วันศุกร์, มีนาคม 29, 2024
Google search engine
หน้าแรกสังคม“ไทยโก้” ยันเดินหน้าโรงไฟฟ้าหนองหาน

“ไทยโก้” ยันเดินหน้าโรงไฟฟ้าหนองหาน

เมื่อเวลา 14.00 น.วันที่ 7 สิงหาคม 2561 ที่โรงแรมเจริญ เขตเทศบาลนครอุดรธานี นายสิริศักดิ์ เลิศพุทธิภิญโญ ที่ปรึกษา บ.ไทยโก้ เทคโนโลยี จก. เปิดแถลงข่าวกับสื่อมวลชนชี้แจง การเข้ามาลงทุนในพื้นที่ อ.หนองหาน จ.อุดรธานี โครงการแรกโรงไฟฟ้าชีวะมวล หรือผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน กำลังไฟฟ้า 20 เม็กกะวัตต์ กม.26-27 ถ.นิตโย บ.ป่าก้าว ต.ผักตบ อ.หนองหาน จ.อุดรธานี ที่มีชาวบ้านต่อต้านเผาพริกเผาเกลือไล่ และโครงการกำจัดมูลฝอยบูรณาการระบบปิด กม.3 ถนนหนองหาน-สะแบง บ.โศกหมู ต.หนองหาน อ.หนองหาน จ.อุดรธานี

นายสิริศักดิ์ เลิศพุทธิภิญโญ ที่ปรึกษา บ.ไทยโก้ เทคโนโลยี จก. กล่าวว่า โรงไฟฟ้าชีวะมวลเป็นโครงการที่ คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ประกาศให้ได้รับสิทธิขายไฟฟ้าให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิต 4 แห่งในราคาต่ำ ซึ่งจะส่งผลดีต่อค่ากระแสไฟฟ้าในอนาคต ซึ่งผลการศึกษามีความเหมาะสม มีระบบสายส่ง และเชื้อเพลิง ไม้ยางพารา , ใบอ้อย , ฟางข้าว และเหง้ามัน 70 เปอร์เซนต์ และขยะที่เป็นเชื้อเพลิงได้ 30 เปอร์เซนต์ โดยใช้เทคโนโลยีผสมผสานของไทย และประเทศจีน มูลค่าการลงทุนกว่า 1,700 ล้านบาท

“ บริษัทฯได้ทำสัญญาจะซื่อจะขายที่ดิน 150 ไร่ ขณะนี้กำลังทำความเข้าใจประชาชน โดยได้แจ้งและขออนุญาตเข้าใช้พื้นที่ มีเจ้าหน้าที่เข้าไปดูแลความเรียบร้อย เป็นการทำกันอย่างเปิดเผย ยอมรับว่ามีการจ่ายค่าเดินทาง การจัดหากาแฟ น้ำดื่ม ขนม กับประชาชนที่มารับฟัง โดยไม่ได้ขนคนจากที่อื่นมาฟัง ไม่ใช่เวทีการรับฟังความคิดเห็น เพื่อจัดทำรายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ.) และยังจะมีเวทีทำความเข้าใจต่อไป โดยชาวบ้านต้องการจะไปศึกษาดูงาน โรงไฟฟ้าชีวะมวลที่เดินเครื่องแล้ว ”

ที่ปรึกษา บ.ไทยโก้ เทคโนโลยี จก. กล่าวต่อว่า โครงการกำจัดมูลฝอยบูรณาการระบบปิด เป็นไปการแผนจัดการขยะของ จ.อุดรธานี กำหนดให้ อ.หนองหาน เป็นคัสเตอร์จัดการขยะของ 37 องค์กรปกครองท้องถิ่น ซึ่งผ่านการรับฟังความคิดเห็น และจัดทำความห่วงใยของชุมชน (EHA) ไปแล้ว และองค์กรปกครองท้องถิ่น ได้อนุญาตแบบการก่อสร้างแล้วเช่นกัน คาดว่าจะสามารถเปิดใช้งานปลายปี 62

“ ศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยบูรณาการ อยู่ที่บ้านโศกหมู พื้นที่ติดกับบ่อขยะ อบต.หนองหาน จัดซื้อจากเอกชน 33 ไร่เศษ จะใช้เงินลงทุนประมาณ 200 ล้านบาท เป็นการลงทุนของภาคเอกชนทั้งหมด ไม่ได้เป็นการลงทุนร่วมกับท้องถิ่น กำลังผลิตสูงสุด 350 ตันต่อวัน เป็นเทคโนโลยีผสมผสานของไทยและจีนเช่นกัน โดยกระบวนการได้จดสิทธิบัตรไว้แล้ว โดยขยะที่เผาไฟได้หรือแท่งพลังงาน หรือ อาร์ดีเอฟ. จะนำไปเป็นเชื้อเพลิงโรงไฟฟ้า ”

นายสิริศักดิ์ เลิศพุทธิภิญโญ กล่าวด้วยว่า บริษัทฯคำนึงถึงความกังวน และห่วงใยของประชาชน ซึ่งโครงการโรงไฟฟ้าจะได้จัดทำ อีไอเอ. และบริษัทฯจะได้พยายามออกแบบเพิ่มเติม ให้มาตรฐานสูงกว่าที่กำหนด ทั้งนี้ทางจังหวัดได้นัดให้พูดคุยกับแกนนำผู้คัดค้าน ซึ่งก็มีข้อตกลงร่วมกันว่า จะมีการจัดเวทีให้ความรู้ ความเข้าใจโครงการของหลายฝ่ายอีก 1 รอบ ก่อนที่จะมีการจัดเวลารับฟังควรคิดเห็นตามกฎหมาย หากเวทีประชาชนไม่เห็นด้วย ก็จะให้คณะกรรมการฯเป็นผู้ตัดสินใจ ถ้ากรรมการฯไม่ให้ก็เป็นเหตุสุดวิสัยต้องหาสถานที่ใหม่

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments