วันศุกร์, พฤศจิกายน 22, 2024
Google search engine
หน้าแรกสังคมปัจฉิมแผนพัฒนาหนองหานกุมภวาปี 1,756 ล้าน

ปัจฉิมแผนพัฒนาหนองหานกุมภวาปี 1,756 ล้าน

ผู้สื่อข่าวรายงานมาวันที่ 15 สิงหาคม 2561 ที่โรงแรม เคพี.กุมภวาปี จ.อุดรธานี นายสิธิชัย จินดาหลวง รองผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี เป็นประธานเปิดการประชุม ปัจฉิมนิเทศโครงการศึกษาความเหมาะสม การปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษากุมภวาปี โดยว่าจ้าง บ.ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอน แมนเนจเมนต์ จก. เข้ามาดำเนินการวงเงิน 30 ล้านบาท มีหน่วยงานราชการในพื้นที่ ประชาชนจาก อ.กุมภวาปี , อ.ประจักษ์ศิลปาคม และ อ.กู่แก้ว เข้าประชุมรับฟังความคิดเห็น

นายสิธิชัย จินดาหลวง รองผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี กล่าวว่า ลุ่มน้ำหนองหานกุมภวาปีมีความสำคัญ ข้อมูลและวิชาการของกรมชลประทาน สามารถเข้าทำการพัฒนาได้ แต่ต้องมารับฟังชาวบ้านในพื้นที่ ที่มีข้อมูลและเป็นผู้ได้รับผลกระทบ ชาวบ้านจะต้องช่วยกันสะท้อนปัญหา ความต้องการ อาจจะไม่พึงพอใจทั้งหมด ต้องดูกลุ่มอื่นๆด้วย เพื่อตอบโจทย์ผลประโยชน์ส่วนรวม ตอนนี้เป็นโค้งสุดท้ายของการศึกษา ก็จะเป็นการเก็บตกสิ่งที่ขาดไป

“ อีสานเรื่องน้ำเป็นเรื่องใหญ่น้ำท่วม-น้ำแล้ง-น้ำเสีย ขณะที่อุดรธานีมีฝนเฉลี่ยสูง แต่มีปัญหาเรื่องสภาพดินและการเก็บกักน้ำไว้น้อย สำหรับหนองหานกุมภวาปี ไม่ใช่อ่างเก็บน้ำทั่วไป แต่เป็นแหล่งนำเอนกประสงค์ เป็นแหล่งน้ำดิบต้นทุนผลิตประปา-แหล่งน้ำเพื่อการเกษตร-เพื่อการประมง-เพื่อท่องเที่ยว-เพื่อวิถีชีวิต ทำให้แต่ละกลุ่มมีความต้องการน้ำ ในระดับที่แตกต่างกันการบริหารจัดการน้ำให้ได้ประโยชน์ หรือสมประโยชน์กันทุกฝ่าย ”

โดยการศึกษาความเหมาะสมการปรับปรุง โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษากุมภวาปี ระบุว่า “หนองหานกุมภวาปี” คือจุดรวมน้ำของลำห้วย 8 สาย ถือเป็นต้นน้ำของลำน้ำปาว ไหลไปลงเขื่อนลำปาวที่ จ.กาฬสินธุ์ ปี 2539 กรมส่งเสริมพัฒนาพลังงาน สร้างโครงการนี้ขึ้นมาเรียกว่า “ฝายกุมภวาปี” ประกอบด้วย ประตูควบคุมน้ำขนาดใหญ่ , คันดินยาว 112 กม. , อาคารระบายน้ำ 58 แห่ง , สถานีสูบน้ำ 14 สถานี , คลองส่งน้ำดาดคอนกรีตยาว 111 กม. เป้าหมายพื้นที่ชลประทาน 48,000 ไร่ แต่ไม่สามารถเก็บกักน้ำได้เต็มที่ 106 ล้าน ลบม. เพราะมีน้ำท่วมนอกคันดิน จึงเก็บกักน้ำไว้ได้เพียง 70-80 ล้าน ลบม. กรมชลประทานรับถ่ายโอนมาปี 2553 การบริหารจัดการน้ำไม่มีประสิทธิภาพ จึงปรับปรุงซ่อมแซมบางส่วนไปแล้ว

และกรมชลประทานได้ว่าจ้างที่ปรึกษามาศึกษาความเหมาะสม ตั้งแต่ 6 พ.ค.60 – 1 ส.ค. 61 สรุปข้อเสนอ ให้สร้างประตูระบายน้ำและสถานีสูบน้ำปากลำห้วย 8 แห่ง ได้แก่ ห้วยนาโน ห้วยไผ่จานใหญ่ หวยจระเข้ ห้วยโพนไพ ห้วยสา ห้วยสามพาด ห้วยน้ำฆ้อง และห้วยกองสี , สร้างสถานีสูบน้ำเพิ่ม 9 แห่ง , ปรับปรุงอาคารระบายน้ำ 33 แห่ง , ปรับปรุงคูระบายน้ำ 43 กม. และเปลี่ยนท่อส่งน้ำท่วมจากสถานีศูนย์กลางเดิมในคลองส่งน้ำ 13 กม. ในแผนปฏิบัติการณ์ 5 ปี วงเงิน 1,756 ล้านบาท โดยสามารถเก็บน้ำไว้ในฤดูแล้งเพิ่มจาก 70-80 ล้าน ลบม. เป็น 106 ล้านลบม. ซึ่งจะเพิ่มพื้นที่เกษตร 20,000 ไร่ และลดพื้นที่น้ำท่วม 21,000 ไร่

นายนภดล น้อยไพโรจน์ ผอ.โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษากุมภวาปี ตอบข้อซักถามว่า โครงการจำเป็นต้องบริหารน้ำ เพื่อลดผลกระทบของชาวบ้าน หากระดับน้ำยกตัวสูงขึ้น น้ำในหนองหานกุมภวาปีจะดันน้ำในลำห้วย 8 สายยกตัวสูงขึ้น และไหลเข้าพื้นที่เลือกสวนไร่นา ขณะเดียวกันหากน้ำไม่สูงขึ้น ก็จะไม่เป็นผลดีกับทะเลบัวแดง จึงต้องเลี้ยงน้ำไว้ระดับเหมาะสมราว 80 ล้าน ลบม.แต่พอถึงฤดูเก็บเกี่ยวข้าว ต้องลดระดับน้ำลงที่ 75 ล้าน ลบม.เพื่อให้ชาวบ้านเก็บเกี่ยว ถ้าไม่มีน้ำไหลเข้าหลังเก็บเกี่ยว ก็จะเก็บน้ำได้เพียงเท่านั้น

“ ขณะที่อุปกรณ์ต่างๆมีอายุใช้งานมากกว่า 20 ปี มีสภาพชำรุดทรุดโทรม หลายส่วนใช้งานไม่ได้ โครงการได้ซ่อมแซม-ปรับปรุง ในส่วนของสถานีสูบน้ำ และเปลี่ยนแปลงตามที่ชาวบ้านเสนอ อาทิ ประตูระบายน้ำแบบหมุนด้วยมือ และการเปลี่ยนคลองส่งน้ำคางหมู เป็นคลองส่งน้ำตัวยู ที่จะเพิ่มเส้นทางขนพืชผลการเกษตร ส่วนเรื่องถนนมาตรฐานรอบหนองหานกุมภวาปี 70 กม.เศษ ก็ได้ดำเนินการตามวงเงินที่รับการสนับสนุน สำหรับแผนงานศึกษาล่าสุด หน้าที่สำคัญที่ต้องทำเพื่อรองบประมาณ คือการเข้าไปทำความเข้าใจกับประชาชน ”

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments