เมื่อเวลา 15.30 น. วันที่ 20 กันยายน ที่ห้องประชุมคำชะโนด ชั้น 2 อาคาร 2 ศาลากลาง จ.อุดรธานี นายวัฒนา พุฒิชาติ ผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี เป็นประธานประชุมคณะกรรมการจัดการสิ่งปฏิกูลและขยะมูลฝอยจังหวัด ครั้งที่ 3/2561 โดยนายวรงค์ คลังเงิน ท้องถิ่น จ.อุดรธานี นำคณะกรรมการจาก สนง.สาธารณสุข , สนง.ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม , ตัวแทนหน่วยงาน และองค์กรปกครองท้องถิ่นเกี่ยวข้อง ขณะที่นายหรั่ง ธุระพล นายก อบต.เชียงหวาง อ.เพ็ญ นำที่ปรึกษาเข้าชี้แจงโครงการ
นายวรงค์ คลังเงิน ท้องถิ่น จ.อุดรธานี กล่าวว่า อุดรธานีกำหนดจัดการขยะมี 6 กลุ่มคัสเตอร์ และ 4 สถานีขนถ่าย ที่ผ่านมาสามารถดำเนินการได้เพียง คัสเตอร์ที่ 1 โดยเทศบาลนครอุดรธานี และคัสเตอร์ที่ 4 ทม.บ้านดุง อ.บ้านดุง ส่วนคัสเตอร์อื่นยังไม่มีความชัดเจน กระทรวงมหาดไทยมีคำสั่ง สามารถเปลี่ยนแปลงหัวหน้ากลุ่มคัสเตอร์ หรือเปลี่ยนแปลงขอบเขตคัสเตอร์ได้ โดยกำหนดหลักเกณฑ์ไว้ 6 ข้อ การประชุมในวันนี้จะมีการพิจารณา เปลี่ยนแปลงหัวหน้า 3 กลุ่ม และขอปรับเปลี่ยนเขตคัสเตอร์ 1 กลุ่ม ซึ่งทั้งหมดจะต้องผ่าน 10 ขั้นตอน
ในการเปลี่ยนหัวหน้ากลุ่มคัสเตอร์ที่ 2 จาก ทต.กุมภวาปี ไม่มีที่ดินขาดความพร้อม ได้เปลี่ยนเป็น ทต.ปะโค และขอเปลี่ยนเป็น ทต.กงพานพันดอน เพื่อดูแลพื้นที่ 20 อปท. โดยมีเอกชน 3 รายเสนอตัวมา “คัดแยกขยะระบบปิด” โดยเสนองบประมาณรับฟังความคิดเห็นให้ , กลุ่มคัสเตอร์ที่ 3 ทต.บ้านเชียง ไม่มีที่ดินยังไม่ได้ดำเนินการ มอบให้ ทต.หนองหาน มาตำเนินการในที่ดินของ อบต.หนองหาร แต่ อบต.หนองหาน มาขอดำเนินการเอง โดยจะให้เอกชนทำโครงการ “คัดแยกขยะระบบปิด” และกลุ่มคัสเตอร์ที่ 5 ทต.เพ็ญ ขาดความพร้อมจัดตั้งไม่ได้ มอบให้ อบต.เชียงหวาง มาจัดการหาเอกชนทำโครงการ “โรงไฟฟ้าขยะ”
นายหรั่ง ธุระพล นายก อบต.เชียงหวาง อ.เพ็ญ ได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ และที่ปรึกษาโครงการ ชี้แจงที่ประชุมเพื่อขอเปลี่ยนแปลง “แนวเขตคัสเตอร์” ของกลุ่มที่ 5 อ.เพ็ญ , อ.สร้างคอม รวม 18 อปท. ให้ครอบคลุมพื้นที่ 7 อำเภอ คือ เพ็ญ , สร้างคอม , บ้านผือ , น้ำโสม , นายูง , กุดจับ และหนองวัวซอ รวม 64 อปท. มีขยะรวมวันละ 550 ตัน เพื่อรองรับกับโรงไฟฟ้าขยะ ขนาด 9.9 เม็กกะวัตต์ แบบเผาตรง เทคโนโลยีจากเยอรมัน บนที่ดิน 37 ไร่ ห่างจากถนนมิตรภาพ อุดรธานี-หนองคาย 1 กม.
โรงไฟฟ้าขยะที่จะดำเนินการ มีกำลังใช้ขยะวันละ 500 ตัน ในขอบเขตพื้นที่คัสเตอร์เดิม ขยะจะไม่เพียงพอจะดำเนินโครงการ จึงจำเป็นต้องนำขยะจากพื้นที่อื่นมาใช้ โดยในพื้นที่ให้เพิ่มเติมมา โดยจะมีการจัดสร้างสถานีขนถ่ายขยะ ในพื้นที่ อ.บ้านผือ , อ.หนองวัวซอ และ อ.น้ำโสม หรือ อ.นายูง ขนต่อมายังโรงไฟฟ้าขยะ ซึ่งในการทำความเข้าใจประชาชน รัศมี 5 กม.รองโรงไฟฟ้าขยะ พร้อมพาตัวแทนไปดูงาน ประชาชนให้การสนับสนุน รวมทั้งสภา อปท. ทั้ง 64 แห่ง ให้ความเห็นชอบ และได้ทำบันทึกข้อตกลงแล้ว
ขณะที่ประชุมมีข้อทักท้วงในหลายข้อ อาทิ กลุ่มคัสเตอร์เดิมที่มีการศึกษา และผ่านการรับฟังความคิดเห็นไปแล้ว ถ้าจะให้มีการเปลี่ยนแปลงต้องตอบได้ว่า ขอบเขตใหม่จะทำได้ดีกว่า จะไม่ถูกหยิบยกว่าคณะกรรมการฯไม่รอบคอบ , ขัดกับหลักเกณฑ์ที่มหาดไทย โดยเฉพาะห่างแหล่งกำเนินขยะ 30-40 กม. การศึกษาไม่คุ้มกับการดำเนินการ , มี 8 อปท. ซึ่งส่งขยะไปกำจัดที่คัสเตอร์ ทน.อุดรธานี ไปปรากฏในข้อตกลงโรงไฟฟ้าขยะ ทำให้ที่ประชุมได้ประชุมลับเฉพาะกรรมการ เพื่อพิจารณาก่อนมีมติ
นายวัฒนา พุฒิชาติ ผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี เปิดเผยหลังการประชุมว่า ที่ประชุมคณะกรรการฯ ยังไม่มีมติตามที่เสนอขึ้นมาทั้งหมด โดยในส่วนของการขอเปลี่ยนแปลง หัวหน้ากลุ่มคัสเตอร์ให้กลับไปดำเนินการเพิ่ม ของ อปท.หัวหน้ากลุ่มเดิม และ อปท.หัวหน้ากลุ่มใหม่ ผ่านความเห็นชอบของสภา อปท.นั้นก่อน ส่วนเรื่องที่ อบต.เชียงหวาง ขอปรับเปลี่ยนเขตกลุ่มคัสเตอร์ คณะกรรมการขอตรวจสอบข้อมูล เพราะไปเกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงาน มีเรื่องจะต้องดูในรายละเอียดมาก ซึ่งก็จะเร่งให้มีการตรวจสอบ ขอข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อให้มีความรอบครอบ และเกิดประโยชน์สูงสุด