วันศุกร์, พฤศจิกายน 22, 2024
Google search engine
หน้าแรกสังคม“อ่างห้วยหลวง”ลุ้นพ้นแล้ง ผุดแผนสำรองรับมือ

“อ่างห้วยหลวง”ลุ้นพ้นแล้ง ผุดแผนสำรองรับมือ

น้ำในอ่างห้วยหลวงต่ำกว่าเกณฑ์ แต่ก็มากกว่าที่เคยแล้งสุดในปี 41-56-59 จนต้องสูบน้ำจากก้อนอ่างผลิตประปา เตรียมแผนสำรองรับมือหาฝนช้า หวังปีหน้าดึงน้ำโขงช่วยจะสร้างเสร็จ

ผู้สื่อข่าวรายงานจาก จ.อุดรธานี มาเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2562 ถึงสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำห้วยหลวง แหล่งน้ำดิบผลิตน้ำประปาเมืองอุดรธานี จากความจุ 135 ล้าน ลบม.มีปริมาณน้ำอยู่ 43.124 ล้าน ลบม. หรือคิดเป็น 31.81 เปอร์เซ็นต์ ต่ำกว่าเกณฑ์ที่จะต้องมีน้ำ 77.6 ล้าน ลบม. เนื่องจากฝนตกลงมาน้อยกว่าปกติ โดยขณะนี้ยังมีการส่งน้ำลงคลอง บี.หรือคลองส่งน้ำด้านตะวันตก เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรปลูกถั่วลิสง , ข้าวโพด และพืชฤดูแล้งอื่น ยกเว้นข้าวนาปรัง

นายวิชัย จาตุรงค์กร ผอ.โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยหลวง เปิดเผยว่า ปีนี้ฝนที่ตกลงมาน้อยกว่าปกติ ทำให้อ่างฯห้วยหลวงเก็บน้ำได้น้อย แต่ก็ยังสูงกว่าปีที่เคยแล้งสูงสุด ยังคงสามารถส่งน้ำให้เกษตรกร ปลูกพืชใช้น้ำน้อยติดต่อกันปีที่ 2 ตามแผนบริหารจัดการน้ำชัดเจน โดยแต่ละวันจะสูญเสียน้ำ 2 แสน ลบม. จากการส่งไปผลิตน้ำประปา , โรงงานอุตสาหกรรม , ระเหย และรั่วซึม นอกจากนี้ยังส่งนำเพื่อการเกษตร ในช่วงสุดท้ายวันที่ 5-15 มีนาคมนี้อีกวันละ 1 แสน ลบม.

“ แผนกำหนดไว้เมื่อถึงสิ้นเดือนเมษายน จะมีน้ำเหลือในอ่างฯห้วยหลวง 31 ล้าน ลบม. เพื่อผลิตประปาไปตลอดเดือนพฤษภาคม หรือจนถึงกลางเดือนมิถุนายน แต่หากเลยนั้นไปฝนยังไม่ตกลงมา ก็ยังจะมีน้ำสำรองไว้ก้นอ่างฯ ที่จะต้องสูบขึ้นมาให้สถานสูบน้ำดิบ ก่อนสูบต่อไปผลิตน้ำประปา ซึ่งกรณีที่ต้องสูบน้ำ 2 ครั้ง เคยดำเนินการมาแล้วหลายครั้ง ในช่วงปีที่ฝนตกลงอ่างฯต่ำมากๆ แต่ก็ยังเชิญชวนชาวเมืองอุดรธานี ร่วมกับประหยัดน้ำในช่วงแล้งนี้ ”

นายวิชัย จาตุรงค์กร ผอ.โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยหลวง ตอบข้อซักถามด้วยว่า การประปาส่วนภูมิภาคอุดรธานี ยังมีแผนงานแบ่งเบาอ่างฯห้วยหลวง ด้วยการนำน้ำดิบจาก “หนองหานกุมภวาปี” มาผลิตน้ำประปาที่ อ.กุมภวาปี จ.อุดรธานี แล้วส่งมาช่วยทิศใต้เมืองอุดรธานี หรือ ต.หนองไผ่ ต.โนนสูง ต.บ้านจั่น และอนาคตกำลังก่อสร้าง สถานีผลิตน้ำประปาจากริมทน้ำโขง ส่งมาให้ตัวเมืองอุดรธานีด้วย

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า สถานการณ์ภัยแล้งของอุดรธานี จนต้องสูบน้ำจากก้นอ่างฯห้วยหลวง เคยเกิดขึ้นในปี 41 , 56 และ 59 ซึ่งจะเริ่มสูบน้ำตั้งแต่ต้นเดือนมีนาคม โดยในปี 56 มีปริมาณน้ำ 24.09 ล้าน ลบม. , ในปี 59 มีปริมาณน้ำ 23.01 ล้าน ลบม. โดยในช่วงระหว่างปี 55-59 จากปัญหาปริมาณน้ำในอ่างฯห้วยหลวงน้อย ต้องสำรองน้ำไว้ผลิตน้ำประปา จึงไม่มีการส่งน้ำให้เกษตรกรในช่วงฤดูแล้ง ขณะที่ในปีนี้ความต้องการน้ำประปา มีปริมาณสูงขึ้นแล้ว………

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments