ผู้สื่อข่าวรายงานข่าวมาเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2566 ได้รับการร้องเรียนจาก ร.ต.อ.ณรงค์เดช ผลจันทร์ อดีตข้าราชการตำรวจ และนายสมศรี โพธิ์ศรีพรม ราษฎรบ้านจำปา ม.7 ต.หนองนาคำ อ.เมือง อุดรธานี ว่าชาวบ้านได้รับความเดือดร้อน จากโรงงานยางแท่ง 2 โรง ของ และ บ.วงษ์บัณฑิต จก. และ บ.ศรีตรัง แอโกรอินดัสทรี จก.(มหาชน) เพราะน้ำเสียในโรงงานได้ไหลลงสูง “ลำห้วยโปร่ง” แหล่งน้ำดิบผลิตน้ำประปา และนาข้าวของชาวบ้าน
ร.ต.อ.ณรงค์เดช ผลจันทร์ และนายสมศรี โพธิ์ศรีพรม ราษฎรบ้านจำปา ระบุว่า ปัญหาน้ำเสียและกลิ่นเหม็น จากโรงงานยางแท่งมีมานานเกิน 10 ปี จนชาวบ้านต้องรวมตัวฟ้องศาลปกครอง คดียังอยู่ระหว่างพิจารณา สำหรับเรื่องน้ำไหลออกจากโรงงาน เกิดขึ้นมาหลายครั้งร้องเรียน 2 ครั้ง ในปี 61 และปี 65 ครั้งนี้ร้องเรียนเป็นครั้งที่ 3 น้ำไหลออกจากโรงงาน 2 จุด ๆแรกจากโรงงานแรกไหลลงนาข้าวนายสมศรี จุดที่สองเป็นของอีกโรงไหลลงไปในลำห้วยโสกโปร่ง
“ หลังฝนตกลงมาหลายวัน นายสมศรีฯได้ออกไปดูนาข้าว ที่ติดอยู่กับรั้วโรงงานก็พบว่า จุดที่หนึ่งมีน้ำขาวขุ่นไหลลอดคันดินออกมา จึงมาแจ้งชาวบ้านออกไปตรวจสอบ ก็พบริมรั้วโรงงานจุดที่สอง น้ำสีเขียวใสไหลออกมาเช่นกัน จึงเก็บน้ำนั้นมาเป็นตัวอย่าง เมื่อไปเอาสารเพื่อใช้ทดสอบ หากรดซัลฟิวริกในยางพารามาตรวจ น้ำที่เก็บมากลายเป็นสีขุ่นขาว แสดงว่าน้ำมีกรดซัลฟิวริกเจือปน ยืนยันเป็นน้ำจากโรงงานชัดเจน ”
ร.ต.อ.ณรงค์เดช ผลจันทร์ กล่าวอีกว่า 2 ครั้งร้องเรียนไปเขาก็ไม่ยอมรับผิด แต่ยอมที่จะเยียวยาเจ้าของนา ยืนยันจะไม่มีเหตุการณ์เกิดขึ้นอีก แต่ก็เกิดเหตุอีกเมื่อวานก่อน เหมือนกันเจตนาให้เกิดขึ้น ชาวบ้านก็ร้องเรียนไป สนง.สิ่งแวดล้อม ภาค 9 อุดรธานี ก็เดินทางมาตรวจสอบแล้ว ชาวบ้านไม่อยากได้เงินหรอก แต่อยากให้จริงใจแก้ไขปัญหา หากแก้ไขไม่ได้ก็ปิดโรงงานไปก่อน
วันเดียวกันที่ห้องประชุม อบต.หนองนาคำ อ.เมือง อุดรธานี นายชัยวัฒน์ ธรรมวัฒน์ ปลัดอำเภออาวุโส อ.เมือง อุดรธานี เป็นประธานประชุมคณะกรรมการ “พิสูจน์นาข้าวเสียหายจากโรงงานยางแท่ง” มีนายสรวิชญ์ ไชยราช ปลัด อบต.หนองนาคำ อ.เมือง อุดรธานี นำนายสายัณห์ หมีแก้ว ผอ.ส่วนควบคุมคุณภาพสิ่งแวดล้อม สนง.สิ่งแวดล้อม ภาค 9 อุดรธานี และคณะกรรมการฯร่วมประชุม
นายสายัณห์ หมีแก้ว ผอ.ส่วนควบคุมคุณภาพสิ่งแวดล้อม สนง.สิ่งแวดล้อม ภาค 9 อุดรธานี รายงานต่อที่ประชุมว่า เป็นผู้ตรวจสอบกรณีน้ำระบายออกจากโรงงาน 2 ครั้ง เป็นความเสียหายเฉพาะนาข้าวนายสมศรีฯ ในปี 61 โรงงานก็จ่ายเยียวยาราว 3 ไร่ ปี 65 ก็จ่ายค่าเยียวยาในพื้นที่เดิม แต่โรงงานไม่ยอมรับว่าเป็นผู้กระทำ คณะกรรมการฯชุดนี้ยังต้องพิสูจน์ จนมาเกิดครั้งที่สามเมื่อวานก่อน สวล.ภาค 9 เดินทางไปตรวจสอบแล้ว
“ เหตุระบายน้ำเสียไม่ได้เกิดซึ่งหน้า ต้องหาหลักฐานมายืนยัน ในเหตุการณ์ครั้งที่สองพบว่า น้ำมีความเค็ม รง.อ้างว่า เป็นพื้นที่เค็มอยู่ก่อนแล้ว แต่พื้นที่นาใกล้เคียงไม่เค็ม , พบความเข้มข้นของซัลเฟอร์ ระดับความเข้มในบ่อโรงงาน เจือจางลงมาในที่นามีปัญหา และเจือจ่างเมื่อห่างออกไป และพบฟอสฟอรัสในลักษณะเดียวกัน เชื่อได้ว่าน้ำเสียจากการผลิต ได้มาปะปนกับบ่อน้ำดิบ ซึ่งถือเป็นบ่อมีความเสี่ยงสูง และไหลออกจากโรงงาน ส่วนครั้งนี้พบในลักษณะเดียวกัน แต่จุดที่น้ำไหลออกเปลี่ยนไป ”
ส่วนคณะกรรมการจาก สนง.อุตสาหกรรม จ.อุดรธานี กล่าวว่า โรงงานยางแท่งทั้ง 2 โรง เป็นโรงงานที่มีข้อกำหนด ไม่ให้ปล่อยน้ำเสียออกนอกโรงงาน ไม่ว่าจะเป็นน้ำเสียจากระบบการผลิต หรือน้ำในบ่อเก็บน้ำดิบ และหากมีเหตุการณ์ที่น้ำไหลออกจากโรงงาน น้ำนั้นจะต้องเป็นน้ำตามเกณฑ์มาตรฐาน เหตุการณ์นี้ สนง.อุตสาหกรรม จ.อุดรธานี จะออกคำสั่งให้ปิดทางน้ำออก และแก้ไขปัญหาโดยทันที
นายสรวิชญ์ ไชยราช ปลัด อบต.หนองนาคำ กล่าวว่า อบต.เรามีคดีความฟ้องร้องกับ 1 ในโรงงานยางแท่ง คดีกลิ่นเหม็นของโรงงาน และมีคดีความที่ชาวบ้านฟ้องโรงงาน และหน่วยงานรัฐ รวมทั้ง อบต.หนองนาคำ ซึ่งที่ผ่านมา อบต.ทำหน้าที่ตามกฎหมาย แต่เหมือนไม่มีอำนาจจัดการอะไร อาทิ เรื่องน้ำเสียไหลออก หรือซึมออกภายนอก เราก็แนะนำให้ทำคันดินเพิ่ม หรือรองบ่อด้วยลพาสติก แต่ก็ไม่ได้รับการตอบรับ และยังมีปัญหาหน่วยงานรัฐเอง มีความเห็นที่ไม่ตรงกัน (สนง.พัฒนาที่ดิน) หวังว่าการแก้ปัญหาได้จนไม่เกิดขึ้นอีก
นายชัยวัฒน์ ธรรมวัฒน์ ปลัดอำเภออาวุโส อ.เมือง อุดรธานี กล่าวว่า หน้าที่กรรมการฯหาทางพิสูจน์ มีผลกระทบจากโรงงานหรือไม่ มีคำถามที่จะต้องช่วยกันหาคำตอบ น้ำที่ออกมากจากโรงงาน เป็นการไหลมาหรือการซึมมา , ข้าวที่ตายเกิดจากน้ำจากโรงงานจริงหรือไม่ , ทำไมเกิดเฉพาะในพื้นที่ไม่กี่ไร่ ไม่ขยายออก ไปพื้นที่อื่น หรืออื่น ๆ ส่วนตัวก็มีความเห็นเหมือนกับ สวล.9 แต่จะต้องช่วยกันหาคำอธิบาย เบื้องต้น สวล.9 ลงเก็บตัวอย่างแล้ว ทีมคณะกรรมการฯจะลงพื้นที่อีก…