน สูง 32 เมตร ยาว 290 เมตร สันเขื่อนกว้าง 8 เมตร ก่อสร้างอาคารระบายน้ำ (คอนกรีตเสริมเหล็ก) ปริมาณน้ำที่ระดับเก็บกัก 47 ล้าน ลบม. และมีปริมาณน้ำที่ระดับสูงสุด 68 ล้าน ลบม. ขณะที่มีพื้นที่รับน้ำเหนืออ่างฯ 447 ตร.กม. ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,146.80 มม./ปี ทำให้มีปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯเฉลี่ยปีละ 133 ล้าน ลบม.
ขณะนี้ (พ.ศ.2562) ยังไม่มีการก่อสร้าง ระบบส่งน้ำชลประทาน…..