วันศุกร์, พฤศจิกายน 22, 2024
Google search engine
หน้าแรกสังคมฝนหยุดเก็บกู้แร่ทองแดงลาวรถคว่ำตกค้างห้วยอุดรต่อ

ฝนหยุดเก็บกู้แร่ทองแดงลาวรถคว่ำตกค้างห้วยอุดรต่อ

เริ่มเก็บกู้แร่ทองแดงจาก สปป.ลาว รถคว่ำลงลำห้วยอุดรกว่า 1 ปี 7 เดือน หลังถูกฝนถล่มหยุดทำงานสัปดาห์ก่อน นอภ.กุมภวาปี แจงตรวจดินในลำห้วย 22 จุดก้อนเก็บกู้ ทำเสร็จเก็บ 22 จุดตรวจซ้ำ แก้ไขไปจนกว่าจะได้มาตรฐาน

ผู้สื่อข่าวรายงานจาก จ.อุดรธานี มาเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2562 บริษัท เอส เค ที ทราน จก. อ.เมือง จ.ขอนแก่น ได้ส่งรถแบ็คโฮเอนกประสงค์ เข้าเก็บกู้สินแร่ทองแดงที่ตกค้าง
ในลำห้วยสาขาห้วยสามพาด ริมถนนมิตรภาพ ระยะทาง 950 เมตร บริเวณไหลผ่านบ้านนาดี ต.ผาสุก อ.กุมภวาปี จ.อุดรธานี จากอุบัติเหตุรถบรรทุกสินแร่ทองแดงจาก สปป.ลาว ไปส่งที่ท่าเรือมาบตาพุด ได้พลิกคว่ำลงลำห้วยมาตั้งแต่วันที่ 5 สิงหาคม 2560 หรือกว่า 1 ปี 7 เดือน หลังจากทำงานได้เพียง 1 วัน ต้องหยุดเพราะฝนตกลงมาอย่างหนัก

นายนิยม จตุเทน กำนัน ต.ผาสุก พร้อมกับช่างโยธา อบต.ผาสุก ได้ประสานงานกับเจ้าของที่ดิน ลำเลียงเครื่องจักรผ่านเข้าพื้นที่ และเข้าดำเนินการต่อจากครั้งก่อน ที่ใช้เครื่องจักรขุดลอกผิวดิน ก้นและข้างห้วย 2 ด้าน แล้วดันดินมากองไว้ในห้วย รอการนำขึ้นมากำจัด ไปได้เพียง 50 เมตร และครั้งนี้ยังคงใช้แผนเดิม แต่การตักและขูดดินจะมีความหนาต่างกัน และแยกดินออกไปเป็นกองๆ

ตัวแทนบริษัท เอส เค ที ทราน จก. ชี้แจงว่า การเก็บกู้สินแร่ทองแดงจากห้วย เป็นไปตามผลสำรวจปริมาณแร่ตกค้าง และมากำหนดเป็นแผนงาน ว่าช่วงที่เกินค่ามาตรฐาน จะกำหนดเป็นพื้นสีแดง มีทั้งที่เป็นบริเวณก้นห้วย หรือด้านข้างทั้ง 2 ด้าน ส่วนไหนเป็นสีแดงก็จะขุดลึก 30 ซม. ส่วนนี้จะต้องส่งไปทำลายที่ สปป.ลาว สำหรับช่วงมีค่าตกค้างรองลงมา กำหนดเป็นสีส้มและสีเหลือง จะขุดลึกเพียง 10 ซม. และจะกองแยกไว้ไม่ต้องส่งไป สปป.ลาว คาดว่าจะทำงานได้วันละ 150-200 เมตร

ตัวแทนบริษัทฯ ชี้แจงต่อด้วยว่า กองดินที่มีทองแดงตกค้าง จะแยกกองไว้ในลำห้วย เพื่อรอการเก็บกู้ออกไปทำลาย โดยจะนำเอาถุงบิ๊กแบ็ค ลงไปใส่ดินจากในลำห้วย แล้วยกบิ๊กแบ็คใส่ดินขึ้นมา นำไปเก็บรักษาไว้พื้นที่ของบริษัทฯใน จ.ขอนแก่น เพื่อรอขั้นตอนการตรวจสอบ แยกส่วนสีแดงไปทำลายที่ สปป.ลาว ซึ่งยังคาดไม่ได้ว่ามีเท่าไหร่ ขณะเดียวกันก็ต้องรอกรมควบคุมมลพิษ มีตรวจสอบในลำห้วยอีกครั้ง

นายสุชาติ ทอนมณี นายอำเภอกุมภวาปี เปิดเผยว่า มีหลายหน่วยราชการมาดูเรื่องนี้ ในส่วนการฟื้นฟูลำห้วยจะมี ฝ่ายปกครอง , สิ่งแวดล้อม ภาค 9 , ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม และองค์กรปกครองท้องถิ่น ในด้านสุขภาพก็เป็นหน่วยที่ของ สาธารณสุข , รพ.สต. และโรงพยาบาลชุมชน ทั้งนี้ก่อนหน้าจะมีการเก็บกู้ มีการเก็บตัวอย่างดินจากก้นห้วย ข้างห้วย 2 ด้าน รวม 22 จุด ระยะทาง 950 เมตร ส่งให้กรมควบคุมมลพิษตรวจ เมื่อเก็บกู้เสร็จก็จะต้องเก็บตะกอนดิน ไปให้กรมควบคุมมลพิษตรวจซ้ำ

“ การตรวจตะกองดินหาทองแดงตกค้าง 22 จุด ทำให้เห็นชัดเจนว่าพื้นที่ห้วยส่วนไหน มีปริมาณทองแดงตกค้างมากน้อย ตั้งแต่สีเขียวไม่ตกค้าง สีเหลืองตกค้างต่ำมาตรฐาน สีส้มตกค้างมาตรฐาน และสีแดงตกค้างเกินมาตรฐาน เมื่อทำการขุดออกไปแล้ว 10 ซม. เมื่อตรวจซ้ำจะรู้ว่าเปลี่ยนแปลงอย่างไร จะต้องทำการแก้ไขซ้ำอีกหรือไม่ ทางบริษัทฯจะต้องรับผิดชอบ หากไม่ดำเนินการกำหมายก็มีบทลงโทษอยู่ เรื่องนี้เป็นเรื่องใหม่ยังไม่มีบรรทัดฐานทำไว้ ”

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments