อธิบดี ปภ.ควง WHO + สอจร. ประชุมร่วมผู้ว่าอุดรฯ กับ คกก.ป้องกันลดอุบัติเหตุ เป้าตายไม่เกิน 12 คนต่อแสนประชากร แต่อุดรไม่เกิน 8.82 ต่อแสนประชากร เน้นลดตายจาก จยย. ชมเก็บสถิติละเอียดขอเป็นตัวอย่าง แต่แก้ปัญหายังไม่ถูกจุด เพิ่มโซเชียลและ เอไอ. และไม่เห็นด้วย “แจกหมวกกันน็อค”
เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2566 ที่ห้องประชุมกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ชั้น 5 อาคาร 1 ศาลากลาง จ.อุดรธานี นายบุญธรรม เลิศสุขีเกษม อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เป็นประธานประชุมติดตามการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน จ.อุดรธานี ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีอำเภอเสี่ยงสูงมาก มีนายวันชัย คงเกษม ผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี นำรอง ผวจ.อุดรธานี หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าประชุม
โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางถนน Dr.Jos Vandelaer ผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย(WHO) , ดร.ธีราณี เตชะศรีวิเชียร ผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย(WHO) , นพ.อนุชา เศรษฐเสถียร รองประธานแผนงานสนับสนุนการป้องกันอุบัติเหตุจราจรระดับจังหวัด(สอจร.) , นพ.ธนะพงศ์ จินวงศ์ ผจก.ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.) ร่วมประชุมประเมินด้วยเมินตนเอง
นายบุญธรรม เลิศสุขีเกษม อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กล่าวว่า สถิติอุบัติเหตุบนถนนลดลงในช่วงโควิด-19 จากนั้นก็มีสถิตสูงขึ้นมาต่อเนื่อง แม้ทุกฝ่ายจะป้องกันแก้ไขปัญหาแล้ว ซึ่งจากสถิติพบว่าผู้เสียชีวิตปีละ 16,000 คน ส่วนใหญ่เกิดจากอุบัติเหตุจาก จยย. หากสามารถลดอุบัติเหตุจาก จยย.ได้ จะทำให้สถิติลดลงมากกว่าครึ่ง ทำให้ ปภ.ต้องออกมาพู ดคุยกับ 10 จว. ดูข้อเท็จจริงและหาทางแก้ไข มีเป้าหมายในปี 2570 จะต้องลดการตายลงเหลือ 12 คน/แสนประชากร
นพ.อนุชา เศรษฐเสถียร รองประธานแผนงานสนับสนุนการป้องกันอุบัติเหตุจราจรระดับจังหวัด (สอจร.) กล่าวว่า มีบ้านและเคยรับราชการที่ จ.อุดรธานี เคยเป็นส่วนหนึ่งในการป้องกันแก้ไขอุบัติเหตุ และยังติดตามมาอย่างต่อเนื่อง เชื่อว่า จ.อุดรธานี จะเข้าถึงเป้าหมายได้ จึงขอให้ จ.อุดรธานี มีเป้าหมายกรณีพิเศษในปี 2570 จะต้องมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนถนนไม่เกิน 8.82 คน/แสนประชากร
หน่วยงานรับผิดชอบรายงานว่า อุดรธานีได้เก็บรวบรวมสถิติมาต่อเนื่อง ล่าสุดตั้งแต่ปี 58 ได้สอบสวนเชิงลึกอุบัติเหตุทุกราย ที่เสียชีวิต-บาดเจ็บสาหัส-อุบัติเหตุหมู่ เพื่อเป็นข้อมูลพื้นที่นำมาประกอบ การตัดสินใจแก้ไขปัญหา ทำให้สถิติลดลงแต่ยังเกินเป้าหมาย ล่าสุดพบว่ามากกว่า 80 % เกิดจาก จยย.-ขับขี่ด้วยความเร็ว (ตายที่เกิดเหตุสูง) -ดื่มแล้วขับ (เริ่มขับลดลง) , การชนท้ายรถจอดไหล่ทางลดลง แต่ชนท้ายรถที่วิ่งอยู่มากขึ้น (ขับเร็ว) , เกิดหัวคำวันเสาร์สูงสุด วันจันทร์เกิดน้อยสุด
สำหรับพื้นที่เสี่ยงสูงสุด เป็นถนนสายอุดรธานี-สามพร้าว มีผู้เสียชีวิตในปีนี้แล้ว 8 ราย ได้เข้าไปแก้ปัญหาในทุกกรณี คือ ถนน-คน-สังคม รองลงมาคือพื้นที่เขต ทน.อุดรธานี ที่มีสถิติเกิดมากขึ้นต่อเนื่อง จากไม่มีผู้เสียชีวิต ในปีนี้เสียชีวิตแล้ว 11 ราย ขณะที่ อ.เมืองอุดรธานี รอบเขต ทน.อุดรธานี เสียชีวิตแล้ว 12 ราย ส่วนอำเภอที่มีความเสี่ยงประกอบด้วย อ.เมือง-เพ็ญ-บ้านผือ-บ้านดุง-กุมภวาปี-หนองหาน โคสอับไปในระดับตำบล
พร้อมคาดกาลว่า ในปีนี้อุดรธานีตั้งเป้าผู้เสียชีวิตไม่เกิน 14 รายต่อแสนประชากร มาถึงวันนี้เหลืออีก 5 เดือน เสียชีวิตไปแล้ว 10 คน/แสนประชากร หรือเท่ากับเสียชีวิตเฉลี่ยไม่เกิน 0.6 คนต่อวัน หากจะให้เป็นไปตามเป้าหมาย เชื่อว่าสามารถทำได้ แต่จะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย เข้ามาขับเคลื่อนให้เกิดเป็นรูปธรรม
ส่วนการป้องกันแก้ไขปัญหา รายงานว่า อุดรธานีในปีนี้สถิติลดลงกว่าปีที่ผ่านมา จากการออกมาตรการตามข้อสั่งการ และออกมาตรการเฉพาะอุดรธานี คือ “ธรรมนูญหมู่บ้าน” ที่ครอบคลุมปัญหาที่เกิดขึ้น รวมทั้งปัญหาอุบัติเหตุบนนถนน ด้านตำรวจได้รายงานการบังคับใช้กฎหมาย , การอบรมไรเดอร์กลุ่มเสี่ยง , ใช้มาตรการองค์กร (ภ,จว.-สถานประกอบการ-สถานศึกษา) , ใช้เทคโนโลยีฯ และหนุนเอกชนแจกหมวกกันน็อค
สุดท้ายที่ประชุมโดยเฉพาะ “WHO” ให้ความคิดเห็นว่า 1.สถิติของอุดรธานีได้รับการเก็บข้อมูลดี เก็บรวบรวมข้อมูลละเอียด (อ.ปภ.ขอเอกสาร) , 2,อุดรธานียังมีสถิติอุบัติเหตุสูง , 3. การแก้ไขปัญหาน่าจะผิดเป้าหมาย จะต้องสร้างเครือข่ายเพิ่มเติม , 4.มีความหวังกับการบังคับใช้กฎหมายมากขึ้น , 5.ให้ความสำคัญกับสื่อโชเชียลมากขึ้น , 6.นำระบบ เอไอ.เข้ามาใช้ และ 7.ไม่สนับสนุนการแจกหมวกกันน็อค เพราะหมวกกันน็อคเป็นความรับผิดชอบของแต่ละบุคคล ที่จะต้องสวมเพื่อป้องกันอุบัติเหตุร้ายแรง….