วันเสาร์, พฤศจิกายน 23, 2024
Google search engine
หน้าแรกสังคมผู้ตรวจการพิเศษเตรียมเข้า 4 โรงยางเหม็น

ผู้ตรวจการพิเศษเตรียมเข้า 4 โรงยางเหม็น

ชบ.ร้อง 2 โรงยางยักษ์เหม็นไม่แฮบปี้ วงษ์บัณฑิตประกาศจัดการ สวล.ดีที่สุดในโลก วันเชิญผู้ว่าอุดรฯมาเยี่ยม ขณะ กยท. หนุนใช้ฟอร์มิคแทนซัลฟิวริก เตรียมชงกำหนดมาตรฐานกลิ่นใน ทส. มอบ สวย.,ฝวอ. ตามเรื่องพบสารก่อมะเร็ง ส่วนผู้ตรวจพิเศษสำนักนายกจะลงวพื้นที่อีก

ผู้สื่อข่าวรายงานจาก จ.อุดรธานี มาเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2561 ว่าชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อน จากกลิ่นเหม็นโรงงานยางแท่งยักษ์ 2 โรง ริมถนนนิตโย ต.หนองนาคำ อ.เมือง อุดรธานี ติดต่อกันมานานกว่า 6 ปี กำลังจะออกมาเคลื่อนไหวเร็วๆนี้ หลังจาก บ.วงษ์บัณฑิต สาขาอุดรธานี เชิญนายวัฒนา พุฒิชาติ ผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี และหน่วยงานอีก 11 หน่วย ไปเยี่ยมชมโรงงานที่ประกาศตัวเป็น “โรงงานยางพาราขนาดใหญ่ที่มีระบบบริหาร การจัดการสิ่งแวดล้อมดีที่สุดในโลก” โดยระบุว่าโรงงานทั้ง 2 แห่งยังส่งกลิ่นเหม็นรุนแรง

นายเสนีย์ จิตเกษม กรรมการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) อดีต ผวจ.อุดรธานี แจ้งว่า ปัญหาที่อุดรธานี กยท.ติดตามมาตลอด ล่าสุดในการประชุมได้กำหนดวาระ ประชุมหารือเพื่อหาแนวทางการแก้ไข กรณีกลิ่นเหม็นจากโรงงานยางพาราที่ จ.อุดรธานี ร้องเรียนผ่านกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ชาวบ้านรับผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และสุขอนามัย รวมทั้งประเด็นนักวิชาการพบสารก่อมะเร็ง ซึ่งที่ประชุมมีข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะดังนี้ คือ

โดยที่ประชุมได้เสนอให้กำหนดมาตรฐานค่าความเข้มกลิ่นโรงงาน ซึ่งปัจจุบันไม่มีการกำหนดค่ามาตรฐาน โดยตั้งคณะทำงานย่อยเพื่อดมกลิ่นยางพารา หากมีกลิ่นให้หยุดดำเนินการ จนกว่าจะหามาตรการควบคุมได้ จึงดำเนินการผลิตต่อ ซึ่งบริษัทเอกชนไม่เห็นด้วยกับวิธีดังกล่าว คณะทำงานฯจึงจัดทำร่าง ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เรื่อง กำหนดค่ามาตรฐานความเข้มกลิ่น ของอากาศเสียที่ปล่อยทิ้งจากโรงงาน เสนอให้กระทรวงออกประกาศต่อไป

ซึ่งในพื้นที่ จ.อุดรธานี มีโรงงานผลิตยางแท่ง 6 แห่ง ซึ่งระหว่างปี 59-61 เกิดเรื่องร้องเรียนกรณีกลิ่นเหม็นทั้ง 6 แห่ง โดยยังมีโรงงานแก้ไขปัญหาไม่ได้ 2 แห่ง คือ บ.ศรีตรัง แองโกรอินดัสทรี จก. และ บ.วงศ์บัณฑิต จก.สาขาอุดรธานี โดย สนง.อุตสาหกรรมอุดรธานี สนง.สาธารณสุขอุดรธานี ลงตรวจสอบพบกลิ่นเกิดจาก “กองยาง” และ “น้ำเสีย” เป็นหลัก จึงมีข้อคิดเห็นแก้ปัญหา 3 ประเด็น คือ

1.ให้เกษตรกรใช้กรดฟอร์มิกแทนกรดซัลฟิวริก , 2. ณรงค์การทำยางก้อนถ้วยเป็นมาตรฐาน GAP. , 3. ปรับเปลี่ยนการผลิตไปทำยางเครป ยางก้อนถ้วยแห้ง ลดการเกิดความชื้น ซึ่งเป็นสาเหตุของกลิ่นเหม็น ส่วนกรณีมีการตรวจพบสารก่อมะเร็ง ให้สถาบันวิจัยยาง (สวย.) หรือ ฝ่ายวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมยา (ฝวอ.) หาข้อพิสูจน์ทางวิชาการมาสนับสนุน ว่าสินค้าประเภทยางพารา ไม่ได้มีสารก่อมะเร็งแต่อย่างได้ โดยให้ดำเนินการในระยะสั้น กลาง ยาว จัดทำเป็นรายงานแผน และผลการแก้ไขปัญหา นำเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า คณะทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนเกี่ยวกับด้านการยุติธรรม กฎหมาย และคดีความ สำนักนายกรัฐมนตรี นัดหมายลงพื้นที่อุดรธานีอีกครั้ง กับปัญหาโรงยางเหม็น โดยเดินทางไปโรงงานยางเกือบทุกแห่ง เริ่มจาก วันพุธที่ 24 ตุลาคม ช่วงเช้าไปโรงงาน กว๋างเขิ่นรับเบอร์ (แม่น้ำโขง) อ.เมือง อุดรธานี ช่วงบ่ายโรงานยาง กยท. อ.วังสามหมอ , วันพฤหัสบดีที่ 25 ตุลาคม ช่วงเช้าและบ่าย เป็นโรงงานที่ ต.หนองนาคำ และวันศุกร์ 26 ตุลาคม ช่วงบ่ายประชุมสรุปที่ศาลากลาง จ.อุดรธานี

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments