วันศุกร์, พฤศจิกายน 22, 2024
Google search engine
หน้าแรกสังคมฝนแรกน้ำห้วยหมากแข้งระบายสะดุด

ฝนแรกน้ำห้วยหมากแข้งระบายสะดุด

ฝนแรกนครอุดรธานีทำผวา ปรับปรุงห้วยหมากแข้งมีปัญหา จุดปิดกั้นทางน้ำเอาขึ้นไม่หมด กิ่งไม้ตัดลงห้วยไม่เอาขึ้น ทำน้ำระบายไม่เต็มประสิทธิภาพ ทำน้ำล้นท่วมถนนคู่ขนาน ภาพฟ้องต้นโครงการน้ำล้น ท้ายโครงการน้ำแห้ง

ผู้สื่อข่าวรายงานจาก จ.อุดรธานี มาเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2566 หลังจากที่ฝนตกลงมาในวันที่ 12 และ 13 พฤษภาคม 2566 ซึ่งเป็นฝนตกครั้งแรกของปีนี้ วัดปริมาณน้ำในได้ 60.7 และ 32.3 มม. รวมเพียง 99.3 มม. ส่งผลให้น้ำในลำห้วยหมากแข้งระดับสูง ในช่วงที่กำลังก่อสร้างโครงการ โครงการก่อสร้างระบบระบายน้ำ และปรับปรุงภูมิทัศน์ “ห้วยหมากแข้ง 936 ม. วงเงิน 148.4 ล้าน ตั้งแต่ถนนประจักษ์ศิลปาคม-ถนนวัฒนานุวงษ์ ที่บางจุดปิดกั้นลำห้วยด้วยดิน หรือทำทางระบายน้ำเบี่ยง แม้จะเปิดจุดปิดกั้นบริเวณ “แดงแหนมเนือง” ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในช่วงต้นฤดูฝน

ทีมข่าวลงสำรวจพื้นที่ เริ่มที่จุดแรกตั้งแต่ต้นโครงการ บริเวณจุดปิดกั้นลำห้วยฯ สนง.สรรพสามิต จ.อุดรธานี ถนนประจักษ์ฯ ที่มีการก่อสร้างทางเบี่ยงน้ำ ขนานไปกับลำห้วยด้วยทิศเหนือหรือด้ายซ้าย ไม่มีการเปิดจุดปิดกั้นในลำห้วยฯออก น้ำระบายผ่านไปได้ในปริมาณจำกัด ทำให้น้ำในลำห้วยฯด้านบน ย้อน กลับไปทางถนนโพศรี มีระดับสูงท่วมระเบียงริมลำห้วยฯ ขณะที่ระดับน้ำในลำห้วยหลังแนวกั้นน้ำ ระดับน้ำสูงขึ้นไปท่วมถนนขนานลำห้วยฯ และท่วมทางเบี่ยงน้ำด้านซ้ายทั้งหมด ไปจนถึงท้ายซอยกิจขยัน 1

จุดที่สอง ตั้งแต่ท้ายซอยกิจขยัน 1 เดิมมีการถมดินปิดกั้นลำห้วยฯ เพื่อทำทางเบี่ยงน้ำจากด้านซ้ายมาด้านขวา แต่ไม่มั่นใจว่าได้เปิดจุดปิดกั้นหรือไม่ เพราะน้ำสูงจนท่วมจุดปิดกั้น น้ำในลำห้วยฯและในทางเบี่ยงแบบร่องเปิด ก็ถูกท่วมสูงเชื่อมเข้าหากัน ยาวไปจนถึงท้ายซอยกิจขยัน 2 หรือไซด์งานก่อสร้างผู้รับจ้าง ซึ่งเป็นจุดบรรจบของลำห้วยฯ กับทางเบี่ยงร่องเปิด เพื่อเปลี่ยนทางเบี่ยงเป็นแบบ “ท่อ” ในด้านซ้าย

จุดที่สาม จุดเดินทางท้ายซอยกิจขยัน 2 จุดบรรจบของลำห้วยฯ กับทางเบี่ยงแบบร่องเปิด น้ำจากทางเบี่ยงไหลได้เข้ากัดเซาะ “ต้นโพธิ์” จนสภาพเป็นเกาะกลางลำน้ำ แล้วน้ำทั้งสองก็เข้ามาร่วมกัน เป็นการระบ่ายในลำห้วยฯ และระบายตามท่อน้ำเสีย ที่ใช้แทนเป็นทางเบี่ยง โดยระดับน้ำในลำห้วยฯต่ำลง กว่าทางต้นน้ำที่ผ่านมา ไม่ล้นท่วมถนนคู่ขนานลำห้วยแล้ว น่าจะเกิดจากการระบายไม่สะดวก

จุดที่สี่ บริเวณลำห้วยฯโค้ง หน้าร้านแดงแหนมเนือง ถ.อธิบดี เดิมมีการใช้ดินปิดกั้นทางน้ำ เพื่อสะดวกในการก่อสร้าง “รางยูคอนกรีต” และระบายน้ำผ่านทางเบี่ยงของ “ท่อน้ำเสีย” แต่น้ำทั้งหมดถูกระบายผ่านลำห้วยแทน โดยมีการนำเครื่องจักรหนัก เข้ามาเปิดทางน้ำที่ปิดกั้นออก แต่การเปิดทางน้ำเห็นได้ชัดว่า ไม่สามารถนำดินที่ปิดกั้นทางน้ำออกได้หมด การระบายน้ำจึงมีอุปสรรค จากดินหรือเศษวัสดุที่อยู่ใต้น้ำ

จุดที่ห้า ลำห้วยฯช่วงตั้งแต่ ถ.อธิบดี ไปจนถึง ถ.วัฒนานุวงษ์ ที่ผู้รับจ้างยังไม่ก่อสร้างรางยูคอนกรีต หรือรื้อสิ่งปลูกสร้างเดิม แต่ได้วางท่อระบายน้ำเสียขนานลำห้วยฯ มีการเคลียพื้นที่ริมลำห้วย พบว่าระดับน้ำในลำห้วย “ต่ำกว่าระดับที่ต้นน้ำมาก” ที่น่าจะเกิดจากช่วงการก่อสร้าง มีสิ่งกีดขวางทางน้ำอยู่ นอกจากนี้ยังพบว่า การเคลียร์พื้นที่ริมลำห้วยฯ มีกิ่งไม้ขนาดใหญ่ที่ถูกตัด ตกลงไปขวางในลำห้วยฯ ยังไม่มีการเอาขึ้น

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า “ลำห้วยหมากแข้ง” ถือเป็นหัวใจระบายน้ำฝนออกจากเมือง แต่ก็ยังมีประสิทธิภาพไม่เพียงพอ หากมีฝนตกลงมาอย่างหนัก จึงต้องมีสถานี สูบน้ำออกจากเมือง ช่วยในช่วงที่ฝนตกหนัก การปรับปรุงห้วยหมากแข้งครั้งนี้ เหตุผลหนึ่งคือเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ แต่ระหว่างการปรับปรุงเห็นได้ชัดว่า ประสิทธิภาพการระบายน้ำลดลง เห็นได้จากน้ำในลำห้วยต้นโครงการ ยังคงมีระดับสูงจนล้นรางคอนกรีต แต่เมื่อผ่านโครงการระดับน้ำต่ำลงมาก

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments