เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2567 ที่ห้องประชุมพระยาศรีสุริยราชวรานุวัตต์ ชั้น 3 อาคาร 1 ศาลากลาง จ.อุดรธานี นายณฐพล วิถี รองผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี เป็นประธานประชุมคณะอนุกรรมการจัดการจราจรทางบก(อจร.)อุดรธานี มีนายรักชัย เลิศสุบิน ปลัด จ.อุดรธานี นายกฤต อรรครศรีวร หน.สำนักงานจังหวัด นำคณะกรรมการจากภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ เข้าร่วมประชุมภายในห้อง ขณะเดียวกันมีคณะอนุกรรมการจากส่วนกลาง กรมการขนส่งทางราง และการรถไฟแห่งประเทศไทย ร่วมประชุมทางไกล เพื่อรายงานความคืบหน้าแผนงาน รถไฟทางคู่ รถไฟความเร็วสูง แผนการเดินรถซิตี้บัสอุดรธานี และบ้านโนนน้ำเกลี้ยง อ.โนนสะอาด แชมป์อุบัติเหตุตาย 4 คนแล้ว รวมทั้งการพิจารณาประเด็นสำคัญ 2 ประเด็น
โดยประเด็นแรก การรถไฟแห่งประเทศไทย ขอให้อุดรธานีพิจารณาแก้ไข “จุดลักผ่านทางรถไฟ” โดยบริเวณทางลักผ่านจากชุมชนทุ่งสว่าง ไปชุมชนหนองเหล็ก ทน.อุดรธานี ซึ่งในการประชุมครั้งแรก ทน.อุดรธานี ขอให้คงจุดลักผ่านนี้ไว้ เพราะมีความจำเป็น ประชาชนใช้มานานหลายสิบปี โดยจะจัดระบบให้มีความปลอดภัยมากขึ้น ที่ประชุมให้ ทน.อุดรธานี กลับไปรับฟังความเห็นของประชาชนก่อน แล้วนำมาพิจารณาอีกครั้ง แต่ปรากฏว่าก่อนจะประชุมประชาสคน รับฟังความคิดเห็น ก็มาเกิดอุบัติเหตุรถไฟชน จยย. เป็นเหตุให้ นศ.สาววัย 15 ปี วิทยาลัยบอาชีวะศึกษา และเป็นราษฎรชุมชนโพธิวราราม เสียชีวิต
นายดาวเรือง หากันได้ ผอ.สำนักการช่าง ทน.อุดรธานี รายงานว่า ทน.อุดรธานีได้เข้าสำรวจทางลักผ่าน พบว่าใช้งานมานานหลายสิบปี จนมีการสร้างสะพานคอนกรีต ข้ามทางระบายน้ำขนานทางรถไฟ โดยไม่ใช่เป็นการสร้างของ ทน.อุดรธานี อาจจะสร้างจากการลงขันของชาวบ้าน ปัจจุบันมีสภาพทรุดโทรม เสาบางต้นชำรุดเสียหายแล้ว และในการประชุมประชาคนชุมชนทั้ง 2 เมื่อวันที่ 14 สิงหาคมที่ผ่านมา ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ ให้ยกเลิกทางลักผ่านจุดนี้ ทน.อุดรธานี จึงนำมาแจ้งต่อที่ประชุม โดยแนวทางปฏิบัติ ทน.อุดรธานี จะต้องมีคำสั่งดำเนินการ และแจ้งต่อคณะกรรมการแก้ไขปัญหา ซึ่งมี ปภ.อุดรธานี เป็นฝ่ายเลขาฯ
ขณะที่ประชุมมีความเห็นต่างออกไป อาทิ 1.มีประชาชนใช้จำนวนมาก จะได้รับความเดือดร้อน เพราะการจะข้ามไปในช่องทางที่ถูกต้องมีระยะทางไกลมาก (บ้านเดื่อ-ยูดีทาวน์) , 2.เกรงว่าเมื่อปิดไปแล้วจะมีการเปิดช่องทางใหม่ขึ้นมาอีก , 3.ในอนาคตทางรถไฟบริเวณนี้ทั้งทางคู่ และความเร็วสูง จะยกข้ามอยู่แล้ว , 4.ไม่อยากให้สูญเสียชีวิตกันอีกแม้แต่คนเดียว , 5.ทางลักผ่านเป็นเรื่องผิดกฎหมาย โดยที่ประชุมให้ ปภ.อุดรธานี ประสานกับ ทน.อุดรธานี เข้าไปดำเนินการตามแนวทางที่มีการกำหนดไว้แล้ว และมารายงานต่อที่ประชุมคณะอนุกรรมการ
เรื่องที่สอง จากโครงการขยายถนนวงแหวนตะวันออก หรือทางหลวง 216 จากหน้าไทวัสดุ-แยกทางต่างระดับ ในช่วงปี 2565-2566 แต่เมื่อมีการก่อสร้างแล้วเสร็จ บริเวณทางพาดรถไฟ (ชินนนท์) ยังไม่มีการดำเนินการ มีลักษณะเป็นคอขวด เกิดปัญหาอุบัติเหตุ และการจราจรคับคลั่งช่วง ชม.เร่งด่วน ในการแก้ไขปัญหาในช่วงปี 2566 การรถไฟแห่งประเทศไทยได้ขอรับการสนับสนุนงบประมาณตัดสร้าง 9 ล้านบาท แต่เวลาได้ล่วงเลยมานาน มีการแจ้งปรับราคามาในปีนี้เป็น 12.5 ล้านบาท จึงจะขอความเห็นจากคณะอนุกรรมการฯ และจะขอความเห็นจาก กรอ.อุดรธานี ไปด้วยอีกทางหนึ่ง เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ
ในระหว่างการก่อสร้างขยายถนนนี้ แขวงทางหลวงอุดรธานีที่ 1 ได้ยื่นขออนุญาตจากการรถไฟแห่งประเทศไทย แต่การรถไฟฯไม่อนุญาต เพราะขัดต่อระเบียบที่จะต้องสร้างเป็นทางยกระดับ (โอเวอร์พาต) ต่อมามีการประชุมอีกครั้งเพื่อพิจารณาขอใช้พื้นที่ชั่วคราว (จะสร้างทางรถไฟข้ามอยู่แล้ว) ซึ่งผลการพิจารณาได้กำหนดเงินไขไว้ 4 ข้อ คือ 1.ให้กรมทางหลฃวงจัดหางบประมาณก่อสร่างทางเสมอระดับ 3.88 ล้านบาท , 2.ให้กรมทางหลวงจัดหางบประมาณขยายเครื่องกั้น 5.85 ล้านบาท , 3.ให้กรมทางหลวงจัดหางบประมาณจ้างพนักงานเข็นทางกั้นช่วงติดตั้งเครื่อง 7 หมื่นบาท และ 4.กรมทางหลวงต้องจัดทำป้ายสัญญาจราจร (โดยจัดงบประมาณให้การรถไฟ)
ที่ประชุมได้แสดงความคิดเห็นหลากหลาย โดยเฉพาะคำถามที่ว่า 1.เป็นหน่วยงานในสังกัดกระวงคมนาคมด้วยกัน ทำไมไม่พูดคุยประสานงานกันตั้งแต่ต้น , 2.งบส่วนนี้ในช่วงการก่อสร้างตกไปตรงไหน สาเหตุที่ทำไม่ได้ช่วงก่อสร้างเพราะอะไร , 3.ขอให้สองหน่วยงานกลับไปคุยกันได้หรือไม่ , 3.ชาวอุดรธานีรู้สึกอาย และจะอายมากหากแก้ไม่ได้จนถึงพืชสวนโลก , 4.หากใช้ช่องทางที่กำลังดำเนินการอยู่ คือ อจร. และ กรอ. จะสามารถทำได้หรือไม่ , 5.ค่าขอ 1 ชีวิตหากต้องมาประสบอุบัติเหตุที่นี่มันมีค่ามากกว่า 12.5 ล้านบาท (ทางพาดรถไฟบ้านจั่น+ทางพาดรถไฟชินนท์+สถานีรถไฟหนองแด 17 ล้าน+มีอีกไหม)