วันศุกร์, เมษายน 26, 2024
Google search engine
หน้าแรกสังคมคุยแพน้ำพานสร้างกติกายั่งยืนยามน้ำท่วม

คุยแพน้ำพานสร้างกติกายั่งยืนยามน้ำท่วม

ขณะที่น้ำล้นตลิ่งอ่างน้ำพาน ทำให้แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ “ล่องแพน้ำพาน” ทั้งสามท่าแพต้องหยุดบริการ นายถาวร สังขะนาม นายอำเภอสร้างคอม ถือโอกาสเชิญ หน่วยงานราชการระดับอำเภอ , ทต.ตำบลสร้างคอม , อบต.นาสะอาด , อบต.เชียงดา และตัวแทนท่าแพทั้ง 3 แห่ง , ภาคประชาสังคม มาร่วมประชุมระดมความคิดเห็น เพื่อทำให้การท่องเที่ยว “ล่องแพน้ำพาน” มีความยั่งยืน หลังจากที่ผ่านมามีนักท่องเที่ยวมาปีละมากกว่า 2 แสนคน

การประชุมมีความเห็นร่วมกัน ที่ตั้งคณะกรรมการระดับอำเภอ เพื่อมาร่วมอำนวยการ กำกับดูแล ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ประคับประคอง โดยไม่มีลักษณะสั่งการ ให้การขับเคลื่อนแหล่งท่องเที่ยวนี้ ให้มีการพัฒนาเป็นมาตรฐาน สามารถรองรับนักท่องเที่ยวทุกฤดูกาล ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศได้ ตลอดไปอย่างยั่งยืน โดยจะมีการกำหนดกรอบกติการวม จากระเบียบกำหมายของแต่ละหน่วยงาน ที่ทุกท่าแพต้องปฏิบัติตาม และกติกาเฉพาะของแต่ละท่าแพ โดยกติกาจะมีการปรับปรุงทุกปี

การประชุมครั้งนี้คณะกรรมการอำเภอ ได้นำเสนอรายชื่อคณะกรรมการ ที่ประกอบด้วย นายอำเภอสร้างคอม , ผกก.สภ.สร้างคอม , ผอ.โรงพยาบาล , ผอ.โรงเรียน , ธนาคาร ธกส. , ตัวแทนส่วนราชการระดับอำเภอ , นายก อปท. 3 แห่ง , สมาชิกสภา อบจ. , ประธานชมรมกำนัน-ผญบ. , ประธานสภาวัฒนธรรม , ประธานกลุ่มท่าแพ 3 ท่า , ตัวแทนฝ่านทหาร และศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นอุดรธานี ส่วนท่าแพทั้ง 3 ท่า เสนอตำแหน่งในกรรมการแต่ละท่าเช่นกัน

ทั้งนี้ท่าแพท่องเที่ยวทั้ง 3 ท่า ได้กำหนดกฎ ระเบียบ กติกา ที่มีลักษณะเหมือนกันประกอบด้วย การเปิด-ปิดฤดูท่องเที่ยว , แพ-เรือทุกลำ ต้องมีหมายเลข ติดกฎ ระเบียบ กติกาให้ชัดเจน , สวมเสื้อชูชีพลงเรือ-แพ-เล่นน้ำ , การรักษาความสะอาดที่ท่าแพ-บนแพ , นักท่องเที่ยวขึ้นแพ-เรือเล็กไม่เกิน , เรือเล็ก 1 ลำบริการแพ 4 ลำ ต้องมีใบอนุญาต , จัดภาชนะไว้บนแพตามกำหนด โดยห้ามใช้โฟม , จัดหาภาชนะใส่ขยะ , และการกำหนดค่าบริการเหมือนกันทุกท่า คือ ค่าเช่าแพเล็ก ชม.แรก 150 บาท ชม.ต่อไป ชม.ละ 100 บาท เหมาทั้งวัน 850 บาท , ค่าเช่าแพใหญ่ ชม.แรก 250 บาท ชม.ต่อไป ชม.ละ 100 บาท เหมาทั้งวัน 1,050 บาท

ขณะที่ฝ่ายตำรวจขอให้ทุกท่าแพ ติดตั้งกล้องวงจรปิดให้เพียงพอ เพื่อป้องปราบและติดตามคนร้ายกระทำผิด นอกจากนี้ยังมีข้อห่วงใย ที่ยังต้องกำหนดกติกาเพิ่ม โดยเฉพาะการบริหารความเสี่ยง จากคนที่ฝ่าฝืนกติกา ผู้มีโรคประจำตัว ผู้ป่วยฉุกเฉิน คนเมา และอุบัติเหตุ , การเฝ้าระวังสภาพสิ่งแวดล้อมและคุณภาพน้ำ , การจัดเก็บขยะและสิ่งปฏิกูล ออกจากบริเวณท่าแพทั้งหมด , วันหยุดเพื่อร่วมบิ๊กคลีนนิ่ง ทั้งนี้ยังมีข้อถกเถียงยังต้องหาข้อยุติ คือ แพที่มีห้องสุขาเพื่อปลดเบา แม้จะมีถังเก็บสิ่งปฏิกูล แต่ภาพลักษณ์ไม่เหมาะสมจะจัดการอย่างไร

นายถาวร สังขะนาม นายอำเภอสร้างคอม เปิดเผยว่า ภาครัฐจะดำเนินการอะไร การคำนึงถึงผลประโยชน์ผู้ประกอบการ ต้องไม่ขัดต่อกฎหมายบ้านเมือง และระเบียบที่ตกลงกันไว้ ผู้ประกอบการที่เป็นคนในท้องถิ่น จะประกอบกิจการที่เกิดผลประโยชน์อะไรบ้าง ก็ต้องไปร่างกฎกติกาของพวกเขาไว้ แล้วทางคณะกรรมการระดับอำเภอก็ต้องไปดู ว่าขัดต่อความสงบเรียบร้อย ขัดต่อกฎหมาย และก่อให้เกิดความเสียหายในภาครวมหรือไม่

“เพื่อให้อ่างน้ำพานของชาว อ.สร้างคอม เกิดความยั่งยืน ซึ่งวันนี้เป็นการประชุมครั้งที่สอง เพราะจำเป็นต้องเชิญมาพูดคุยกัน เพื่อสร้างความเข้าใจกันตั้งแต่ระดับชุมชน เสร็จแล้วก็นำมาถกกันในที่ประชุมจนกว่าจะได้ที่ยุติ และอาจจะได้พูดคุยในที่ประชุมกันอีกสักรอบ หากยังไม่มีข้อยุติพึงพอใจกันในแต่ละชุมชน หรือยอมรับกัน เพื่อก่อให้เกิดการส่งเสริมการท่องเที่ยวการลงทุน จนเกิดความพึ่งพอใจทุกฝ่าย ”

นายอำเภอสร้างคอม กล่าวต่อว่า แต่ละปีมีนักท่องเที่ยวมาเยี่ยมชม ล่องแพอ่างน้ำพานอย่างน้อง 2 แสนคน โดยช่วงหน้าร้อนเดือนเมษายน มีเงินหมุนเวียนไม่ต่ำกว่าเดือนละ 70 ล้านบาท ขณะที่เราต้องใส่ใจธรรมชาติ หลังจากนั้นเราได้หยุดพัก 2 เดือน ให้ธรรมชาติกลับมาฟื้นตัว ก่อนเปิดให้บริการเดือนสิงหาคมทุกปี ช่วงนี้มีปัญหาเรื่องปริมาณน้ำบ้าง คาดอีกประมาณ 1 เดือน กฎกติกาและระเบียบการจัดการท่าแพทั้ง 3 แห่ง รวมทั้งการเพิ่มรักษาความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยว ที่เป็นหัวใจหลักคงเสร็จเรียบร้อย”

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments