วันศุกร์, กุมภาพันธ์ 21, 2025
Google search engine
หน้าแรกสังคมอ้อยตัดสดอุดรทวงเงินรัฐบาล120บาท/ตัน

อ้อยตัดสดอุดรทวงเงินรัฐบาล120บาท/ตัน

ชาวไร่อ้อยตัดสดส่ง 3 โรงงานน้ำตาลอุดร ยื่นหนังสือขอให้ผู้ว่าฯตามทวง เงินช่วยเหลือค่าตัดอ้อยสดตันละ 120 บาท ตั้งแต่ปีที่แล้วยังไม่จ่าย และปีนี้ยังไม่ชัดเจน ทำให้ชาวไร่อ้อยตัดสดแบกภาระขาดทุน จากปุ๋ย-ยาฆ่าแมลง-ยาฆ่าหญ้า ที่สูงขึ้นอยู่แล้ว ยังต้องเพิ่มค่าแรง ค่ากำจัดใบอ้อย ยังต้องเจอกับอุณหภูมิเกิน 40 องศา 22 วัน ทำน้ำหนักอ้อยห่ายไป 20-30 %

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 ที่หน้าศาลากลาง จ.อุดรธานี มีเกษตรกรชาวไร่อ้อยในพื้นที่กว่า 100 คน เรียกตัวเองว่า “กลุ่มชาวไร่อ้อยตัดสด” นำโดยนายจักรกฤษ มีใย กรรมการสมาคมชาวไร่อ้อยอีสานเหนือ และนายนิยม ตอนเหนือ ตัวแทนชาวไร่อ้อย เพื่อยื่นหนังสือขอ ความช่วยเหลือเงินสนับสนุนตัดอ้อยสดจากรัฐบาล ผ่านนายราชันย์ ซุ้นหั้ว ผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี ไปยัง น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี โดยชาวไร่อ้อยที่เดินทางมาได้ถือป้ายมีข้อความ อาทิ ชาวไร่อ้อยจะตายอยู่แล้ว เงินช่วยเหลือ 120 บาท ปี 66/67 ยังไม่ได้เลย , ไทยส่งออกน้ำตาลปีละ 3 แสนล้าน ทำไมไม่ช่วยเหลือชาวไร่ , นายกอุ้งอิ้งช่วยชาวไร่ด้วย ซึ่งมีผู้แทนจากศูนย์ดำรงธรรม จ.อุดรธานี มารับหนังสือ

หนังสือระบุว่า เมื่อฤดูกาลหีบอ้อยปี 66/67 ที่ผ่านมา ชาวไร่อ้อยที่ตัดอ้อยสดส่งโรงงาน เพื่อสนองนโยบายลดฝุ่น PM. 2.5 ของรัฐบาล ซึ่งการตัดอ้อยสดโดยไม่เผา จะมีต้นทุนด้านแรงงานสูงกว่าปกติ ในฤดูการหีบอ้อยที่ผ่านมา 3 ปี รัฐบาลมีนโยบายให้เงินช่วยเหลือตัดอ้อยสด 120 บาท/ตันอ้อย เพื่อจูงใจและเพิ่มต้นทุนให้ชาวไร่อ้อย ปรากฏว่ารัฐบาลไม่ได้จ่ายเงินช่วยเหลือ ในการตัดอ้อยสดเหมือนที่ผ่านมา ชาวไร่อ้อยได้ทวงถามไปยัง รมว.อุตสาหกรรมหลายครั้ง ก็ได้รับคำตอบทุกครั้งว่าจะช่วยเหลือชาวไร่อ้อยแน่นอน แต่จนถึงปัจจุบันก็ยังไม่ได้รับ อีกทั้งชาวไร่อ้อยยังได้รับฟัง รมว.อุตสาหกรรม ตอบกระทู้สดในสภาผู้แทนราษฎรว่า ได้ขอเงินช่วยเหลือดังกล่าวไปยังคณะรัฐมนตรี ตั้งแต่ พ.ย.67 แต่ก็ยังมีได้รับการบรรจุเข้าในวาระการประชุม

ทั้งนี้ในฤดูกาลหีบอ้อยปี 67/68 รัฐบาลก็มีนโยบายจะลดปัญหาฝุ่น PM.2.5 อย่างเคร่งครัด โดยให้ชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสดส่งโรงงาน ซึ่งชาวไร่อ้อยก็สนองตอบนโยบายเป็นอย่างดี ชาวไร่อ้อยต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น จนทำให้เกิดสภาวะขาดทุน และปัจจุบันรัฐบาลก็ยังมิได้มีนโยบายจะช่วยเหลือการตัดอ้อยสด ทั้งที่ชาวไร่อ้อยให้ความร่วมมือสนองนโยบายเป็นอย่างดี จึงขอท่านผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี ได้โปรดช่วยดำเนินการ เร่งติดตามทวงถามเงินช่วยเหลือการตัดอ้อยสด ในฤดูกาลหีบอ้อยปี 66/67 ให้ชาวไร่อ้อยด้วย และขอให้เร่งติดตามทวงถามความชัดเจน ในการช่วยเหลือเงินตัดอ้อยสดปี 67/68 ด้วย เนื่องจากชาวไร่อ้อยต้องทนทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัส เพื่อสนองนโยบายลดฝุ่น PM.2.5 ของรัฐบาล

นายจักรกฤษ มีใย กรรมการสมาคมชาวไร่อ้อยอีสานเหนือ เปิดเผยว่า ชาวไร่อ้อยที่เดินทางมาวันนี้ เป็นชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสดส่งทั้ง 3 โรงงานน้ำตาล มาเพื่อยื่นขอความอนุเคราะห์จาก ท่านผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี ในการนำเรียนที่พี่น้องชาวไร่ที่ตัดอ้อยสด ปีที่ผ่านมาที่รัฐบาลก็ยังไม่ได้จ่าย 120 บาท/ตัน เงินช่วยเหลือที่เคยสัญญาไว้ ก็ยังไม่จบแต่ว่าก็ยังไม่ชัดเจน ดังนั้นปีนี้ก็จะมีความยากลำบากมาก เพราะเจอทั้งภาวะโลกร้อนฝนไม่ตก ต้นทุนต่างๆก็เพิ่มสูงขึ้น รายได้ก็น้อยลง เราคาดหวังว่าเราจะมีเงิน 120 บาทของปีที่แล้ว และคาดหวังว่า 120 บาทของปีนี้ จะมาช่วยชีวิตเราก็วันนี้ ก็เลยเป็นโอกาสของสมาคมฯ และชาวไร่อ้อยที่ตัดสด ในเขต จ.อุดรธานีทั้งสามโรงงาน

“ ชาวไร่อ้อยก็เลยมายื่นหนังสือกับผู้ว่าอุดรธานีช่วย เพราะตามที่ รมว.อุตสาหกรรม ตอบกระทู้สดว่าได้นำเรื่องเข้า ครม.ปลายปีที่แล้ว แต่ปัจจุบันเรื่องยังไม่เข้าวาระการประชุม ไม่รู้ว่าติดขัดตรงไหน ขณะที่วันนี้ชาวไร่อ้อยก็ตกเป็นจำเลยสังคมในเรื่อง PM 2.5 วันนี้ท่านบอกว่าใครตัดอ้อยไฟไหม้ใครเผาถูกจับ แต่ในทางที่ใครที่ตัดอ้อยสดท่านก็ไม่ช่วย ทั้ง ๆที่ท่านสัญญาว่าจะให้ ”

นายจักรกฤษ มีใย กรรมการสมาคมชาวไร่อ้อยอีสานเหนือ กล่าวด้วยว่า ครอบครัวทำไร่อ้อยมากว่า 30 ปี ผ่านการทำไร่อ้อยมาทุกรูปแบบ ผ่านการขาดทุนการกำไรมาหมด ปัจจุบันทำอ้อยสดเข้าโรงงาน 100 % (ไม่เผาแต่ใช้ยูเรียผสมน้ำ พ่นใบอ้อยที่สางแล้ว ให้ใบอ้อยแห้ง แล้วไถกลบ) ปีนี้นอกจากแบบต้นทุนสูงขึ้น จากปุ๋ย , ยาฆ่าแมลง , ยาฆ่าหญ้าสูงขึ้น 3 เท่า ผลของการยกเลิกสารบางตัว การทำอ้อยสดเข้าโรงงานจะมีค่าแรงสูงขึ้น และค่าใช้จ่ายไถกลบใบอ้อย ขณะเดือน เม.ย.67 มีอุณหภูมิสูงเกิน 40 องศา 22 วันทำให้น้ำหนักของอ้อยหายไป 20-30 %

นายจักรกฤษ มีใย กล่าวอีกว่า ถ้ารัฐบาลไม่ควบคุมราคาน้ำตาลในประเทศ เราก็ไม่ต้องออกมาขอความช่วยเหลือ โดยครั้งก่อนเราขอขึ้นไป 4 บาท ให้เรามา 2 บาท ทำให้กองทุนได้เงินมากว่า 5,000 ล้านบาท วันนี้ราคาน้ำตาลในประเทศ กก.ละ 21 บาท ขายปลีกก็จะสูงกว่านค้เล็กน้อย ขณะที่ราคาน้ำตาลทรายขาว ที่ผลิตโดยโรงงานน้ำตาลที่อุดรธานี ไปในในซุปเปอร์มาร์เก็ตในประเทศญี่ปุ่น กก.ละ 431 เยน บวกภาษีมูลค่าเพิ่ม 10 % รวมแล้วเท่ากับ 474.1 เยน หรือ 104.30 บาท …

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments