วันอังคาร, เมษายน 30, 2024
Google search engine
หน้าแรกสังคมเดินหน้าขอ รมว.คมนาคมแก้แบบทางพาดรถไฟบ้านจั่น

เดินหน้าขอ รมว.คมนาคมแก้แบบทางพาดรถไฟบ้านจั่น

เมื่อเวลา 10.30 น. วันที่ 9 กุมภาพันธุ์ 2565 กรมขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม ได้จัดประชุมทำความเข้าใจภาคเอกชน แผนรองรับรถไฟไทย-ลาว-จีน จากกรุงเทพฯผ่านโปรแกรมซูม โดยมีนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เป็นประธาน โดยมี “กรมราง” นำหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และภาคเอกชน เข้าร่วมรับฟังผ่านระบบ ประกอบด้วย สมาคมฯ สมาพันธุ์ฯ ที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งทางถนน-ราง-อากาศ และหอการค้าหนองคาย-ขอนแก่น-อุดรธานี ขณะที่ภาคเอกชนอุดรธานี ที่รับแจ้งเข้าร่วมเพียง “หอการค้า จ.อุดรธานี”

ก่อนที่จะรับฟังความคิดเห็นจากภาคเอกชน ที่ประชุมได้รายงานความคืบหน้า แผนงานจัดการรถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพ-นครราชสีมา อยู่ระหว่างก่อสร้าง เสร็จปี 2569 , ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย เริ่มปี 2566 เสร็จปี 2571 , รถไฟทางคู่กรุงเทพ-ขอนแก่น ดำเนินการไปแล้ว ช่วงขอนแก่น – หนองคาย จะนำเข้า ครม.ขอความเห็นชอบ ก.พ.65 หรือ ต้น มี.ค.65 เพื่อสร้างเสร็จ พ.ศ.2570 โดยแผนเฉพาะหน้าเชื่อมรถไฟจีน-ลาว จะให้สถานีหนองคายไปก่อน เพื่อรอสถานีนาทา โดยภาคเอกชนเสนอแนวคิดหลายประเด็น ทำให้ รมว.คมนาคม ให้ตั้งคณะอนุกรรมการ ที่มีภาคเอกชนเพื่อระดมแนวคิด และตั้งกลุ่มไลน์ผู้ร่วมประชุมวันนี้

ในส่วน จ.อุดรธานี นายชัยฤทธิ์ เขาวงศ์ทอง สจ.เขต 1 เมืองอุดรธานี และประธาน YEC หอการค้าอุดรธานี ได้ขอนำเสนอปัญหาของอุดรธานี กรณี “ทางพาดรถไฟบ้านจั่น หรือหนองขอนกว้าง” ที่ภาคเอกชนอุดรธานีในนาม กกร.อุดรธานี และ กรอ.อุดรธานี รวมไปถึงสภา อบจ.อุดรธานี ไม่เห็นด้วยกับรูปแบบ ในช่วงผ่าน ทน.อุดรธานี เพื่อให้ รมว.คมนาคม รับไปพิจารณาแก้ไข โดย รมว.คมนาคม ได้มอบหมายให้ รฟม. รับไปติดตามเรื่องนี้

ทั้งนี้นายชัยฤทธิ์ เขาวงศ์ทอง สจ.เขต 1 เมืองอุดรธานี และประธาน YEC หอการค้าอุดรธานี นำเสนอว่า รูปแบบรถไฟทางคู่และรถไฟความเร็วสูง บริเวณจุดตัดทางพาดรถไฟบ้านจั่น หรือหนองขอนกว้าง ไม่เป็นไปตามที่รับฟังความคิดเห็น จากเดิมที่ทั้งหมดจะต้องสร้างข้ามทางแยก แต่รูปแบบที่ออกมารถไฟทางคู่ ยังคงอยู่ระนาบพื้นดินเดิม แต่รถไฟความเร็วสูงกลับยกข้าม ทำให้ถนนเลี่ยงเมือง หรือทางหลวง 216 ต้องสร้างทางข้ามรถไฟทางคู่ และลอดรถไฟความเร็วสูง

นายชัยฤทธิ์ เขาวงศ์ทอง เสนอรูปแบบทางพาดรถใหม่ ให้รถไฟทั้งรางคู่-ความเร็วสูง ทำทางยกข้ามทางพาดนี้ เพื่อให้รถที่มาจากแยกบ้านจั่น ที่มุ่งหน้าไปยัง จ.หนองคาย ลอดใต้ทางรถไฟทั้งสองเส้นทาง ที่มีรถจำนวนมากต้องผ่านบริเวณนี้ รวมทั้งวิถีชีวิตของชาวอุดรธานี ที่ต้องผ่านเส้นทางนี้ด้วย รถจักรยาน-รถจักรยานยนต์-รถสามล้อ ขณะนี้เป็นเพียงการออกแบบแบบ ยังไม่มีการประมูล หรือลงนามสัญญาจ้าง น่าจะพิจารณาแก้ไขได้……….

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments