วันอาทิตย์, กันยายน 8, 2024
Google search engine
หน้าแรกสังคมจ่อสรุปเสนอ“นายกตู่”แก้โรงยางเหม็นทั้งระบบ

จ่อสรุปเสนอ“นายกตู่”แก้โรงยางเหม็นทั้งระบบ

ผู้ตรวจราชการพิเศษ สำนักนายกรัฐมนตรี เตรียมรายงานตรงนายกรัฐมนตรี เสนอแนวทางแก้ไขโรงงานยางเหม็น สารอินทรีย์-ขายยางหมาด/ยางเครป- รง.มีมาตรฐานกลิ่น ทั่วประเทศให้เกิดความยั่งยืน หลังจากลงพื้นที่อุดรธานีดูข้อเท็จจริงหลายครั้ง

เมื่อเวลา 10.30 น. วันที่ 24 ตุลาคม 2561 ที่โรงงานยางแท่ง บ.กว๋างเขิน รับเบอร์ (แม่น้ำโขง) จก. ถนนนาข่า-สุมเส้า บ.ถ่อนใหญ่ ม.5 ต.นาข่า อ.เมือง จ.อุดรธานี ผู้ตรวจราชการพิเศษ สำนักนายกรัฐมนตรี นำโดย พ.ต.ท.พงศ์อินทร์ อินทรขาว , พ.ต.ท.สมบูรณ์ สาระสิทธิ์ และ พ.ต.ท.ชินโชติ พุฒิวรรธธาดา เดินทางมาติดตามแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน ของประชาชนจาก โรงงานผลิตยางแท่ง ซึ่งเป็นการลงพื้นที่ จ.อุดรธานี ครั้งที่ 3 โดยมีนายกว่างเสี่ยงสง ผู้จัดการบริษัทฯ นำผู้จัดการฝ่าย พนักงาน เข้าร่วมประชุม

ขณะที่มีตัวแทนจากหน่วยงานภาครัฐ เดินทางมาร่วมติดตามแก้ไขปัญหา ประกอบด้วย เกษตรสหกรณ์ จ.อุดรธานี , ผู้อำนวยการการยางแห่งประเทศไทยอุดรธานี , ตัวแทนศูนย์ดำรงธรรมอุดรธานี , ตัวแทนขนส่ง จ.อุดรธานี , ตัวแทนสาธารณสุข จ.อุดรธานี และตัวแทนโรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี โดยร่วมกับรับฟังคำชี้แจงจากโรงงาน สอบถามข้อสงสัย ก่อนจะเดินดูบริเวณรอบโรงงาน อาทิ กองยางก่อนถ้วยที่ใช้ผ้าใบปิดไว้ , บ่อบำบัดน้ำเสีย และตัวโรงงาน ที่หยุดวันออกพรรษาไม่เดินเครื่อง กลิ่นจึงไม่มีความรุนแรง

นายกว่างเสี่ยงสง ผู้จัดการฯ ได้ให้ตัวแทนชี้แจงและตอบคำถามผ่าน “ล่าม” ว่า โรงงานมีกำลังผลิต 140-160 ตันต่อวัน ใช้วัตถุดิบเป็น “ยางก้อนถ้วย” โดยแยกไม่ได้ว่าใช้กรดชนิดใด เคยมีปัญหาในเรื่องน้ำเสียและกลิ่น ทางบริษัทฯได้แก้ไขบ่อบำบัดน้ำเสีย ที่เกิดจากอุบัติเหตุฝนตกหนักแล้ว และกำลังพยายามแก้ไขปัญหากลิ่นทุกวิถีทาง ด้วยการออกมาตรการ การขนส่งยางก้อนถ้วย จะต้องมีถังเก็บน้ำเซรั่ม (น้ำเหม็นจะยางก้อนถ้วย) ไม่ให้รั่วไหลลงท้องถนน พร้อมใช้ผ้าใบปิดคลุมด้านบน และทำการล้างถนนผ่านชุมชน ที่น้ำเซรั่มรั่วไหลลงส่งกลิ่นเหม็น

“ ยางก้อนถ้วยจะกองกลางแจ้ง ก่อนโดยฉีดพ่นด้วยสาร อีเอ็ม. ตากไว้กลางแจ้งระยะหนึ่ง จึงนำผ้าใบมาคลุ่มป้องกันกลิ่น เพื่อรอจนเหมาะสมจะนำเข้าระบบผลิต ซึ่งในกระบวนการผลิตอบเป็นยางแท่ง จะใช้ระบบกำลังกลิ่นแบบเวทสครับเบอร์ แต่ไม่ได้ฉีดพ่นด้วยน้ำธรรมดา แต่จะเป็นน้ำผสมจุลินทรีย์ ที่มีคุณสมบัติในการกินไขมัน ซึ่งเป็นต้นเหตุของกลิ่น ทั้งนี้ได้ร่วมกับชาวบ้านตั้งกลุ่มไลน์ แจ้งระดับความรุนแรงกลิ่น ก็จะส่งพนักงานไปตรวจสอบ เพื่อนำมาปรับแก้ทันที ถ้าไม่หายก็จะหยุดเดินเครื่อง ”

คณะผู้ตรวจราชการพิเศษ สอบถามถึง ถ้าจะต้องบังคับให้ใช้กรดอินทรีย์ ทำให้ยางแข็งตัวแทนกรดซัลฟิวริก ที่มีสารก่อให้เกิดก๊าซไข่เน่า , หากจะต้องรับซื้อยางที่มีความชื้นต่ำ หรือไปจนถึงรับซื้อยางเครปที่รีดน้ำออกแล้ว จะส่งผลกับการผลิต หรือกระทบต่อธุรกิจหรือไม่ ได้รับคำตอบจากผู้บริหารว่า “ไม่กระทบ” พร้อมกันนี้ยังพร้อมให้การสนับสนุน ข้อมูลจากโรงงานยางแท่ง เครือข่ายเดียวกันในต่างประเทศ เพื่อนำมาเปรียบเทียบปรับใช้ในประเทศไทย

พ.ต.ท.พงศ์อินทร์ อินทรขาว หัวหน้าคณะคณะผู้ตรวจราชการพิเศษ สำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า การร้องเรียนกลิ่นเหม็นจากโรงงานยางในอุดรธานี ที่ผ่านมาทาง ผวจ.อุดรธานี ได้แก้ปัญหาที่เป็นรูปธรรม สิ่งที่เราเข้ามาทำในส่วนของสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ทำค้อนข้างเยอะมาก เราเห็นว่าการแก้ปัญหาระหว่างโรงงานยางกับชุมชน เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ไม่ว่าโรงงานจะพยายามใช้เทคโนโลยีเข้ามาควบคุมอย่างไร ที่อาจจะทำถูกต้องครบถ้วน และไม่ถูกต้องบ้าง แต่มันก็ยังมีกลิ่นอยู่ เช่น โรงงานที่เราเข้ามาในวันนี้ ก็เป็นโรงงานที่มีค่าวัดกลิ่นค่อนข้างดี กรมควบคุมมลพิษแนะนำ ให้เรามาศึกษาที่โรงงานแห่งนี้

“ แต่จากการพูดคุยพบว่า โรงงานก็ยังคงมีปัญหาเรื่องกลิ่นอยู่ ทั้งนี้ประเด็นที่เราตั้งไว้ คือ การแก้ปัญหากำจัดกลิ่นที่ปลายเหตุ เราคิดว่าน่าจะสำคัญน้อยลงแล้ว เราคิดว่าการแก้ปัญหาที่ต้นน้ำ ตั้งแต่การเลือกใช้สาร ในการทำให้ยางแข็งตัว ระยะเวลาในการทำให้ยางก้อนถ้วยแห้งตัว หรือระยะเวลาที่จะทำให้น้ำเซรั่มออกจากเนื้อยาง สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญ ที่อาจจะต้องวางกองยางไว้ อาจต้องใช้ชาวสวนยางกรีดยางให้ได้ 8 มีด ที่ใช้เวลามากขึ้น หรืออาจจะต้องให้ชาวสวนยางทำยางเครปชนิดบาง ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้มลภาวะทางกลิ่นลดลง ยางที่ก่อนส่งเข้าโรงงานมันก็จะอยู่ในพื้นที่ เหม็นในพื้นที่ แทนที่จะมาผลักภาระให้ทางชุมชนรอบทั้งหมด ”

พ.ต.ท.พงศ์อินทร์ฯ กล่าวอีกว่า เรื่องทั้งหมดจะมีการนำไปพูดคุยกันในวันที่ 26 ตุลาคม อีกครั้ง ที่จะมีการยางแห่งประเทศไทย กับชาวสวนยาง ในเรื่องการส่งเสริมชาวสวนยางให้ทำยางเครป มีวิธีการอย่างไรในการกองยางให้ถูกวิธี และถ้ามีสารเคมีออกมา จะทำวิธีการกำจัดอย่างไรให้ถูกวิธี มันก็จะเปลี่ยนจากการนำยางมากองไว้ที่โรงงาน แต่นำยางเหล่านี้ไว้ในพื้นที่ รอส่งเข้ามาผลิตในโรงงาน ท้ายที่สุดก็จะต้องคุยกับทางโรงงานว่า ถ้าหากว้าเรามีนโยบายที่สำคัญ เช่น การส่งเสริมให้ชาวสวนยางทำเป็นยางเครป ยางแผ่น ชาวสวนยางจะมีปัญหา หรือข้อขัดข้องอะไรไหม ขณะเดียวกันการกำหนดมาตรฐานกลิ่นโรงงานใกล้ลงตัว

“ ท้ายที่สุดรัฐบาลจะต้องเข้ามาดู ในการตัดสินใจแก้ปัญหาเรื่องกลิ่นเหม็น จากโรงงานยางอย่างยั่งยืน ซึ่งการดำเนินการต่าง ๆ เราก็รายงานให้นายกรัฐมนตรีทราบเป็นระยะ โดยการร่วมพูดคุยในวันที่ 26 ตุลาคมนี้ อาจจะมีการนำข้อมูลชุดหนึ่งนำเสนอท่าน แต่เราอยากจะได้ข้อมูลที่ดีเพียงพอ และอาจจะมีข้อมูลเพิ่มเติมจากข้างต้น รวมทั้งยังมีวิธีการจาก ม.เกษตรศาสตร์ ที่ให้ใช้แบคทีเรียชนิดหนึ่ง ที่ไปกินโปรตีนอยู่ในเนื้อยางพารา และทำให้ไม่เกิดกลิ่นเหม็น โดยเราจะส่งเสริมตรงนี้ให้เกษตรกรได้ใช้ เพื่อการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน ” พ.ต.ท.พงศ์อินทร์ฯ กล่าวในที่สุด

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments