วันพฤหัสบดี, พฤศจิกายน 14, 2024
Google search engine
หน้าแรกสังคมอุดรเร่งแก้“ยางเหม็น-ถนนลื่น-คุณภาพต่ำ”รับ กก.สิทธิฯ

อุดรเร่งแก้“ยางเหม็น-ถนนลื่น-คุณภาพต่ำ”รับ กก.สิทธิฯ

รองผู้ว่าฯสั่งปรับแผนแก้ภาพรวมทั้งระบบ “ยางพาราเหม็น-ถนนลื่น-คุณภาพต่ำ” ให้เสร็จก่อนกลางสิงหานี้ หลังใกล้เส้นตาย กก.สิทธิฯ 90 วัน 2โรงยางแท่งยักษ์เหม็น5ปีไม่หาย จับตาไม่มีใครกล้านำเสนอผลตรวจพบ “มฤตยูกรดหยดยาง”

เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 24 กรกฎาคม 2561 ที่ห้องประชุมปฏิบัติการณ์ผู้ว่าราชการจังหวัด ศาลากลาง จ.อุดรธานี นายธนพล จันทรนิมิ รองผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี เป็นประธานประชุมคณะทำงาน “แก้ไขปัญหากระบวนการผลิตยางพารา” โดยมีนางพาขวัญ กาจหาญ อุตสาหกรรม จ.อุดรธานี อุตสาหกรรม จ.อุดรธานี นำขนส่งจังหวัด , รองนายแพทย์สาธารณสุข , ตัวแทนเกษตรสหกรณ์ , การยางแห่งประเทศไทย , ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และหน่วยที่เกี่ยวข้อง เข้ารายงานการจัดทำแผนปฏิบัติการณ์ แก้กลิ่นเหม็น-อุบัติเหตุ-คุณภาพยาง ภายในสิงหาคมนี้

นายธนพล จันทรนิมิ รองผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี กล่าวว่า คณะทำงานทั้ง 4 คณะ คือ ด้านการเกษตร ด้านขนส่ง ด้านการแปรรูป และด้านสุขภาพ จะต้องกำหนดแผนงานในภาพรวม มองดูกระบวนการทั้งระบบและทั้งจังหวัด ไม่ใช่มาให้ความสำคัญกับโรงงานยางแท่ง 2 โรง ต.หนองนาคำ อ.เมือง ที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ระบุเกิดการละเมิดสิทธิชุมชน และเสนอแนะแนวทางการทำงานมาแล้ว โดยปัญหาคือ คุณภาพยาง-กลิ่นเหม็น-อุบัติเหตุ แต่ละเหตุมันเกิดจากอะไร จะมีแนวทางแก้ไขอย่างไร

โดยคณะทำงานด้านการเกษตร เสนอร่างแผนในการรณรงค์ให้ชาวสวนยาง ใช้กรดอินทรีย์ในการหยดยาง ไม่ใช้กรดสังเคราะห์ที่ทำให้กลิ่นเหม็น , หน้ายางเสียอายุสั้น , คุณภาพยางพาราต่ำ อีกทั้งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสนับสนุนให้ชาวสวนยาง หันกลับมาทำยางแผ่น หรือนำยางก้อนถ้วยที่เป็น “ยางหมาด” ไปจำหน่ายแทนยางก้อนถ้วยสด โดยที่ผ่านมาทางราชการก็ดำเนินการอยู่ต่อเนื่อง ซึ่งได้รับเสนอให้ทำแผนปฏิบัติการณ์ย่อย ที่มี อปท.เข้ามามีส่วนร่วมด้วย

ด้านการขนส่ง รายงานว่าที่ผ่านมาได้บูรณการ บังคับใช้กฎหมายกับรถของยางก้อนถ้วย ที่ทำน้ำยางเหม็นหรือเซรั่ม รั่วไหลบนถนน ด้วยการจับปรับไปเดือนละ 2 ครั้ง จากนั้นได้ทำการตรวจแนะนำ พบว่ารถส่วนใหญ่มีการติดตั้งถังเก็บน้ำเซรั่ม แต่ขนาดถังไม่เพียงพอกับปริมาณน้ำ จึงเกิดการรั่วไหลในบางครั้ง โดยมีตัวอย่างธุรกิจบ่อรับทิ้งน้ำเซรั่มที่ บ.ผักบุ้ง ต.กลางใหญ่ อ.บ้านผือ เสียค่าใช้จ่ายคันละ 100 บาท น่าจะส่งเสริมให้เกิด “บ่อทิ้ง” บริเวณทางผ่านให้มากขึ้น

ด้านอุตสาหกรรม รายงานว่าได้ดำเนินการเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก คือ การตรวจติดตามเฝ้าระวังกลิ่น จากแหล่งกลิ่น 1.กองยาง , 2.ระบบบำบัดอากาศ และ 3.ระบบบำบัดน้ำ ด้วยการให้มีหน่วยตรวจวัดซึ่งเป็นคนกลาง ที่ชาวบ้านให้การยอมรับมาตรวจวัด ส่วนที่สองคือด้านเทคนิค ถ้าการตรวจวัดพบปัญหา ก็จะรับหน้าที่มาหาหนทางแก้ไข ทั้งการวางแผน และบริหารจัดการต่างๆ โดยยึดหลักของกฎหมาย

ด้านสุขภาพ กำหนดแผนชัดเจนว่า ผลกระทบด้ายสุขภาพที่เกิดขึ้นจากกลิ่น หรืออาจะเป็นสารเคมี พบที่ผิวหนัง , ตา , ทางเดินหายใจ และปอด ได้ออกแบบการเฝ้าระวัง 6 มาตรการ คือ 1.เก็บข้อมูล 6 หมู่บ้านเป้าหมาย และ 6 หมู่บ้านรอบนอก เฝ้าระวังคนมีอาการ และคนแสดงอาการ , 2. การสื่อสารข้อมูล ให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง กับสาร 8 ประเภทที่พบตกค้างเกิน-ไม่เกิน อันตราย-ไม่อันตราย , 3.สร้างระบบรายงานความเจ็บป่วย ทุกครัวเรือนแยกเป็นรายหมู่บ้าน , 4.ร่วมวิเคราะห์ข้อมูลกับหน่วยงานอื่นๆ , 5.ประสานทีมตรวจกลิ่น และ 6.พัฒนาบุคคลากรเพื่อขยายไปโรงงานอื่นๆ

นายธนพล จันทรนิมิ รองผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี กล่าวสรุปตอนท้ายว่า ขอให้นำเสนอแผนปฏิบัติการณ์ ให้ทันก่อนกลางเดือนสิงหาคมนี้ เพื่อนำเสนอต่อผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี ให้เป็นเหมือนมี “คัมภีร์” อยู่ในมือ ว่าเราจะทำอะไรกันบ้าง ในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน หรือปัญหาอื่นๆ ต่อไปจะได้บอกได้ว่าทำไปถึงไหนแล้ว คนใหม่ที่มารับผิดชอบก็จะได้มาดู ซึ่งอาจจะมีการปรับปรุงแก้ไข ให้เกิดความเหมาะสมได้ด้วย

ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ที่ประชุมยังไม่มีการพูดคุย เรื่องที่ จ.อุดรธานี เคยดำเนินการไปแล้ว แต่เรื่องเงียบหายไป อาทิ การกรวดน้ำกรอหยดยางในตลาดพื้นที่ จ.อุดรธานี พบว่ามีการปลอดปนเอากรดสังเคราะห์มาขายอ้างเป็นกรดอินทรีย์ และการตรวจกรดสังเคราะห์พบว่าเกือบ “ทุกยี่ห้อ” มีสารอื่นเจือปนอยู่ในผลิตภัณฑ์ รวมทั้งมีโลหะหนัก เชื่อว่ากรดที่น้ำมาใช้เจือจาง อาจจะเป็น “ขยะอุตสาหกรรม” หรือ “กรดที่ผ่านการใช้งานมาแล้ว” กรดเหล่านั้นยังไม่ถูกควบคุม หรือกำกับดูแล โดยไม่มีการกำหนดมาตรฐาน “น้ำกรดหยดยาง” มาก่อนเลย[/vc_column_text][/vc_column][/vc_row]

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments