วันพฤหัสบดี, พฤศจิกายน 21, 2024
Google search engine
หน้าแรกสังคมพอช.ช่วย รฟท.คุยขยับ 284 หลังใน 6 ชุมชน

พอช.ช่วย รฟท.คุยขยับ 284 หลังใน 6 ชุมชน

โครงการพัฒนาประเทศ ที่ใช้งบประมาณสูงสุดในขณะนี้ คือโครงการระบบราง “รถไฟทางคู่” และ “รถไฟความเร็วสูง” โดยรถไฟทางคู่ก่อสร้างถึง จ.ขอนแก่น และ ครม.อนุมัติ ให้ดำเนินการเฟส 2 ขอนแก่น-อุดรธานี-หนองคาย เพราะ อีไอเอ.จะหมดอายุในปีนี้ หากไม่ดำเนินการจะต้องศึกษาใหม่อีก 1 ปีหรือมากกว่านั้น ซึ่งอยู่ระหว่างขั้นตอนการหาผู้รับจ้าง

ขณะที่รถไฟความเร็วสูง เฟสแรก กรุงเทพ-นครราชสีมา อยู่ระหว่างการก่อสร้าง โดยเฟสที่สอง นครราชสีมา-หนองคาย ผ่านขั้นตอนการศึกษาออกแบบไปแล้ว และอยู่ในขั้นตอนจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม

ในส่วนผ่านพื้นที่ จ.อุดรธานี ชาวอุดรธานียังไม่เห็นพิมพ์เขียว “แบบการก่อสร้างรถไฟทางคู่” เห็นเพียงรูปแบบคร่าวๆ ระยะทาง 167 กม. ผ่าน 14 สถานี และ4 ที่หยุดรถ วงเงิน 29,000 ล้านบาท รวมไปถึงทางพาดรถไฟบ้านจั่น ที่ชาวอุดรธานีเรียกร้องให้ปรับรูปแบบใหม่ ก็เพราะเห็นจากการศึกษาออกแบบ ทางต่างระดับแยกบ้านจั่นของกรมทางหลวง ซึ่งการเรียกร้อง รฟท.รับปากว่า ได้เสนอรูปแบบเดิมผ่าน ครม. ระหว่างก่อสร้างจะเว้นจุดนั้นไว้ เพื่อศึกษาออกแบบ+อีไอเอ. และก่อสร้างตามแบบใหม่ในช่วงท้าย

นอกจากนี้ยังมีมติ ครม.เมื่อ 14 มี.ค.2566 ได้มอบหมายให้ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ พอช. เข้ามาเป็นเจ้าภาพแก้ไขปัญหา ที่อยู่อาศัยผู้มีรายได้น้อย ในชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาระบบราง ระหว่าง 2566-2570 สำหรับประชาชนที่ได้รับผลกระทบ เพื่อความมั่นคงด้านที่อยู่อาศัย ก่อนจะดำเนินการตามกฎหมาย ซี่งเป็นขั้นตอนสุดท้าย โดยขณะนี้ พอช. ได้ส่งเจ้าหน้าที่จากส่วนกลาง มาสมทบกับ จนท.ในพื้นที่ (ประสานงานบ้านมั่นคง) เข้ามาเริ่มสำรวจ ตามกรอบงานที่ถูกกำหนดไว้

นายไชยา พลขาง ผอ.สำนักพัฒนาที่อยู่อาศัยชุมชนริมราง สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ พอช. เปิดเผยว่า มติ ครม.ครอบคลุม 35 จังหวัด 300 ชุมชน 27,084 ครัวเรือน สำหรับ จ.อุดรธานี ในพื้นที่ ทน.อุดรธานี เบื้องต้นมีประชาชนได้รับผลกระทบ 284 ครัวเรือน จากพื้นที่ 6 ชุมชน คือ ทุ่งสว่างตะวันออก , หนองเหล็ก , ทองใหญ่ , พรเจริญ , เก่าจาน 1 และ เก่าจาน 2 เป็นการเข้ามาสำรวจ ทำความเข้าใจ และเตรียมความพร้อม โดยมีแผนการสำรวจยืนยัน ให้แล้วเสร็จในปี 2567 นี้

เกณฑ์ของการเช่าที่ดิน รฟท. เป็นที่อยู่อาศัยไม่เกิน 50 ตรม. ในอัตรา 9-25 บาท/ตรม./ปี อัตราค่าเช่าจะเพิ่มขึ้น 5 % ทุก 5 ปี โดย 1.พื้นที่ห่างจากรางรถไฟเดิมข้างละ 20 เมตร จะไม่ให้สิทธิใครเข้ามาเช่า , 2.พื้นที่ห่างจากรางเดิมจาก 20-40 เมตร ให้เช่าสัญญาเช่าครั้งละ 3 ปี โดยพื้นที่เช่าต้องไม่ใช่พื้นที่กันไว้ใช้ประโยชน์ในการเดินรถไฟ , 3. พื้นที่ห่างจากรางเดิมจาก 40 เมตรขึ้นไป นอกเหนือจากหลักเกณฑ์นี้ รฟท.จะเป็นผู้รับผิดชอบ

คุณสมบัติของผู้เข้าร่วมโครงการ คือ 1.ผู้ที่มีการเช่าพื้นที่จาก รฟท.มาก่อน , 2.ผู้บุกรุกพื้นที่ของ รฟท. และ 3.ต้องเป็นผู้ยากไร้ หลักเกณฑ์การสนับสนุนงบประมาณ ใกล้เคียงกับกรณี “บ้านมั่นคง” อาทิ การพัฒนาสาธารณูปโภค , งบอุดหนุนที่อยู่ อาศัย , งบช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบ แตกต่างกันคือ รฟท.จะให้ พอช.เช่าที่ดิน , เพื่อนำไปพัฒนาแล้วให้ผู้ร่วมโครงการเช่า ผ่าน “สหกรณ์” ของชุมชนนั้นๆ แทนแบบเดิมที่เป็น “กลุ่มออมทรัพย์” ซึ่งจะมีความมั่นคงมากกว่า

นายไชยา พลขาง ผอ.สำนักพัฒนาที่อยู่อาศัยชุมชนริมราง สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ พอช. ตอบคำถามด้วยว่า พอช.ได้ลงพื้นที่ทำความเข้าใจบ้างแล้ว เบื้องต้นก็พบปัญหาอยู่บ้าง บางคนอยู่มานานผูกพันกับบ้าน แต่ต้องขยับขยายออกไป ก็พยายามสร้างความเชื่อมั่น ว่าบ้านใหม่จะมั่นคงมากกว่าเดิม สิทธิประโยชน์ที่ไม่เคยได้รับก็จะได้ ค่าไฟฟ้า-น้ำประปา ก็จะเท่าเทียมกันหมดต้องใช้แบบแยกมิเตอร์ที่แพงกว่า , เรื่องเวลาที่ต้องขยับขยายออกไปก็ให้รอความชัดเจนจาก รฟท. ….

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments