ญี่ปุ่นเลือกอุดรธานีลงทุนโรงงานต้นแบบ เทคโนโลยีใหม่แห่งแรกของโลก นำเอา“ชานอ้อย”ของเหลือจากโรงานน้ำตาล มาผลิตเป็น “น้ำตาลโซลรูโรส-โอริโกแซคคาไรด์-พอลิพีนอล” มีมูลค่ามากกว่านำไปผลิตไฟฟ้าในโรงไฟฟ้าชีวะมวล
เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 6 กรกฎาคม นายวัฒนา พุฒิชาติ ผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี เป็นประธานเปิดโรงงานผลผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่า จากชานอ้อยด้วยเทคโนโลยีประหยัดพลังงาน ต้นแบบแห่งแรกของโลกของ บ.เซลลูโลชิก ไบโอแมส เทคโนโลยี จก. ภายในโรงงานน้ำตาลกุมภวาปี อ.กุมภวาปี จ.อุดรธานี ร่วมกับนายคิยาชิ อิมาอิ ผอ.องค์การพัฒนาพลังงานใหม่ และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (NEDO) ประเทศญี่ปุ่น , ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผอ.สำนักนวัตกรรมแห่งชาติ , ดร.เทตสึยะ ซึเนกาวา รองประธานอาวุโส บ.โทเร อินดัสตรีส์ จก. และตัวแทนจาก บ.มิตซุย ซูการ์ จก. และ บ.มิตซุย แอนด์ โค จก.
โรงงานต้นแบบแห่งแรกของโลกของ บ.เซลลูโลชิก ไบโอแมส เทคโนโลยี จก. ได้รับการสนับสนุนจาก องค์การพัฒนาพลังงานใหม่ และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (NEDO) ประเทศญี่ปุ่น และ สำนักนวัตกรรมแห่งชาติ ประเทศไทย โดยนำเทคโนโลยีที่ผ่านการวิจัยและพัฒนาระดับนำร่อง มาสู่โรงงานที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ด้วยกำลังวัตถุดิบ “ชานอ้อย” วันละ 15 ตัน มาเข้าสู่กระบวนการผลิต ด้วยเอ็มไซด์เฉพาะเพื่อย่อยสลาย ด้วยการใช้พลังงานต่ำ มีมูลค่ามากกว่าการนำชานอ้อย วัสดุเหลือจากการผลิตน้ำตาล ไปเป็นเชื้อเพลิงผลิตกระแสไฟฟ้า (ชีวะมวล)
ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่ม 3 ชนิด ประกอบด้วย 1.น้ำตาลเซลรูโรส น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว ใช้ในอุตสาหกรรมเอทานอล ที่มีคุณภาพดีขึ้น และต้นทุนที่ต่ำลง , 2.โอริโกแซคคาไรด์ นำไปใช้ในอุตสาหกรรมสัตว์ เป็นสารเติมแต่งอาหารสัตว์ ที่เพิ่มคุณประโยชน์ทางโภชนาการมากขึ้น โดยเพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยอาหาร และ 3.พอลิพีนอลให้กับอุตสาหกรรมอาหาร ที่มีคุณค่าทางโภชนาการ มีประโยชน์ทางโภชนเภสัช มีคุณสมบัติสารต้านอนุมูลอิสระ สารต้านมะเร็ง ลดระดับครอเลสเตอร์รอล และไตรกีเซอร์ไรด์ในเลือด และเหลือกากนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงได้อยู่
ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผอ.สำนักนวัตกรรมแห่งชาติ เปิดเผยว่า สำนักนวัตกรรมแห่งชาติได้ ร่วมมือกับ NEDO ในการนำเทคโนโลยีที่วิจัยและพัฒนาแล้ว ของภาคเอกชนในประเทศญี่ปุ่น มาลงทุนในประเทศไทย อาทิ โรงงานผลิตเอทานอล ที่ อ.กุมวภาปี จ.อุดรธานี เป็นโครงการที่ 4 มูลค่าการลงทุนราว 900 ล้านบาท และยังมีอีกหลายโครงการที่คุยกันอยู่ อนาคตเทคโนโลยีของโรงงานนี้ จะทำให้มีขนาดโรงงานที่ใหญ่ขึ้น และขยายไปยังพื้นที่อื่นซึ่งมี “ชานอ้อย”วัสดุเหลือจากอุตสาหกรรมน้ำตาลมาก
โรงงานต้นแบบผลิตผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่าจากชานอ้อย เกิดจากภาคเอกชนประเทศญี่ปาน คือ โทเร อินดัสตรีส์ , มิตซุย ซูการ์ , และมิตซุย แอนด์ โค ที่เป็นผู้พัฒนาเทคโนโลยี ได้รับการสนับสนุนจาก NEDO ร่วมกันจัดตั้ง บ.เซลลูโลชิก ไบโอแมส เทคโนโลยี จก. ดำเนินโครงการนี้ที่มีโรงงานน้ำตาลกุมภวาปี จ.อุดรธานี เป็นพันธมิตรสนับสนุนพื้นที่ และวัสดุดิบป้องโรงงาน โดยสำนักนวัตกรรมแห่งชาติ ช่วยอำนวยความสะดวก ซึ่งการนำเทคโนโลยีจากต่างประเทศจะมากขึ้น ควบคู่ไปกับการวิจัยและพัฒนาในประเทศไทย